วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระเจ้าสถิตอยู่ด้วย

พระเจ้าสถิตอยู่ด้วย
อยากหนุนใจผู้อ่านทุกคนว่า หากท่านเชื่อ พระเจ้าทรงสถิตอยู่กับท่านตลอดเวลา พระองค์สถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง บางครั้งผู้เชื่อ (บางคน) เน้นเอาความรู้สึกเพื่อสัมผัสการทรงสถิต ซึ่งในความเป็นจากพระคัมภีร์พระเจ้าสถิตอยู่กับผู้เชื่อแม้จะไม่รู้สึกก็ตาม

ความรู้สึกนั้นไม่ได้เป็นมุมลบเพียงอย่างเดียว มีทั้งดีและไม่ดีวึ่งอยู่ที่บริบทของตัวมันเองด้วย ความรู้สึกเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเพียงเครื่องประดับในระดับจิตใจ (เนื้อหนัง) แต่ไม่ใช้ในระดับวิญญาณ ดังนั้นหากความรู้สึกถูกใช้ตัดสินผิดบริบท นั่นคือการ "ติดกับดัก" ของความรู้สึก

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ ข้าพเจ้าก็เลิกอาการเด็กเสีย

 เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ ข้าพเจ้าก็เลิกอาการเด็กเสีย
1คร. 13:11 เมื่อข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ข้าพเจ้าพูดอย่างเด็ก คิดอย่างเด็ก ใคร่ครวญหาเหตุผลอย่างเด็ก แต่เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ ข้าพเจ้าก็เลิกอาการเด็กเสีย

เด็กย่อมเป็นเด็ก เมื่อเด็กอยากได้ของเล่นก็จะมีเหตุผลอย่างเด็ก ดังนั้นเด็กจึงต้องมีผู้ใหญ่ดูแลและเป็นผู้ปกครอง ผู้เชื่อที่เด็กก็มีนิสัยอย่างเด็ก พูดอย่างเด็ก แม้ฝ่ายร่างกายจะโตหรืออายุมากแล้ว แต่ยังทำตัวเหมือนเด็ก เด็กมักฟังผู้ใหญ่ ดังนั้นหากผู้ใหญ่ที่ดูและเด็ก ใจเป็นเด็กด้วย ก็จะพากันเล่นซนเหมือนอย่างเด็ก ๆ ที่เล่นกองทรายที่ชายหาดริมทะเล คือก่อกองทรายขึ้นมา จินตนาการว่าเป็นพระราชวังใหญ่โต จินตนาการให้ตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่ เป็นมหาเศรษฐี เป็นพระเอก เมื่อฝนตก ลมพัดกองทรายก็พังทรายลง แต่เด็กก็มักนำมาวาดฝันใหม่ ความฝันที่จะเป็นพระราชาในพระราชวังยังคงไม่จบสิ้นไป

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า

 ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน
บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า

สดด. 127:1 ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงสร้างบ้าน บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า ถ้าพระยาห์เวห์มิได้ทรงเฝ้ารักษานคร คนยามตื่นอยู่ก็เหนื่อยเปล่า

พระวจนะตอนนี้บางครั้งถูกนำมาใช้ในบริบทของคริสตจักร แต่บริบทของพระวจนะตอนนี้ไม่ได้หมายถึง คริสตจักร แต่หมายถึง “บ้าน” หรือ “ครัวเรือน” ภาษาฮีบรูใช้คำว่า (bayit) ครอบครัวสร้างบ้าน คนยามเฝ้าเมือง แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าพระยาห์เวห์ไม่สถิตอยู่กับเขา ครอบครัวที่สร้างขึ้นมาแล้วไม่มีพระเจ้า ไม่มีความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณที่พระเจ้าใส่ไว้

แผนการของพระเจ้า

แผนการของพระเจ้าจริงหรือ?
หลายครั้งเราอาจจะเคยได้ยินคำสอนว่า การทดสอบมากจากพระเจ้า และการทดลองมาจากมาร และในหลาย ๆ ครั้งผู้เชื่ออาจจะสับสนว่า อุปสรรค ความยากลำบากที่เจอ ตอนนี้มาจากพระเจ้าหรือ มาจากมาร หรือมาจากตัวเอง

และบางครั้งเมื่อเราเจอความยากลำบาก และมีหลาย ๆ คนหนุนใจว่า สิ่งนี้มาจากพระเจ้า ให้อดทนต่อไป พระเจ้าจะกระทำการดีในตัวคุณ ผ่านไปได้คุณจะเจอแต่สิ่งดี ๆ และเราก็อดทนในสถานการณ์นั้นต่อไปเรื่อย ๆ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การทรงสถิต

 การทรงสถิต
ว่าด้วยเรื่องการทรงสถิต การทรงสถิต หรือการสถิตอยู่ของพระเจ้าต่างกันหรือไม่ หลายคนแสวงหาการทรงสถิต ต้องการอยู่ในการทรงสถิต อยากดำเนินอยู่ในการทรงสถิตของพระเจ้า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดี

เมื่อต้องการการ ทรงสถิต หลายคนจึงเฝ้าแสวงหาการทรงสถิต หลายคนพยายามในฝ่ายวิญญาณ บางคนชอบอยู่แบบคนเดียว ต้องเงียบ ๆ กับพระเจ้าถึงจะมีการทรงสถิต บางคนต้องรวมพี่น้องมานมัสการมากๆ เพื่อจะมีการทรงสถิต บางครั้งก็อาจจะมีการรวมตัวกันอดอาหาร มีการวางมือจากคนดังๆ เพื่อรับการเจิม รับการเผยพระวจนะ หวังจะมีการเจิมและแช่อยู่ในการทรงสถิตของพระเจ้า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผิดเลยและดีเสียอีกที่ให้เวลากับพระเจ้า

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรากำลัง "อดทน" แบบผิด ๆ หรือเปล่า ?

เรากำลัง "อดทน" แบบผิด ๆ หรือเปล่า ?


ในพระคัมภีร์ ..พระเจ้าทรงสอนเราไว้หลายครั้ง..ว่า
ให้อดทน อดทนนาน .. และ อดทนให้มากขึ้นอีก

กท. 5:22 ส่วนผลของพระวิญญาณนั้น คือความรัก ความยินดี สันติสุข ความอดทน ความกรุณา ความดี ความซื่อสัตย์

ในวันนี้เรามาดูกันที่ “ความอดทน”
อดทน ต่อการทดลอง อดทนต่อความอยุติธรรม
อดทนต่อความทุกข์ ความยากลำบาก อดทนต่อกันและกัน อดทนให้นาน ๆ
นานอีก นานขึ้นไป
(เราเคยต้องอดทนกับใครแบบนี้ไหมครับ เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง คนในคริสตจักร)

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พระเจ้าตีสอน

พระเจ้าตีสอน

ผมเชื่อว่า เราผู้เชื่อต้องได้ยินคำสอนที่กล่าวว่า “พระเจ้าตีสอน” มาไม่มากก็น้อย
คุณต้องถูกพระเจ้าตีสอน ต้องพบการสดสอบ การทดลอง ต้องถูกมารซาตานรังควานตามทำร้าย กลับกลายเป็นว่า เป็นคริสเตียนแล้วแทนที่จะเป็นไท แต่เจอแต่เรื่องแย่กว่าเดิม ก่อนเชื่อพระเจ้ามีแต่ปัญหา พอรับเชื่อพระเจ้าปัญหามากกว่าเดิม ไหนจะต่อสู้กับมนุษย์ ต่อสู้กับมาร เจอการทดลอง พบบททดสอบ และยังต้องถูกตีสอนอีก

