วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มีธรรมะแต่ไม่ได้ควบคุมลิ้นของตน หมายถึง ?

มีธรรมะแต่ไม่ได้ควบคุมลิ้นของตน หมายถึง ?
 
 
ในฉบับ THSV
ยก. 1:26 ถ้าใครคิดว่าตัวเองเป็นคนมีธรรมะแต่ไม่ได้ควบคุมลิ้นของตน เขาก็หลอกลวงจิตใจของตนเอง และธรรมะของคนนั้นก็ไม่มีประโยชน์


ยก. 1:27 ธรรมะที่บริสุทธิ์ไร้มลทินเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าพระบิดานั้น คือการช่วยเหลือเด็กกำพร้าและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อน และการรักษาตัวให้พ้นจากราคีของโลก
: ธรรมะ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผมไม่สันทัดเท่าไรนัก คือ “Dharma” แน่นอนครับว่าในความหมายกลางๆแล้ว คำว่า ธรรมะ นี้อาจจะหมายถึงสิ่งดีอะไรก็แล้วแต่ แต่ในความเป็นไทย ในประเทศไทย คำว่า ธรรมะ โน้มเอียงไปในแก่นของความหมายเชิงพุทธศาสนา ทั้งสิ้น

ในทางพุทธศาสนา มีพระรูปหนึ่งได้ให้ความหมายของธรรมะ คร่าวๆว่า ธรรมะคือ หน้าที่ ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา เพื่อความมีชีวิตอย่างผาสุก ทั้งโดยส่วนตัวและโดยส่วนรวม

ในฉบับ 1971 ใช้คำว่า “ธัมมะ” ซึ่งผมไม่แน่ใจในความหมาย

ธรรมะคืออะไร จากตำราที่ทางกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้นักเรียนเรียนนั้นบอกว่า ธรรมะคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าธรรมะมีความหมายแต่เพียงเท่านี้ คิดว่ามันจะสำเร็จประโยชน์อะไรที่ตรงไหน และอย่างได้เข้าใจไปว่าธรรมะนี้พระพุทธเจ้ากำหนดขึ้นมาเพื่อให้เป็นกฎ แต่จริงแล้วธรรมะนี้เป็นธรรมชาติ คือมีอยู่เองแล้ว มิได้มีใครสร้างขึ้น เพียงแต่พระพุทธเจ้าทรงฝึกฝนอบรมตนจนตรัสรู้ในตัวธรรมชาตินี้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วนำออกมาเปิดเผยเท่านั้น ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือตัวกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือผลของหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ

ในข้อ 25 นั้นบันทึกว่า ยก. 1:25 แต่ผู้ที่พินิจพิจารณาธรรมบัญญัติอันสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นธรรมบัญญัติแห่งเสรีภาพและตั้งมั่นในธรรมบัญญัตินั้น ไม่ได้เป็นผู้ที่ฟังแล้วก็ลืม แต่เป็นผู้ที่ประพฤติตาม ผู้นั้นจะได้รับความสุขในการประพฤติของตน

ธรรมมะในบริบท นี้จึงหมายถึง การเชื่อฟังและประพฤติตามธรรมบัญญัติ หรือโทราห์ แต่ไม่ใช่ในแบบเคร่งศาสนา แต่คือผู้ที่ฟังและทำตาม ในแบบของพระเยซู พระองค์ไม่ได้มาล้มเลิกและยกเลิกธรรมบัญญัติ แต่พระองค์ทำตามธรรมบัญญัติของพระบิดาอย่างไม่ขาดตกบกพร่องและสมบูรณ์ แม้แต่ฟาริสีหรือหลายคนที่พยายามแย้งพระองค์ถึงบัญญัติที่พวกเขาเคร่งครัดและภาคภูมิใจ แต่นั่นมันก็คือ ธรรมบัญญัติที่เขาแต่งเติมเสริมเข้ามาเอง ไม่ว่าจะพิธีล้างมือ หรือสะบาโต

