วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระวจนะทุกคำ จากพระโอษฐ์ของพระเจ้า (2)

พระวจนะทุกคำ
จากพระโอษฐ์ของพระเจ้า (2)



มธ. 4:4 พระองค์ตรัสตอบว่า “มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ‘มนุษย์จะดำรงชีวิตด้วยอาหารเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดำรงชีวิตด้วยพระวจนะทุกคำ ซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า’ ”

: พระองค์ตรัสตอบว่า มนุษย์จะดำรงชีวิตด้วยขนมปัง (lechem) ไม่ได้ แต่ด้วยทุกคำพูดที่ออกมาจากปากของพระยาห์เวห์

ในหลายฉบับ ได้ใช้คำว่า พระเยซูรัสว่า ไม่ใช่เพียงขนมปังเพียงอย่างเดียวที่สามารถทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ แต่ด้วยคำพูดที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าทุกคำ
อีกฉบับที่น่าสนใจ บันทึกว่า ทานัค [Tanakh] เขียนไว้ว่า มนุษย์ไม่ได้อยู่โดยขนมปังเพียงอย่างเดียว แต่ในทุกคำที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของ [Yahweh]

หรือ มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ด้วย lechem (ขนมปัง) เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยคำพูดทุกครั้งที่ดำเนินการออกจากปากของ יהוה  (พระยาห์เวห์) มนุษย์ถึงจะยังมีชีวิตอยู่

** ในการแปลที่มีอคติต่อคำว่า โทราห์ ที่ไม่มีบันทึกไว้ แต่เราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกก็คือความจริงของโทราห์ และบัญญัติของพระยาห์เวห์ เป็นผลต่อความผูกพันของผู้เชื่อในพันธสัญญาที่แท้จริง ตลอดจนถ้อยคำที่ พระเยซู (Yeshua) สอนสาวกของพระองค์

ฉธบ. 8:3 พระองค์ทรงทำให้ท่านถ่อมใจ ทรงปล่อยท่านให้หิว และทรงเลี้ยงท่านด้วยมานา ซึ่งท่านเองหรือปู่ย่าตายายของท่านก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เพื่อพระองค์จะทรงทำให้ท่านเข้าใจว่า มนุษย์ไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงสิ่งเดียว แต่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยทุกสิ่งที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระยาห์เวห์

: พระเยซูตรัสสอนพระวจนะตอนนี้จาก พระคัมภีร์เดิม คือ ทานัค เพราะในยุคนั้น หนังสืออธิบายพระคัมภีร์ใหม่ หรือพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยังไม่เกิดขึ้น


มธ. 5:17 “อย่าคิดว่าเรามาล้มเลิกธรรมบัญญัติและคำของบรรดาผู้เผยพระวจนะ เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ
: อย่าคิดว่าเรามาเพื่อทำให้โทราห์อ่อนกำลังลง (หรืออ่อนแอลง) หรือมาทำลายโทราห์ หรือคำเผยพระวจนะ เราไม่ได้มาลดหรือทำลาย แต่เพื่อจะสมบูรณ์เปิดเผยความบริบูรณ์ตามความมุ่งหมาย

เจตนาของพระเยซูไม่เคยมาเพื่อยกเลิกโทราห์ หรือมาตั้งศาสนาใหม่ แต่ตามคำของพระยาห์เวห์ พระองค์มาเพื่อทำให้สิ่งนั้นสมบูรณ์ ในความเป็นนิรันดร์ของ ถ้อยคำของพระองค์ (โทราห์)

: ฉธบ. 4:2 ท่านทั้งหลายอย่าแต่งเติมถ้อยคำที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้ และอย่าตัดสิ่งใดออก เพื่อท่านจะรักษาพระบัญญัติของพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่าน

: ฉธบ. 12:32 “ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาพวกท่านไว้นั้น จงระวังที่จะทำตาม ห้ามเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไป

ต่อจากข้อ 17 มาถึง มัทธิวข้อ 18 บันทึกต่อว่า …
มธ. 5:18 เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า จนกว่าฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรที่เล็กที่สุด หรือขีด ขีดหนึ่ง ก็จะไม่มีวันสูญไปจากธรรมบัญญัติ จนกว่าทุกสิ่งจะเกิดขึ้น

มธ. 5:19 เพราะฉะนั้น ใครทำให้ข้อเล็กน้อยเพียงข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้ มีความสำคัญน้อยลง และสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย คนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เล็กน้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์ แต่ใครที่ประพฤติและสอนตามธรรมบัญญัติ คนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินสวรรค์

: อ่านเรื่องชนชั้นในสวรรค์
http://www.missionkorat.blogspot.com/2013/02/blog-post_19.html#more

ในฉบับ Habraic roots
ใครก็ตามที่คลาย หรือลดหย่อนข้อใดข้อหนึ่งในธรรมบัญญัติที่อยู่ในโทราห์ (พระคัมภีร์ทั้งเล่ม) จะถูกเรียกว่าเลวร้ายที่สุดในอาณาจักร สววรค์ แต่ใครก็ตามที่ประพฤษในคำสอนเดียวกันนี้จะได้ถูกเรียกว่าดี (เป็นใหญ่)ในอาณาจักรสวรรค์

มธ. 7:23 เมื่อนั้นเราจะกล่าวแก่พวกเขาว่า ‘เราไม่เคยรู้จักพวกเจ้าเลย เจ้าผู้ทำความชั่ว จงไปเสียให้พ้นหน้าเรา’
คำว่าชั่วในภาษาฮีบรูนั้น
ในฉบับ messianic เจ้าผู้กระทำความชั่ว ใช้คำว่า (Torah Less ness) Lessness แปลว่า ปราศจาก, ไม่, ไร้
คำอ่าน “ เล็ซเน็ซ”

แปลได้ว่า โดยไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งของโทราห์ หรือธรรมบัญญัติ คือคำสอนของพระยาห์เวห์
คำว่า ชั่ว ในฉบับคิงเจมส์บอกว่า “ชั่วช้า” แต่ในภาษากรีกคือ anomia หมายถึงผิดกฎหมาย หรือโทราห์ (คำสอน ของพระยาห์เวห์,ธรรมบัญญัติ)

Torahlessnes จึงหมายถึง “meaning Anti-Torah”
ต่อต้าน',  สกัด,  ขจัด  คือคนที่ต่อต้าน คำสอน (โทราห์)
ของพระเจ้า หรือคัดค้าน หรือทำตรงกันข้ามโทราห์ นั่นเอง
หรือจะแปลว่า "against the Torah" ต่อต้านหรือสู้ และขัดแย้งกับโทราห์

มธ. 5:20 เพราะเราบอกพวกท่านว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่มากกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี พวกท่านจะไม่มีวันได้เข้าสู่แผ่นดินสวรรค์

: ฟาริสีเคร่งแต่ปากแต่เขาประพฤติก็เพื่ออวด เขาอธิษฐานเสียงดังเพื่อคนอื่นจะเห็นว่าตนเองชอบธรรม


1ยน. 2:3 ถ้าเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ เราจะมั่นใจได้ว่าเรารู้จักพระองค์
1ยน. 2:4 ผู้ที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์” แต่ไม่ได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนนั้นเป็นคนพูดมุสาและสัจจะไม่ได้อยู่ในเขาเลย

: ใน สดด. 119:142 ความชอบธรรมของพระองค์ชอบธรรมอยู่เป็นนิตย์ และธรรมบัญญัติของพระองค์เป็นความจริง

1ยน. 2:5 แต่ผู้ที่ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ ความรักของพระเจ้าก็บริบูรณ์อยู่ในผู้นั้นอย่างแท้จริง เพราะเหตุนี้แหละเราจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์
1ยน. 2:6 ผู้ที่กล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินชีวิตเหมือนพระองค์


1ยน. 5:2
โดยข้อนี้ เราจึงรู้ว่าเรารักคนทั้งหลายที่เป็นลูกของพระเจ้า คือเมื่อเรารักพระเจ้า และประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์

: ใน ฉธบ. 11:1 “ฉะนั้นท่านจงรักพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน จงรักษาพระดำรัสสั่ง กฎเกณฑ์ กฎหมาย และพระบัญญัติของพระองค์อยู่เสมอ


1ยน. 5:3 เพราะว่าความรักต่อพระเจ้าเป็นอย่างนี้ คือเมื่อเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และพระบัญญัติของพระองค์นั้นไม่เป็นภาระหนักเกินไป

: ใน ฉธบ. 30:11 “เพราะว่าพระบัญญัติซึ่งข้าพเจ้าบัญชาท่านในวันนี้ สำหรับท่านไม่ยากเกินไป และไม่ไกลเกินไปด้วย


2ทธ. 3:16 พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การแก้ไขสิ่งผิด และการอบรมในความชอบธรรม

: ในฉบับรากฮีบรู และอีกหลายเล่ม ใช้คำว่า “inspiration” ซึ่งมีคำแปลจากดิกชันนารีว่า
inspiration  (อินสพะเร'เชิน)
N. การสูดลมหายใจ
    relate:{การสูด}
N. ความบันดาลใจ
    relate:{แรงบันดาลใจ}{การกระตุ้น}

n. การดลใจ, การเร้าใจ, การกระตุ้น, การดลบันดาล, การก่อให้เกิด,
สิ่งดลใจ, ผู้ดลใจ, แรงดลใจ, แรงดลใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์, ผลของการที่ถูก
ดลใจ, ภาวะที่ถูกดลใจ, การหายใจเข้า


ในภาษาเดิม เรารู้อยู่แล้ว่ามีแต่พระคัมภีร์เดิม คือ “ทานัค” คำว่าพระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจ หมายถึง พระคัมภีร์ทั้งหมด

“The Scriptures As A Whole In Plural Form” เป็นพระคัมภีร์ในรูป พหูพจน์ ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่รวมทั้งหมด คือ โทราห์ และทานัค (Holy Tanakh/Torah)

ผมนำข้อพระคัมภีร์ที่ใช้คำๆนี้มาแบ่งปันครับ
มธ. 22:29 / มธ. 26:54 / มธ. 26:56 / มก. 12:24 / มก. 14:49 / ลก. 24:27 / ลก. 24:32 /
ลก. 24:45 / ยน. 2:22 / ยน. 5:39 / ยน. 7:38 / ยน. 7:42 / กจ. 17:2 / กจ. 17:11 / กจ. 18:24 /
กจ. 18:28 / รม. 1:2 / รม. 15:4 / รม. 16:26 / 1คร. 15:3 / 1คร. 15:4 / 2ธส. 2:17 / 2ทธ. 3:15 / 2ทธ. 3:16 / 2ปต. 1:20 / 2ปต. 3:16 เป็นต้น

2ทธ. 3:17 เพื่อคนของพระเจ้าจะมีความสามารถและพรักพร้อมเพื่อการดีทุกอย่าง

ในภาษาเดิมใช้คำว่า พร้อมจะทำ mitavoth (การดี) ซึ่งมีความหมายถึง ธรรมบัญญัติ และมีความหมายว่าการกระทำดี ที่มีคุณค่า ไม่ใช่การมุ่งเน้นไปที่การเคร่งศาสนาใน บัญญัติ 613 ข้อ จนเป็นภาระ

นี่คือสิ่งที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตของเรา ขอพระเจ้าอวยพระพรท่าน

ลิงค์เชื่อมโยง
http://missionkorat.blogspot.com/2013/03/blog-post_21.html

ชาโลม
ขอพระเจ้าอวยพร
Ktm.shachah


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น