ไหนจะงานรับใช้ที่มีมากมายจนเป็นภาระ เชื่อฟังคำสอนที่ต้องถวายทรัพย์มากๆ ต้องให้พระเจ้ามากๆกว่าสิ่งอื่นใด คือให้เวลากับคริสตจักร ไม่ต้องพบเจอญาติมิตร เพื่อนฝูงยังกับตัดขาดจากโลกภายนอก ต้องเข้าโปรแกรมของคริสตจักรสัปดาห์ละหลายวัน ถ้าไม่ทำแบบนี้คุณจะถูกโลกนี้ดึงออกห่างจากทางของพระเจ้า

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พระเจ้าเขย่า

 พระเจ้าเขย่า
มีหลายคำที่ไม่มีในพระคัมภีร์ แต่เป็นคำตกทอดต่อๆกันมาที่อาจจะทำให้ผู้เชื่อ เข้าใจความจริงในพระวจนะบิดเบือนไป หนึ่งในคำเหล่านั้นคือ

"พระเจ้าเขย่า" หากสมาชิกทำสิ่งใดที่ขัดต่อตนเอง หรือสิ่งที่ตัวเองสอน และเชื่อต่างออกไป หรือออกไปจากคริสตจักร ฯลฯ ในขณะที่สมาชิกคนนั้นบางคนต้องเจอกับปัญหา (ซึ่งทุกคนก็ต้องเจอปัญหา) ผู้นำจะบอกว่า พระเจ้ากำลังเขย่าคุณ เห็นไหม ?
เพราะคุณดื้อ ไม่เชื่อฟัง พระเจ้าเลยเขย่าคุณ หรือ ฝัดร่อนคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จงปรารถนาน้ำนมฝ่ายวิญญาณ

จงปรารถนาน้ำนมฝ่ายวิญญา

1คร. 14:4 คนที่พูดภาษาแปลกๆ นั้นก็ทำให้ตัวเองเจริญขึ้น แต่ผู้เผยพระวจนะนั้นทำให้คริสตจักรเจริญขึ้น

คำว่า “เจริญขึ้น” ในบริบทนี้ไม่ได้หมายถึง ความเติบโตในชีวิตฝ่ายวิญญาณ แต่เจริญขึ้นในความสัมพันธ์กับพระเจ้า เพราะในข้อที่ สองบันทึกไว้ว่า
1คร. 14:2 เพราะว่าคนที่พูดภาษาแปลกๆ นั้น ไม่ได้พูดกับมนุษย์ แต่ทูลต่อพระเจ้า เพราะว่าไม่มีใครเข้าใจได้ เขาพูดเป็นความล้ำลึกโดยพระวิญญาณ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พิพากษา

พิพากษา

การพิพากษาจะมีแนวความคิดว่า ตัวเองดีกว่าคนอื่น และไม่เพียงรู้ว่า คนอื่นทำอะไร แต่ยังรู้เหตุผลที่ทำได้อีกด้วย การพิพากษาเป็นการตัดสินและดูหมิ่นคนอื่นจากของความเคร่งครัดบัญญัติ มักจะภูมิใจในความชอบธรรมของตัวเอง นั่นคือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสิน โดยอ้างการนำของพระเจ้า

คนที่ชอบพิพากษาผู้อื่นมักจะไม่รู้ความจริงอย่างถ่องแท้ แต่จะเอาข้อมูลผิวเผินที่มองเห็นไปใช้เพื่อตัดสินสิ่งที่คนอื่นทำ และชี้ว่าผู้นั้นผิดอย่างไร เขาจะรู้สึกได้ระบายเมื่อได้ประจานคนอื่นต่อหน้าคนหมู่มาก

อย่าแสวงหาการยอมรับ

อย่าแสวงหาการยอมรับ
ไม่ใช่เพียงโลกภายนอกเท่านั้น แม้แต่ในกลุ่มผู้เชื่อในคริสตจักร บรรดาผู้มีสิทธิอำนาจและผู้นำ (บางคน) ก็แสวงหาการยอมรับจากผู้คน บางคนอยากให้ทุกคนสวามิภักดิ์ต่อตนเองเพียงผู้เดียว เรื่องแบบนี้สมควรหรือไม่เมื่อเราทั้งหลายรู้ดีว่าเกียรติและทุกๆคำสรรเสริญสมควรเป้นของพระเจ้าเพียงผู้เดียว

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ลี้ภัยในพระเจ้า

ลี้ภัยในพระเจ้า

1ปต. 5:8 ท่านทั้งหลายจงเป็นคนใจหนักแน่น จงระวังระไวให้ดี ด้วยว่าศัตรูของท่าน คือพญามาร วนเวียนอยู่รอบๆดุจสิงโตคำราม เที่ยวไปเสาะหาคนที่มันจะกัดกินได้

แมวชอบกินปลามากเป็นชีวิตจิตใจ แต่ถ้าปลานั้นเป็นปลากระป๋อง มันก็คงกินไม่ได้ แม้จะขึ้นไปยืน ขย่ม ใช้กรงเล็บแงะแคะออกมากก็ไม่สามารถทำได้ แต่มันก็ยังสนใจเดินวนไปวนมา คอยโอกาสว่าสักวันมันจะต้องได้กิน

พระเจ้าพระองค์ทรงรักเราและปกป้องเรา พระองค์ซ่อนเราไว้ในพลับพลา ไว้ในที่กำบังที่ปลอดภัยและเข้มแข็ง ซาตานทำอะไรผู้เชื่อที่อยู่ในการคุ้มครองด้วยพระหัตถ์ของพระเจ้าไม่ได้สิ่งเลวร้ายใดๆไม่อาจ
กร้ำกราย พระเจ้าซ่อนเราไว้ในปีกของพระองค์ จงเข้าลี้ภัยในองค์พระผู้เป็นเจ้า

ชาโลมครับ
ktm.Emunah

พระเจ้าตรัสว่า... จริงหรือ?

พระเจ้าตรัสว่า... จริงหรือ?

หลายครั้งเมื่อเราจะกระทำสิ่งใด หรือเราจะจัดการเรื่องใด ยิ่งในฐานะหัวหน้า หรือผู้นำ คำกล่าวที่ว่า "พระเจ้าบอกให้ทำ" คำว่า พระเจ้าตรัส หรือ พระเจ้าสั่ง หรือพระเจ้าให้ทำ เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดเพราะพระเจ้าสามารถกระทำสิ่งนั้นได้จริงๆ ในยุคนี้

การปกคลุมฝ่ายวิญญาณ

การปกคลุมฝ่ายวิญญาณ

เราเคยสังเกตไหมว่า คำสอน หรือคำเทศนาวันอาทิตย์ บางครั้งเป็นคำสอนที่ทำให้เรามีกำลังขึ้น ดูมีกำลังขึ้น แต่เราเคยกลับไปใคร่ครวญซ้ำไหมว่า เราจะไปต่อยอดอย่างไรกับคำสอนที่เราได้รับมาที่หาใช่เพียง ได้รับกำลังในชั่วขณะ และกล่าวว่า "อาเมนๆ"

เมื่อเราอ่านพระวจนะ และฟังคำเทศนาเราอาจจะได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ หลายคำหนึ่งในนั้นที่ผมเองก็เคยสงสัยและค้นหาในพระคัมภีร์คือคำว่า “การปกคลุมฝ่ายวิญญาณ”

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คนดีก็ย่อมเอาของดีออกจากคลังดีแห่งใจของตน

คนดีก็ย่อมเอาของดีออกจากคลังดีแห่งใจของตน

การคิดบวก และการพูดบวกคือสิ่งที่ผู้เชื่อในพระเจ้าควรกระทำในทุกๆวัน เราจะฝึกที่จะคิดบวกและพูดบวกได้อย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือภายในเต็มไปด้วยอะไร

ในแต่ละวันเราคิดอะไร หากเราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เราก็จะเอามาตรฐานตัวตนของเราเองไปวัดกับผู้อื่น หากเขาไม่เป็นดั่งที่เราปรารถนาในใจของเราก็จะคิดว่าคนอื่นไม่ดี หรือคิดถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดี และคิดแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่นตลอดเวลา และหมกมุ่นที่จะตัดสินแต่คนอื่นก็เพราะในใจตัวเขาเองนั้น ..เต็มไปด้วยเรื่องแย่ ๆ ของคนอื่นที่ตนเองวิเคราะห์ขึ้นมาและคิดไปเอง

ลก. 6:45 คนดีก็ย่อมเอาของดีออกจากคลังดีแห่งใจของตน และคนชั่วก็ย่อมเอาของชั่วออกจากคลังชั่วแห่งใจของตน ด้วยใจเต็มด้วยอะไร ปากก็พูดออกมาอย่างนั้น

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เราอธิษฐานขอพระเจ้าแบบไหน?