แต่ในทางของพระยาห์เวห์แล้ว แม้คำว่า ธรรมมะ จะดูดีเพียงไร แต่ถ้าใช้คำๆนี้ในภาษาไทย แม้ไม่มีเจตนาแต่ผู้อ่านซึ่งแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกันก็จะตีความหมายของธรรมมะ ในทางที่บิดเบือนออกไปจากพระประสงค์ที่แท้จริงของพระยาห์เวห์

ในฉบับ ThaiKJV
ยก. 1:26 ถ้าผู้ใดในพวกท่านดูเหมือนว่าเคร่งครัดในความเชื่อ และมิได้เหนี่ยวรั้งลิ้นของตนไว้ แต่ล่อลวงใจของตนเอง การเคร่งครัดในความเชื่อของผู้นั้นก็ไร้ประโยชน์

ยก. 1:27 การเคร่งครัดในความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ไร้มลทินต่อพระพักตร์พระเจ้าและพระบิดานั้น คือการเยี่ยมเยียนเด็กกำพร้าพ่อและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อน และการรักษาตัวให้พ้นจากราคีของโลก

ในภาษาเดิม messainc : ถ้าคนใดในหมู่พวกท่านดูเหมือนจะเป็น คนรับใช้หรือทาสของเจ้านาย และไม่ได้ควบคุมลิ้นของเขา เขาก็หลอกหัวใจของเขาเอง การรับใช้ของเขาก็ไร้ประโยชน์

: ในบริบทนี้หมายถึง “ถ้าผู้ใดในหมู่พวกท่านดูเหมือนว่า เป็นผู้รับใช้พระเจ้า แต่ไม่ได้ควบคุมลิ้น เขาก็หลอกลวงจิตใจของตัวเอง และการรับใช้ของเขาก็ไม่มีประโยชน์”
ความไร้ที่ติและการรับใช้ที่ไม่ด่างพร้อย เพื่อพระยาห์เวห์พระบิดา คือ ไปเยี่ยมเด็กกำพร้าพ่อและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ และเพื่อให้ตัวเองพ้นจากราคีของโลก
หรือ บางฉบับ ถ้าแปลเป็นไทย จะคล้ายกับสำนวนคิงเจมส์ว่า : “ความบริสุทธิ์และการเคร่งศาสนา”

Ministers : ยังหมายถึง ผู้สอนศาสนา, พระ , นักเทษน์ , รวมไปถึงศิษยาภิบาล ทั้งหลาย รวมไปถึง ช่วยเหลือ, รับใช้ “สิ่งที่พอพระทัยพระยาห์เวห์คือ จงออกไปทำเช่นนั้นด้วย”


นี่เป็นการแสดงให้เห็นแล้ว่า ธรรมบัญญัติแห่งความรักและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ความรัก ธรรมบัญญัติที่พระเยซูกำชับให้เรานำออกไปสู่ เด็กกำพร้าพ่อและหญิงม่ายที่มีความทุกข์

พระวจนะตอนนี้ สอนเราเป็นอย่างดีว่า การเคร่งศาสนา และการทำหลายสิ่งหลายอย่าง ความรู้มากมาย การเป็นอาจารย์หรือผู้อาจารย์สอนศาสนา ผู้นำต่างๆ ถ้าไม่บังคับบังเกียนและควบคุมลิ้นของตนเอง นั่นก็เท่ากับเป้นการหลอกตนเอง ไม่ต่างจากฟาริสี ที่ทำตัวว่าเขาชอบธรรม แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์

แต่สิ่งที่พระบิดาทรงพอพระทัยนั้น ไม่ใช่สิ่งเหล่านั้นเลย แต่หากเป็นการ การช่วยเหลือเด็กกำพร้าและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อน และการรักษาตัวให้พ้นจากราคีของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น