วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ (1 โครรินธ์ 13:8)

ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ
(1 โครรินธ์ 13:8)


จากบทความที่แล้ว ที่ผมเขียนเรื่อง พันธกรทั้ง 5
http://www.missionkorat.blogspot.com/2013/06/5.html

จากที่มี นักเทศบางท่าน สอนและเทศนาว่า ของประทาน อัครทูต และการเผยพระวจนะนั้นได้ จบสิ้นและไม่ต้องมีอีกต่อไปแล้ว วันนี้ผมได้เขียนบทความต่อเนื่อง จากการที่พระวจนะตอนนี้ถูกยกมาใช้แบบผิดบริบท ว่า การเผยพระวนะนั้นก็เสื่อมสลายไป ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า การที่ของประทานการเผยพระวจนะจบสิ้นไปแล้วนั้น หมายถึงใน ของประทานจากพระบิดา โรม 12:6-8 , และ ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 1โครินธ์12: 7-11

1คร. 13:8 ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ แม้การเผยพระวจนะก็จะเสื่อมสลายไป แม้การพูดภาษาแปลกๆ ก็จะเลิกพูดกัน แม้วิชาความรู้ก็จะเสื่อมสลายไป
: พระวจนะตอนนี้พูดถึงว่าความรักไม่มีวันเสื่อมสลายไป ไม่มีวันสูญสิ้น ถ้าเรามองว่าความรักคืออะไร ความรักคือพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก
1ยน. 4:8 ผู้ที่ไม่รักก็ไม่รู้จักพระเจ้า เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นความรัก

1ยน. 4:16 ฉะนั้นเราจึงรู้ และวางใจในความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา พระเจ้าทรงเป็นความรัก และผู้ที่อยู่ในความรักก็อยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าก็ทรงอยู่ในคนนั้น

ดังนั้นแน่นอนว่า พระเจ้าไม่มีวันเสื่อมสูญ พระพระองค์คือนิรันดร์ และพระวจนะ เอาแค่ในการแปลภาษาไทยก็บอกว่า (แม้) คำว่าแม้ แต่ไม่ได้บอกว่า การเผยพระวจนะได้สิ้นสุดไปแล้ว

ของขวัญเหล่านี้ทั้งหมดของพระวิญญาณวันหนึ่งจะหายไป และยุติลงคำถามก็คือเมื่อไร

1คร. 13:9 เพราะว่าเรารู้เพียงบางส่วน และก็เผยพระวจนะเพียงบางส่วนแน่นอนว่าความรักใหญ่ที่สุด
: การเผยพระวจนะและความรู้ไม่ใช่ทั้งหมดของความสมบูรณ์ แต่ความรักคือพระเจ้านั้นคือความสมบูรณ์

1คร. 13:10 แต่เมื่อความสมบูรณ์มาถึงแล้ว ที่เป็นเพียงบางส่วนนั้นก็จะสูญไป
: พระเยซูคือความสมบูรณ์แบบ เมื่อพระองค์กลับมานั้น เราจะเห็นพระองค์ และดังนั้น สิ่งชั่วคราว ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นของประทานทั้งหมดจะยังคงมีอยู่และดำเนินการต่อไปเต็มรูปแบบจนกว่า พระองค์จะเสด็จกลับมาอย่างแน่นอน

ดังนั้นของประทานหนึ่งเดียว หรือของประทาน 3 มิติ ยังคงต้องดำเนินต่อไป เพราะทุกของประทานใน พันธกรทั้ง 5 มีอยู่ในพระเยซูเพียงผู้เดียว

ดังนั้นถ้าเราบอกว่า ของประทานบางอย่างในพระกายจบไปแล้ว แล้วเราจะมีพระกายที่สมบูรณ์ได้อย่างไร เมื่อพระองค์ต้องการจะเสด็จกลับมา

การบอกว่าของประทานบางอย่างจบไปแล้วจึงเป็นการข่มเหงพระกายพระกายเพื่อจะแยกของของประทานเหล่านั้น