เราอธิษฐานขอพระเจ้าแบบไหน?


เราผู้เชื่อ อธิษฐานขอพระเจ้าแบบไหน การขอไม่ใช่สิ่งที่ผิด เหมือนลูกขอของขวัญจากพ่อ บางครั้งไม่ขอพ่อก็ให้ พระเจ้าพระบิดาเองก็เช่นกัน เราขอพระเจ้าโดยการอธิษฐานโดยที่บางครั้งเราเข้ามาขอพระเจ้าแบบ ไร้ความสัมพันธ์ ในพระวจนะพระเจ้าประสงค์ให้เราสัมพันธ์สนิทกับพระองค์ แต่บางครั้งเรามาคริสตจักรวันอาทิตย์ จับพระคัมภีร์แค่เพียงวันอาทิตย์ จากนั้นก็วางไว้ที่หลังรถ หรือวางบนโต๊ะจนเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ แต่เมื่อเราเจอปัญหา เราพึ่งตัวเองจนถึงที่สุด จนสุดปัญญา หรือเราขาดแคลนอะไรและได้ขวนขวายจนสุดชีวิต และเราผิดหวังเมื่อนั้นเราจึงมาหาพระเจ้าและ “ขอพระองค์”  <<อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การพูดแง่บวก

การพูดแง่บวก
 

นอกจากผู้เชื่อจะต้องคิดแง่บวกแล้ว การพูดก็สำคัญที่เราควรพูดทุกคำพูดในแง่บวกด้วย ดังนั้นจงมีความคิดด้านบวกก่อน คือคิดให้มีความสอดคล้องกับพระทัยพระเจ้า พระเยซูมีแต่ความคิดในแง่บวกเสมอถ้าเรามีพระทัยแบบพระคริสต์เราก็จะมีแต่ความคิดที่มีแต่ด้านบวก การมีความคิดลบๆเราเองก็ไม่ได้มีพระทัยแบบพระเยซูคริสต์ เราต้องรู้ว่าซาตานพยายามทำให้เราตกต่ำและมีความกดดัน

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขอหัวใจใหม่

ขอหัวใจใหม่

“ขอใจใหม่” หลายครั้งเราอธิษฐาน หรือร้องบทเพลง ลูกขอใจใหม่ที่เหมือนพระองค์ ในปัจจุบันผู้เชื่อยังจำเป็นต้องขอ ใจที่เหมือนพระเจ้า หรือไม่ ?

อสค. 36:26 เราจะให้ใจใหม่แก่พวกเจ้า และเราจะบรรจุวิญญาณใหม่ไว้ภายในของเจ้าทั้งหลาย เราจะนำใจหินออกจากเนื้อของเจ้า และให้ใจเนื้อแก่เจ้า

จากพระวจนะตอนนี้พระยาห์เวห์องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสัญญาว่าจะนำพวกเขากลับสู่สภาพดีทางด้าน “ฝ่ายวิญญาณ” โดยให้จิตใจใหม่แก่พวกเขาเพื่อติดตามพระองค์ ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตที่จะทำตามพระประสงค์ของพระองค์

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมื่อเจอปัญหา ท่านกำลังถูกฝัดร่อนจริงหรือ

เมื่อเจอปัญหา ท่านกำลังถูกฝัดร่อนจริงหรือ

หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ ในสถานการณ์ที่เจอปัญหา ท่านจะได้รับคำหนุนใจว่า พระเจ้ากำลังฝัดร่อนท่าน หรือคนใดหรือกลุ่มคนใดทำสิ่งใดที่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน และเขาเจอปัญหา อาจจะมีประโยคที่กล่าวว่า “พระเจ้ากำลังฝัดร่อนคนในคริสตจักร” ซึ่งมีความหมายว่า พวกเขาไม่ได้ทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ฯลฯ

คำว่า "ฝัดร่อน" พบในพันธสัญญาใหม่ครั้งเดียว แต่ในฉบับ THSV พบได้บ้างในพันธสัญญาเดิมแต่เป็นบริบทของการฝัดร่อนผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าซึ่งต่อต้านอิสราเอล
และพบในพระคัมภีร์ฉบับ KJV เพียงครั้งเดียวใน

ลก. 22:31 และองค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า "ซีโมน ซีโมนเอ๋ย ดูเถิด ซาตานได้ขอท่านไว้เพื่อจะฝัดร่อนท่านเหมือนฝัดข้าวสาลี

จงอดทน “ความอดทนของผู้เชื่อ”

จงอดทน 
“ความอดทนของผู้เชื่อ”
 

ถ้าเราอ่านพระคัมภีร์ จะมีหลายตอนเลยที่บันทึกว่า "จงอดทน" การอดทนนาน และจงอดทนต่อทุกสิ่ง อดทนต่อการทดสอบหรือทดลอง อดทนต่อคนอธรรมที่ไม่ยุติธรรมกับเรา อดทนต่อปัญหาความทุกข์ยากลำบาก อดทนต่อกันและกัน (จงรักเพื่อนบ้าน) เจออะไรก็ต้องอดทน โดนตบแก้มอีกข้าง ก็หันอีกข้างให้ตบด้วย จริงๆแล้ว การอดทน ในพระคัมภีร์ที่บันทึกไว้หมายถึงอะไร

พระวจนะบันทึกว่า “ความรักก็อดทนนาน” เราต้องมีความรัก ความหวังใจในพระเจ้า แต่ต้องมีพระวจนะเป็นฐานที่มั่น เพราะเมื่อเรามีพระวจนะรากฐานก็มั่นคงไม่หวั่นไหว แม้ในคราวที่เจอกับการทดลอง ความทุกข์ยากลำบาก ความอยุติธรรมหรือแม้แต่ถูกข่มเหง

วว. 14:12 นี่แหละคือความทรหดอดทนที่พวกธรรมิกชนจะต้องมี คือพวกที่ถือรักษาพระบัญญัติของพระเจ้า และจงรักภักดีต่อพระเยซู

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ตายต่อบาป

ตายต่อบาป


ในพระคัมภีร์ใช้คำว่า "ตายต่อบาป"
รม. 6:2 เปล่าเลย เราที่ตายต่อบาปแล้วจะมีชีวิตในบาปต่อไปได้อย่างไร?
รม. 6:10
ด้วยว่าซึ่งพระองค์ได้ทรงตายนั้นพระองค์ได้ทรงตายต่อบาปหนเดียวเป็นพอ แต่ซึ่งพระองค์ทรงชีวิตอยู่นั้น พระองค์ทรงชีวิตสนิทกับพระเจ้า
รม. 6:11 เหมือนกันเช่นนั้นแหละ ท่านทั้งหลายจงถือว่าท่านได้ตายต่อบาป และมีชีวิตสนิทกับพระเจ้าในพระเยซูคริสต์

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขอทรงสอนพระมรรคาของพระองค์แก่ข้าพระองค์

ขอทรงสอนพระมรรคาของพระองค์แก่ข้าพระองค์

สดด. 27:11 ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงสอนพระมรรคาของพระองค์แก่ข้าพระองค์ และขอทรงนำข้าพระองค์ไปบนวิถีราบ เนื่องจากศัตรูของข้าพระองค์

สดด. 86:11 ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงสอนพระมรรคาของพระองค์แก่ข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์จะดำเนินในความจริงของพระองค์ ขอทรงรวมใจของข้าพระองค์เป็นใจเดียว ให้ยำเกรงพระนามของพระองค์

ตาแทนตา ฟันแทนฟัน

ตาแทนตา ฟันแทนฟัน
มธ. 5:38 “ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า‘ตาแทนตา และฟันแทนฟัน ’

แนวโน้มของการตอบแทน เมื่อเราได้ถูกกระทำการร้าย นั่นคือการร้าย แม้ผู้เชื่อในพระเจ้าเองก็ยังผิดพลาดในเรื่องเหล่านี้ อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ เช่นเมื่อใครขับรถปาดหน้าเราบนท้องถนน หลายครั้งเราก็สบถคำแช่งสาปออกมา เมื่อใครยืมเงินเราไปและโกงเรา ความคิดของเราอยากให้เราได้เจอกับการตอบแทนอย่างสาสม

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ขอบพระคุณ (ใน) ทุกกรณี

ขอบพระคุณ (ใน) ทุกกรณี

การขอบพระคุณเป็นสิ่งที่ดี เป็นคำติดปากผู้เชื่อในพระเยซู เราอาจจะขอบพระคุณเพราะพระคัมภีร์ให้เราขอบพระคุณในทุกกรณี (1ธส. 5:18 )

ไม่ว่าจะดีหรือร้ายขอบคุณในสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย เพราะพระคัมภีร์บอกไว้ และถูกสอนมาแบบนี้

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

การส่งส่วยให้แก่ซีซาร์นั้นควรหรือไม่?

การส่งส่วยให้แก่ซีซาร์นั้นควรหรือไม่?

ลก. 20:20 พวกเขาจึงคอยดูพระองค์ และใช้ให้บางคนแสร้งทำตัวเป็นคนชอบธรรมตามไปสอดแนม หวังจะจับผิดในคำสอนของพระองค์ เพื่อจะมอบพระองค์ไว้ใต้สิทธิอำนาจของเจ้าเมือง
ลก. 20:21 พวกเขาจึงทูลถามพระองค์ว่า “ท่านอาจารย์ เราทราบอยู่ว่าท่านกล่าวและสั่งสอนแต่ความจริง ไม่เคยเห็นแก่หน้าใคร แต่สั่งสอนทางของพระเจ้าจริงๆ
ลก. 20:22 การส่งส่วยให้แก่ซีซาร์นั้นควรหรือไม่?”
ลก. 20:23 พระองค์ทรงหยั่งรู้อุบายของพวกเขา จึงตรัสกับเขาว่า
ลก. 20:24 “จงเอาเงินเดนาริอันเหรียญหนึ่งมาให้เราดู รูปและคำจารึกนี้เป็นของใคร?” เขาทูลตอบว่า “ของซีซาร์”
ลก. 20:25 แล้วพระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “ของของซีซาร์จงถวายแก่ซีซาร์ และของของพระเจ้าจงถวายแด่พระเจ้า”
ลก. 20:26 พวกเขาจึงจับผิดในคำสอนของพระองค์ต่อหน้าประชาชนไม่ได้ และเขาก็ประหลาดใจในคำตอบของพระองค์จึงเงียบไป

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ขอให้ตาและใจของท่านสว่างขึ้น

ขอให้ตาและใจของท่านสว่างขึ้น

TKJV อฟ. 1:18 และขอให้ตาใจของท่านสว่างขึ้นเพื่อท่านจะได้รู้ว่า ในการที่พระองค์ทรงเรียกท่านนั้น พระองค์ได้ประทานความหวังอะไรแก่ท่าน และรู้ว่ามรดกของพระองค์สำหรับวิสุทธิชนมีสง่าราศีอันอุดมบริบูรณ์เพียงไร

“ขอให้ตาและใจของท่านสว่างขึ้น” ภาษาฮีบรูมักมีสำนวนและคล้ายกับภาษาไทย เมื่อเราอ่านพระวจนะตอนนี้เราอาจจะเข้าใจได้เลย แต่บางครั้งเมื่อเราหยุดพิจารณา ตาและโดยเฉพาะใจ หมายถึงอะไร?

วลีของอาราเมค (Arameic) 
เป็นสำนวนที่มีความหมาย "หลายครั้งที่เราได้พูดถึงความเข้าใจของชาวยิว “หัวใจ” ว่ามันเป็นอวัยวะที่เป็นสำนวนของความเข้าใจและความรู้

(Ayna d'Lebwatkon - "the eye of your hearts")

เราจึงเข้าใจได้ว่า ตาใจขอท่าน คือความคิด ความเข้าใจ ความรู้

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพรท่าน
ชาโลม
ktm.Emunah

ฤดูกาลของการให้อภัย

ฤดูกาลของการให้อภัย
Yom Kipur (ยกโทษและให้อภัย)

การให้อภัยเป็นคำที่อาจจะพูดได้ยาก หรือทำได้ยาก แต่เวลานี้เป็นฤดูการที่เราต้องใคร่ครวญถึงการให้อภัยที่แท้จริง ก่อนที่จะเข้าสู่เทศกาล Yom kippur (ลบมลทินบาป)

การให้อภัยหมายความว่า หลังจากเมื่อกล่าวคำ ขอโทษ ของเราออกไปเพื่อการชดใช้มีความหมายว่าเรากำลังเข้าสู่การร่วมทำงานอย่างหนัก (พยายามอย่างมาก) เพื่อเรียกคืนความสัมพันธ์กลับสู่สภาพเดิม

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ผู้หญิง ในวิวรณ์ 12:1 คือใคร?

ผู้หญิง ในวิวรณ์ 12:1 คือใคร?
สัญลักษณ์ในวิวรณ์นั้นมีทั้งถูกกำหนดไว้โดยเปิดเผยในตัวเองหรือ สามารถกำหนดและสืบค้นได้จากก่อนหน้านี้ในพันธสัญญาเดิม หรือ ทานัค ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในวิวรณ์หรือแม้แต่พันธสัญญาใหม่เราต้องทำความเข้าใจในพันธสัญญาเดิมด้วย (คำทำนายของทานัค)

TKJV วว. 12:1 มีการมหัศจรรย์ใหญ่ยิ่งปรากฏในสวรรค์ คือผู้หญิงคนหนึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นอาภรณ์ มีดวงจันทร์อยู่ใต้เท้า และบนศีรษะมีดวงดาวสิบสองดวงเป็นมงกุฎ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

กระบวนการการให้อภัย 3 ส่วน (2)

กระบวนการการให้อภัย 3 ส่วน (2)

สวัสดีปี 5776 Shana Tova
ก่อนที่จะเข้าเดือน ทิชรี เป็นเดือน เอลลู เป็นเดือนที่ย้ำเตือนเราให้กลับใจและให้อภัย การให้อภัยไม่ใช่แค่ปากที่บอกว่า ยกโทษ แต่ภายในยังขุ่นเคืองและกลบเกลื่อนไฟที่รอวันปะทุขึ้นมาอีกครั้ง การให้อภัยควรมีทุกครั้งที่เราโกรธใครสักคน ในฤดูกาลของพระเจ้า หลังจาก รอช ฮาชานาห์ 10 วันก่อนเข้าสู่เทศกาล Yom Kippur หรือ ลบมลทินบาป จงใคร่ครวญว่าการให้อภัยอะไรหรือกับใครที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ขอพระเจ้าอวยพระพรทุกคนที่จะหลุดพ้นจากกับดักการไม่ให้อภัยนะครับ เพราะสิ่งนี้แหละเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางพระพรและแม้แต่การอภัยจากพระเจ้ากับเราเองด้วยเช่นเดียวกัน