1คร. 13:11 เมื่อข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ข้าพเจ้าพูดอย่างเด็ก คิดอย่างเด็ก หาเหตุผลอย่างเด็ก แต่เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ ข้าพเจ้าก็เลิกอาการของเด็ก
: บางฉบับใช้คำว่า “childish” หมายถึงเลิก อ่อนต่อโลก เลิกไร้เดียงสา หรืออย่า หน่อมแน้ม
ในภาษา อาราเมค "gowra" หมายความว่า “ผู้คุ้มครองป้องกัน” เมื่อเราเป็นผูใหญ่ เราต้องปกป้องและป้องกัน อารักขา สิ่งที่ที่เป็นการเจิมที่พระเจ้ามอบให้

1คร. 13:12 เพราะว่าเวลานี้เราเห็นสลัวๆ เหมือนดูในกระจก แต่ในเวลานั้นจะเห็นแบบหน้าต่อหน้า เวลานี้ข้าพเจ้ารู้เพียงบางส่วน แต่เวลานั้นข้าพเจ้าจะรู้แจ้งเหมือนพระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้า
: เพราะว่าเวลานี้เราเห็นสลัวๆ เหมือนดูในกระจก แต่ในเวลานั้นจะเห็นแบบหน้าต่อหน้า ตรงนี้ในภาษาฮีบรูใช้คำว่า panayim- el-panayim หมายถึง หน้าต่อหน้า
ความหมายของพระวจนะตอนนี้คือ ในวันที่พระองค์จะเสด็จกลับมานั้น เราจะพบพระองค์หน้าต่อหน้าแบบชัดๆ จริงๆ เมื่อเราได้เผชิญหน้ากับพระเยซูแล้ว ของประทานนั้นถึงจะยุติลง


1คร. 13:13
และบัดนี้ ทั้งสามสิ่งนี้ยังดำรงอยู่ คือความเชื่อ ความหวัง และความรัก แต่ความรักนั้นใหญ่ที่สุดในสามสิ่งนี้
: หลังจากนี้ไป หลังจากที่ของประทานของพระวิญญาณจบไปแล้ว พระวจนะบอกว่า ความเชื่อ ความหวัง และความรักจะยังคงดำรงอยู่ ความรักเป็นนิรันดร์กาลทั้งในโลกนี้และยุคสมัยที่จะมาถึง

สำหรับผมแล้ว คำว่าความรักใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ของประทานบางอย่างจะสูญสิ้นไป ในพันธสัญญาใหม่นั้น พระเยซูสรุปบัญญัติ 2 ข้อใหญ่คือความรัก รักพระเจ้าด้วยสุดใจ และรักเพื่อนบ้าน ซึ่งบัญญัติ สองข้อใหญ่ก็ไม่ได้ถูกยุบหรือถูกตัดทอน แต่หมายถึงการสรุปธรรมบัญญัติทั้งหมดจาก 10 ข้อ สังเกตได้ว่าพระองค์ไม่ได้ยุบหรือตัดทอนคำสอนของพระบิดาเลยเพราะพระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา (YAHWEH)

การยก 1คร. 13:8 มาใช้เป็นการมั่วที่ผิดบริบทมากครับ เพราะของประทานใน 1คร. 13:8 เป็นของประทานฝ่ายวิญญาณ ไม่ใช่ของประทาน แห่งการเจิม ในเอเฟซัส คือพันธกร แม้ของประทานฝ่ายวิญญาณ ของประทานจากพระบิดาหรือของประทานแห่งการไถ่ และสุดท้ายของประทาน ในเอเฟซัสคือพระบิดา จะมีการเผยพระวจนะทั้ง 3 กลุ่ม แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างครับ จะมาอ้างปนกันไม่ได้

ชาโลม
ขอพระยาห์เวห์อวยพระพร
ktm.shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น