Selichah, Mechilah, Kapparah
มีสามคำพ้องกันในภาษาฮีบรู  "Selichah," "Mechilah," และ "Kapparah,"
selichah (pardon), mechilah (wiping away), and kapparah (atonement)
ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับความคิดของ "การให้อภัย" หมายถึงอะไร

1. Selichah มักจะแปลว่า "ให้อภัย" เป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องดำเนินการถ้ามีคนที่มุ่งทำความผิดบาปไม่ว่าจะต่อพระเจ้าหรือต่อมนุษย์ด้วยกันเพื่อขอขมาในทางพุธอาจจะแปลได้ประมาณว่าขออโหสิกรรม คือขอการให้ให้อภัย เช่น "ผมเสียใจกับสิ่งที่ผมทำขอแสดงความเสียใจที่ได้กระทำมันและผมจะไม่ทำมันอีกครั้ง" และการตอบสนองที่เหมาะสมต่อการร้องขอนี้คือการเชื่อว่าผู้ที่ยื่นคำร้องมีความจริงใจและ "เปิดประตู" สำหรับเขาที่จะ "เชิญเข้ามา" (come in) คนที่ปฏิเสธที่จะทำเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นคนโหดร้าย หรือสร้างความเจ็บปวด
เราควรตอบสนองต่อคำขอนี้ด้วยการ “ให้อภัย”

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

แกะที่หายไปและกลับมา

 แกะที่หายไปและกลับมา


วันนี้ผมได้อ่านข่าวหนึ่ง เป็นข่าวเรื่องของแกะทำให้คิดถึงเรื่องราวในพระคัมภีร์ ในเรื่องแกะที่ต้องการผู้เลี้ยง จากเว็บไซต์ข่าวสด สรุปได้ว่า พบเห็นแกะตัวหนึ่งเดินอยู่บริเวณพุ่มไม้และมีขนปกคลุมทั่วตัวอย่างหนาแน่น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวของแกะเองจากน้ำหนักของขนที่มากเกินไป ล่าสุดได้ทำการตัดขนและสร้างสถิติโลกใหม่ด้วยน้ำหนักขนที่หนักถึง 40.5 กิโลกรัม แกะตัวนี้ชื่อว่า "คริส" ทำลายสถิติของ "เชร็ค" ตัวก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความเชื่อคือ ?

ความเชื่อคือ ?

ความเชื่อในโลกนี้มีมากมาย บางครั้งการประกาศความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า แต่ชีวิตที่ดำเนินเป็นวิถีชีวิตที่ค้านกับพระวจนะจะยังคงถือว่าเป็นความเชื่อหรือไม่ เคยมีคนบอกว่า ความเชื่อคือการมองไม่เห็น ถ้ามองเห็นคือความไม่เชื่อ

ในพันธสัญญาใหม่บันทึกว่า
ฮบ. 11:1 บัดนี้ความเชื่อคือความแน่ใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นหลักฐานมั่นใจว่า สิ่งที่ยังไม่ได้เห็นนั้นมีจริง

ความเชื่อในภาษากรีกคือ “Pistis” และในภาษา ฮีบรูคือ “Emunah” มีรากจากคำว่า "Amen"หมายถึง ความเชื่อถือ, ความมั่นใจ, ความมั่นคง, ความแน่นอน, ซื่อสัตย์และซื่อตรง เป็นความเชื่อที่ไม่ใช่เพียงในใจแต่เป็นการประพฤติ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทศกาลเสียงแตร 2

เทศกาลเสียงแตร (2) 5776

เทศกาลเสียงแตร
ลนต. 23:23 พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า
ลนต. 23:24 “จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร
ลนต. 23:25 ห้ามทำงานประจำใดๆ และจงนำเครื่องบูชาด้วยไฟถวายแด่พระยาห์เวห์”


การเป่าแตรหลักๆแล้วคือเป็นการประกาศให้รู้ถึงการเริ่มเดือนใหม่ (rosh chodesh) และการเริ่มเทศกาลต่างๆ (Chang) งานเลี้ยงหรืองานเลี้ยงแห่งความชื่นชมยินดี

คำแปลภาษาฮีบรู สำหรับคำว่า “เป่า” (Teruach) เขาแกะหรือ shofar (พหูพจน์ คือ shofarim)
เทศกาลเสียงแตร/วันแห่งการเป่า หรือภาษาฮีบรูว่า Yom Teruach

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สดุดีบทที่ 27 บทเพลงแห่งชัยชนะ

สดุดีบทที่ 27 บทเพลงแห่งชัยชนะ



ในฉบับฮีบรูขึ้นต้นด้วยตัวอักษร Zayin (เป็นภาพของดาบ หรืออาวุธที่คม) สดุดีของดาวิด และยังเชื่อมต่อกับคำว่า อาหาร ที่มีความหมาย “บำรุง”

สดด. 27:1 พระยาห์เวห์ทรงเป็นความสว่างและความรอดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะกลัวผู้ใดเล่า? พระยาห์เวห์ทรงเป็นที่กำบังอันแข็งแกร่งแห่งชีวิตข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเกรงผู้ใดเล่า?
พระองค์เป็นความสว่าง และเป็นความรอด (พระเยซู) พระองค์ทรงเป็นความสว่างและทรงเป็นความรอด
ยน. 8:12 พระเยซูตรัสกับพวกเขาอีกครั้งหนึ่งว่า “เราเป็นความสว่างของโลก คนที่ตามเรามาจะไม่ต้องเดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต”
ยน. 1:5 ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดไม่อาจเอาชนะความสว่างได้
ยน. 1:9 ความสว่างแท้ที่ทำให้มนุษย์ทุกคนเห็นความจริงได้นั้นกำลังเข้ามาในโลก
ยน. 12:46 เราเข้ามาในโลกเป็นความสว่าง เพื่อทุกคนที่วางใจในเราจะไม่อยู่ในความมืด

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หันจากการมองดูสิ่งที่อนิจจัง

หันจากการมองดูสิ่งที่อนิจจัง
 
สดด. 119:37 ขอทรงหันดวงตาของข้าพระองค์ไปจากการมองดูสิ่งอนิจจัง และขอทรงรักษาชีวิตข้าพระองค์ไว้ในพระมรรคาของพระองค์

“อนิจจัง” ในฉบับ KJV ใช้คำว่า “vanity” ซึ่งแปลว่า ความหยิ่งยโส, ความทะนงตัว, ความภูมิใจในตัวเองมากเกินไป,
ความว่างเปล่า, ความไร้สาระ, การไร้คุณค่า, สิ่งที่ไร้สาระ, ความไร้ประโยชน์

ในพจนานุกรม ให้คำจำกัดความว่า ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเพ่งมองจึงเป็นภาพของการจดจ่อในสิ่งนั้นๆที่ถูกดึงให้สนใจ ในฉบับ อมตะธรรมใช้คำว่า ขอทรงหันสายตาของข้าพระองค์จากสิ่งที่ไร้ค่า

หน้าซื่อใจคด (อย่ากล่าวโทษผู้อื่น)

หน้าซื่อใจคด (อย่ากล่าวโทษผู้อื่น)

มธ. 7:5 คนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่านก่อน แล้วท่านจะเห็นได้ถนัด จึงจะเขี่ยผงออกจากตาพี่น้องของท่านได้

“หน้าซื่อใจคด” (hypocritical ,hypocrite) ประโยคสั้นๆในพระคัมภีร์ที่มักพาดพิงไปที่ บรรดาฟาริสี หมายถึงอะไร

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติ ก็ถูกสาปแช่ง

 คนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติ 
ก็ถูกสาปแช่ง

กท. 3:10 เพราะว่าคนทั้งหลายซึ่งพึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติ ก็ถูกสาปแช่ง เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า“ทุกคนที่ไม่ได้ประพฤติตามข้อความทุกข้อที่เขียนไว้ในหนังสือธรรมบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง”

อาจจะมีบางคนที่อ่านพระวจนะตอนนี้แล้วอาจจะมีคำถามว่า คนที่พึ่งการประพฤติตามธรรมบัญญัติก็ถูกสาปแช่ง แต่ในบริบทต่อมาคนที่ไม่ประพฤติตามก็ถูกสาปแช่งด้วย ตกลงประพฤติหรือไม่ประพฤติก็ถูกสาปแช่งหรือ

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จงนบนอบเชื่อฟังบรรดาผู้นำของท่านทั้งหลาย

 จงนบนอบเชื่อฟังบรรดาผู้นำของท่านทั้งหลาย

ฮบ. 13:17 จงนบนอบเชื่อฟังบรรดาผู้นำของท่านทั้งหลาย เพราะว่าพวกเขาดูแลรักษาจิตวิญญาณของพวกท่านอยู่อย่างคนที่ต้องถวายรายงาน จงให้พวกเขาทำงานนี้ด้วยความชื่นชมยินดี ไม่ใช่ด้วยความเศร้าใจ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์แก่พวกท่านเลย

จากพระวจนะตอนนี้ “ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือ ยอมเชื่อฟัง” พระวจนะไม่ได้หมายความว่าให้ ส่งเสริมผู้นำแบบเผด็จการ แต่ตลอดพันธสัญญาใหม่นั้นสอนให้ผู้เชื่อในชุมชนเคารพต่อสิทธิอำนาจ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและวินัยในคริสตจักร “ผู้นำของท่าน”

2คร. 10:8 ถึงแม้ข้าพเจ้าจะอวดมากไปสักหน่อย ในเรื่องสิทธิอำนาจของเราที่องค์พระผู้เป็นเจ้าประทานให้ไว้เพื่อเสริมสร้าง ไม่ใช่เพื่อทำลายพวกท่าน ข้าพเจ้าก็จะไม่ได้รับความอับอาย

ในพระวจนะตอนนี้ เปาโลไม่ได้อวดสิทธิอำนาจในการเผด็จการ “สิทธิอำนาจ ในการเสริมสร้าง” เป้าหมายเบื้องต้นของคำว่า สิทธิอำนาจ  นั้นคือ เพื่อเสริมสร้าง ไม่ใช่เพื่อการทำลายหรือฉุดลง

คำว่าเผด็จการนั้น หมายถึง การใช้อํานาจบริหารเด็ดขาด เรียกลัทธิหรือแบบการปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดในการบริหารประเทศ เป็การใช้อำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง
อย่าแตะต้องผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมไว้
ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพร
ชาโลม
ktm.emunah

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำเทศนา ความสว่างของโลก


เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2010 ณ คริสตจักรธารพระพร

Pastor Teerasak Preached about "the light of the world"
in Sunday Morning service, on December 12, 2010, @Stream of Blessing church.


วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน


อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน
เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน
1ทธ. 5:19 อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน
1ทธ. 5:20
ส่วนพวกที่ยังคงทำบาปอยู่นั้น จงตักเตือนเขาทั้งหลายต่อหน้าทุกคน เพื่อพวกที่เหลือจะได้เกรงกลัวด้วย


จากบริบทพระวจนะตอนนี้ พระคัมภีร์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้ต่อต้านผู้นำ หรือดื้อดึง หรือการไม่ยอมรับผิด แต่พระเจ้าพระองค์ทรงยุติธรรม ผู้นำหรือผู้ปกครองคริสตจักรจึงอาจใช้สิทธิอำนาจในการพิพากษากล่าวโทษผู้อื่นได้โดยคนคนนั้นไม่มีโอกาสแก้ตัวเลย

แต่พระวจนะกล่าวยืนยันชัดเจนและได้อ้างอิงถึงพระวจนะในพันธสัญญาเดิม ถึงเรื่องพยาน ว่าจะกล่าวหาใครต้องมีพยาน

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่าวินิจฉัยโทษเขา

 อย่าวินิจฉัยโทษเขา

ลก. 6:37 “อย่าวินิจฉัยโทษเขา และท่านทั้งหลายจะไม่ได้ถูกวินิจฉัยโทษ อย่ากล่าวโทษเขา และท่านทั้งหลายจะไม่ถูกกล่าวโทษ จงยกโทษให้เขา และเขาจะยกโทษให้ท่าน

คำว่า “วินิจฉัย” แปลว่า ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, สันนิษฐาน, ตกลงใจ, พิจารณา, สอบสวน, ตัดสิน, ชี้ขาด

เมื่อดูจากความหมายแล้ว คำว่า วินิจฉัยก็ดูไม่ได้รุนแรงอะไรมากมาย แต่ทำไมพระวจนะถึงกำชับว่า อย่า วินิจฉัย แท้จริงหากเราวินิจฉัยโดยพื้นฐานที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อตัวเอง ไม่ใช่โดยวิญญาณแบบฟาริสี ที่คิดว่าตัวเองดีและชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียว และวินิจฉัยแบบไม่มีความเป็นธรรมหรือลำเอียง

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระคุณของพระเจ้าในพันธสัญญาเดิม

พระคุณ ในทานัค
Grace In The TaNaKh

ครั้งหนึ่งในวัยเด็กผมเคยได้ยินคำสอนที่ว่า พระเยซูเปี่ยมไปด้วยพระคุณมากล้น ถ้าทำบาปและกลับใจเราได้รับพระคุณที่จะยกโทษบาปนั้น ถ้าเป็นในพันธสัญญาเดิมนั้นไม่มีพระคุณมีแต่พระเดช และการลงโทษอาจถึงซึ่งความตาย และทำให้ในวัยเด็กนั้นภาพของพระบิดานั้นน่ากลัวยิ่งนัก แต่แท้จริงแล้วความจริงในวันนี้ ไม่ว่าจะในพันธสัญญาใหม่หรือพันธสัญญาเดิม พระยาห์เวห์พระบิดา หรือพระเยซูก็ล้วนแต่ทรงเปี่ยมไปด้วย “พระคุณ” มากล้นเพราะพระองค์คือหนึ่งเดียวกัน พระเจ้าองค์เดียวกัน หาใช่พระคุณและความรัก พระเยซูคงไม่ได้มาบังเกิดในโลกนี้เพื่อรับบาปผิดของเราทั้งหลายไป

ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้วินิจฉัยทรงนำเรา

ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้วินิจฉัยทรงนำเรา

เราทั้งหลายผู้ที่เชื่อในพระเจ้า หลายครั้งพระวจนะเตือนเราเสมอ ความเชื่อคือความแน่ใจ เราอาจจะถูกสอนมาว่า ความสงสัยทำให้ขาดความเชื่อ แต่พระวจนะบันทึกชัดเจนว่า ไม่ใช่เชื่อในทุกสิ่งที่เข้ามา แต่ทุกสิ่งต้องวินิจฉัยถ้าสิ่งนั้นไม่ค้านกับพระวจนะ และเรายังไม่เชื่ออีก ยังลังเลอีก ยังสงสัยอีก โดยเอาบรรทัดฐานอื่นมาที่ไม่ใช่พระวจนะ เช่นความโลภ ความโกรธ ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ หรือแม้แต่ผลประโยชน์ หรืออะไรก็ตามที่ตอบสนองโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สิ่งนั้นต่างหากคือความสงสัย ที่พระวจนะกล่าวเตือน

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิม สำคัญอย่างไร ?

ความสำคัญของธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิม 
สำคัญอย่างไร ? 
พระเยซู คือโทราห์ (ธรรมบัญญัติ) ที่มีชีวิต และมารื้อฟื้นธรรมบัญญัติเดิมของพระบิดา เพื่อให้สำเร็จและไปถึงซึ่งเป้าหมาย พระเยซูมีเป้าหมายเดียวกับพระบิดา ในยอห์น 1:1 พระวาทะคือพระเยซู พระเยซูคือพระวจนะและธรรมบัญญัติที่มีชีวิต พระองค์ปลดปล่อยเราจากกฎแห่งความบาปและความตาย (ธรรมชาติบาป)

ตัวอักษร รูปแบบของธรรมบัญญัติที่เป็นกฎหมาย ไม่สามารถทำให้เราเป็นอิสระได้ (หลายคนชอบยกตัวอย่างฟาริสี ในยุคของพระเยซู) เพราะความอ่อนแอของเนื้อหนังมันได้เปื่อยและได้เน่าเสียไป และมันได้ถูกทำลายในกางเขน

ธรรมชาติใหม่ที่ไม่เน่าและไม่เปื่อย ได้ถือกำเนินขึ้น เพื่อเรา โทราห์ฉบับเดิมในรูปแบบใหม่ เปรียบดั่งเมล็ดพืชที่ได้เน่าไปแล้วใต้ดิน แต่บัดนี้เมล็ดเดิมที่ได้ไปแล้วนั้นได้กำเนิดขึ้นใหม่ (รื้อฟื้น) บัดนี้เราทั้งหลายสามารถรับเอาผ่านทางฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อที่จะตอบสนองความชอบธรรมของโทราห์ คือโทราห์หรือพระวจนะที่มีชีวิต

การตีความและตีการแปลในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของธรรมบัญญัติ จึงทำให้กรอบการคิดของผู้เขียนและภาษาที่แตกต่างกันในความเข้าใจ

เมื่อเรารับผ่านทางพระเยซู พระเยซูไม่ได้มาทำแทน เราเองยังควรดำเนินแต่ผ่านโดยทางพระองค์ ผิดก็คือผิด ล้มก็คือล้ม พลาดคือพลาด พระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เป็นผู้ช่วย ธรรมบัญญัติที่ถูกบรรจุภายในจะนำ จะสอนเรา

พระเยซูทรงเป็นต้นไม้แห่งชีวิต
ชาโลม
ktm.emunah

เชือกผูกขามหาปุโรหิต

เชือกผูกขามหาปุโรหิต

ในสมัยยังเด็กผมยังจำได้เสมอว่า ผมได้ยินคำสอนเรื่อง การที่มหาปุโรหิต ต้องเข้าไปในพระวิหาร โดยมีเชือกผูกที่ข้อเท้า หรือบ้างก็ว่ามีกระดิ่งห้อยไปด้วย เพื่อที่ว่าถ้า มหาปุโรหิตคนนั้น ไม่มีความพร้อม เขาอาจจะตายในระหว่างอยู่ในห้องอภิสุทธิสถาน เพราะการทรงสถิตของพระเจ้า และจะไม่มีใครสามารถเข้าไปนำร่างเขาออกมาได้ วิธีการที่จะนำร่างออกมาได้ก็คือ การสาวเชือกที่ผูกติดกับขาออกมา

ยามใดที่เวลาเนิ่นนานไป คนข้างนอกจะกระตุกเชือก หากไม่มีการตอบสนองนั่นหมายความว่า ได้เสียชีวิตแล้ว

แม้จนบัดนี้เวลาผ่านมา 20 กว่าปี ผมก็ยังนั่งฟังคำสอนนี้อยู่
แท้จริงเรื่องเชือกที่ผูกที่ขามหาปุโนหิต ที่จะเข้าไปในพระวิหาร ปีละครั้งในเทศกาล ลบมลทินบาป เป็นเพียงตำนาน และมีจุดที่คลุมเครือในยุคกลาง และมันไม่สามารถค้นพบได้ในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะฉบับเดดซี หรือ ทัลมุด ตำนานในยุคกลางนี้อาจจะปรากฏอยู่ใน Zohar ซึ่งยังไม่เป็นที่เชื่อถือมากนัก ประเพณีนี้ถูกอธิบายไว้ในฉบับ NIV ว่า “ทดสอบด้วยการดึงเชือกเบาๆ” แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้บันทึกว่า จะลากร่างของมหาปุโรหิตออกมา

เพราะในความเป็นจริงของสภาพห้องต่างๆ กว่าจะไปถึงอภิสุทธิสถาน รวมถึงม่านกั้นขวางเป็นชั้นๆต่างๆ ทางกายภาพก็เป็นการยากที่จะลากสิ่งใดออกมาได้ (เหมือนลากสายยางรดน้ำต้นไม้ แค่ติดอะไรเพียงนิดเดียวก็ต้องเดินไปแก้)

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น

จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น

1ธส. 5:19 อย่าขัดขวางพระวิญญาณ
1ธส. 5:20 อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
1ธส. 5:21 จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น
1ธส. 5:22 จงเว้นเสียจากสิ่งที่ชั่วทุกอย่าง


“ทดสอบทุกสิ่ง” การยอมรับคำเผยพระวจนะ ไม่ได้หมายความว่าใครก็ตามที่อ้างว่าพูดในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า แล้วจะต้องเป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขา เปาโลไม่ได้บอกว่าต้องทดสอบอย่างไร แต่เขาบอกชัดเจนว่าทุกคำสอนต้องถูกทดสอบ และแน่นอนว่าคำสอนนั้นต้องสอดคล้องกับข่าวประเสริฐ

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ที่อุดรไกล

ที่อุดรไกล
อสย. 14:13 เจ้ารำพึงในใจของเจ้าว่า ‘ข้าจะขึ้นไปยังฟ้าสวรรค์ เหนือดวงดาวทั้งหลายของพระเจ้า ข้าจะตั้งพระที่นั่งของข้า ณ ที่สูงนั้น ข้าจะนั่งบนขุนเขาชุมนุมสถาน ณ ที่อุดรไกล
คำว่า ณ ที่อุดรไกล อาจจะหมายถึง (ทางเหนือ) หรือหมายถึง สวรรค์ชั้นที่สาม (Third heaven) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้า เรื่องสวรรค์ทั้งสามชั้นพระคัมภีร์อาจจะไม่ได้แบ่งแยกให้เราเห็นอย่างชัดเจนแต่เราก็ สังเกตได้ในพระคัมภีร์
-    สวรรค์ชั้นที่หนึ่ง มักกล่าวถึงบ่อยๆในพันธสัญญาเดิมว่าเป็น “ท้องฟ้า” หรือ “นภากาศ” นี่คือสวรรค์ที่เต็มไปด้วยก้อนเมฆ ชั้นอากาศที่นกบินร่อนไปทั่ว
-    สวรรค์ชั้นที่สอง อยู่ระหว่างดวงดาว / อวกาศชั้นนอก ซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงดาว ดาวเคราะห์ต่างๆและวัตถุต่างๆในสวรรค์
-    สวรรค์ชั้นที่สาม สถานที่ซึ่งไม่เปิดเผย เป็นที่ประทับของพระเจ้า พรเยซูทรงสัญญาว่าทรงจัดเตรียมที่ในสวรรค์สำหรับคริสเตียนแท้
อสย. 14:14 ข้าจะขึ้นไปเหนือความสูงของเมฆ ข้าจะทำให้ตัวของข้าเองเหมือนองค์ผู้สูงสุด’
ในฉบับอธิบาย ผู้ที่ร่วงหล่นจากฟ้าสวรรค์ที่ถูกกล่าวถึงในพระธรรมตอนนี้ ถูกตีความไว้หลายอย่างนอกจากข้างต้นที่กล่าวไป
ประเด็นแรก คือซาตาน เพราะมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์อื่นๆ ที่เป็นเพียงมนุษย์ แม้บรินี้จะมีความหมายตรงกับซาตาน แต่ส่วนที่เหลือในข้อต่อๆไปในบทที่ 14 นี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับซาตานเลย
ประเด็นที่สอง บริบทนี้อาจจะเป็น เซนนาเคอริบ หรือเนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์ที่เรืองอำนาจ และได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้า และต้องการจะครองโลก
ประเด็นที่สาม อาจจะหมายถึง ทั้งสองอย่าง คือทั้งซาตานและกษัตริย์ หรือเนบูคัดเนสซาร์ เพราะบาบิโลนในยุคนั้นถูกเปรียบเทียบว่าเป็นที่นั่งของความชั่วร้ายในพระธรรมวิวรณ์ (17,18) ความเย่อหยิ่งเป็นความบาปของซาตานเช่นเดียวกับ บาบิโลนในช่วงเวลานั้น
แม้จะมีมุมมองที่แตกต่างกันถึงสามมุมมอง แต่ความเป็นจริงที่เหมือนกันเพียงอย่างเดียวก็คือ ความเย่อหยิ่งที่เป็นการจงใจต่อต้านพระเจ้าและทำให้เกิดการพิพากษา
อิสราเอลก็ก้าวผิดพลาดไปเพราะว่าความหยิ่งและทิ้งพระเจ้าไป

วิญญาณเยเซเบล หรือวิญญาณควบคุม

วิญญาณเยเซเบล หรือวิญญาณควบคุม

เยเซเบลนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหญิงที่ชั่วร้าย (ตามคำแปลก็แปลว่า หญิงชั่วร้าย) ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้บันทึกไว้ ว่า เธอเป็นภรรยาของอาหับ

(1 พกษ. 16:30–31) ซึ่งอาหับนั้นเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งของอิสราเอล ในสมัยเดียวกันกับเอลียาห์ผู้เผยพระวจนะ

1พกษ. 16:31 และต่อมา ดูเหมือนว่า การที่พระองค์ทรงดำเนินตามบาปของเยโรโบอัมบุตรเนบัทนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อย พระองค์จึงทรงรับเยเซเบลพระราชธิดาของเอ็ทบาอัลพระราชาของชาวไซดอนมาเป็นมเหสี และไปปรนนิบัติพระบาอัล และนมัสการพระนั้น

ทูตสวรรค์ไม่ใช่ทาส

ทูตสวรรค์ไม่ใช่ทาส

ในพระวจนะเราจะเห็นการปรากฏและเรื่องราวการบันทึกของทูตสวรรค์บ่อยครั้งมาก เรามีมุมมองต่อทูตสวรรค์อย่างไร บางมุมก็มีการยกย่องทูตสวรรค์จนเป็นพระเจ้า เป็นเทพเจ้า บางมุมทูตสวรรค์ก็เป็นผู้คอยช่วยเราที่พระเจ้าส่งมา แต่บางมุมมองก็มองทูตสวรรค์เป็นทาสใช้งานที่เป็นทาสรอการสั่งการด้วยคำอธิษฐาน

มุมมองเช่นนี้เป็นมุมมองที่เชื่อว่า ผู้เชื่อเป็นบุตรของพระเจ้า และทูตสวรรค์เป็นทาสของพระเจ้า ไร้จิตวิญญาณ เป็นหุ่นยนต์ และก็เป็นทาสผู้เชื่อในฐานะบุตรของพระเจ้าด้วย
การเรียกใช้ทูตสวรรค์เป็นข้ารับใช้ หรือเป็นทาส ที่มาปรนนิบัติ รับใช้ มุมมองเช่นนี้จึงขัดกับพระวจนะและเป็นมุมมองที่เย่อหยิ่ง

ที่อุดรไกล

ที่อุดรไกล
อสย. 14:13 เจ้ารำพึงในใจของเจ้าว่า ‘ข้าจะขึ้นไปยังฟ้าสวรรค์ เหนือดวงดาวทั้งหลายของพระเจ้า ข้าจะตั้งพระที่นั่งของข้า ณ ที่สูงนั้น ข้าจะนั่งบนขุนเขาชุมนุมสถาน ณ ที่อุดรไกล

คำว่า ณ ที่อุดรไกล อาจจะหมายถึง (ทางเหนือ) หรือหมายถึง สวรรค์ชั้นที่สาม (Third heaven) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้า เรื่องสวรรค์ทั้งสามชั้นพระคัมภีร์อาจจะไม่ได้แบ่งแยกให้เราเห็นอย่างชัดเจนแต่เราก็ สังเกตได้ในพระคัมภีร์

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้

อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้

สดด. 105:15 “อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้ อย่าทำอันตรายผู้เผยพระวจนะของเรา”
1พศด. 16:22 ว่า “อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้ อย่าทำอันตรายผู้เผยพระวจนะของเรา”


ในพันธสัญญาใหม่ บรรดาผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ คือ ประชาชาตินั่นก็คือประชาชนที่เป็นบบดาประชากรทุกๆคน

สมมุติมีสมาชิกพูดไม่ดีกับผู้นำ ผู้นำจะบอกว่าอย่าแตะต้องผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมตั้งไว้ (ไม่ใช่การพูดไม่ดีกับผู้นำเป็นสิ่งที่ดี) แต่เมื่อผู้นำพูดไม่ดีเรื่องสมาชิกนั่นก็เท่ากับว่าเป็นการแตะต้องผู้นำด้วย หรือการที่ผู้นำออกไปทำลายชื่อเสียงของผู้ที่ออกจากโบสถ์ไป ผู้นำคนนั้นกำลังแตะต้องผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมไว้

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง
รม. 13:1 ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น
รม. 13:2 เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ

ในตอนแรกของข้อ 1 พระวจนะกล่าวว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง” ผู้มีอำนาจปกครองในที่นี้ไม่ใช่ ศิษยาภิบาล หรือ คณะผู้ปกครองในคริสตจักร แต่หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง

“ผู้มีอำนาจปกครอง” หมายถึงผู้ปกครองบ้านเมือง อาจจะเป็นคนต่างชาติในสมัยของอาจารย์เปาโล ผู้เชื่อที่เป็นคริสเตียนอาจจะถูกชักจูงและล่อลวงให้กบฏต่อ ผู้ปกครองบ้านเมือง หรือรัฐบาล และอ้างว่าเพราะจงรักภักดีต่อพระเยซู
“แต่งตั้งโดยพระเจ้า” เพราะเหตุนี้เองแม้ผู้เชื่อคริสเตียนจะถูกข่มเหง อาจารย์เปาโลก็ยังตระหนักว่า ผู้ปกครองบ้านเมืองหรือรัฐบาล ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า

ของประทานสังเกตวิญญาณ

ของประทานสังเกตวิญญาณ

1คร. 12:8 พระเจ้าประทานโดยทางพระวิญญาณ ให้คนหนึ่งมีถ้อยคำของปัญญา และให้อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำของความรู้ โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน
1คร. 12:9 และให้อีกคนหนึ่งมีความเชื่อ โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน ให้อีกคนหนึ่งมีของประทานในการรักษาโรค โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน
1คร. 12:10 ให้อีกคนหนึ่งทำการด้วยฤทธานุภาพ ให้อีกคนหนึ่งเผยพระวจนะ ให้อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ ให้อีกคนหนึ่งพูดภาษาแปลกๆ และให้อีกคนหนึ่งแปลภาษานั้นๆ ได้


ของประทานการสังเกตวิญญาณมักไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไรนัก เราอาจจะรู้จักแต่ของประทาน การพูดภาษาแปลกๆ และการเผยพระวจนะ โดยเฉพาะการเผยพระวจนะ จะเป็นจุดสนใจและจดจ่อรอคอยว่าคำเผยจะเป็นอย่างไร

อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ

อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
 

1ธส. 5:19 อย่าขัดขวาง (อย่าดับ) พระวิญญาณ
1ธส. 5:20 อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
1ธส. 5:21 จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น


1ยน. 4:1 ท่านที่รักทั้งหลาย อย่าเชื่อทุกๆ วิญญาณ แต่จงพิสูจน์วิญญาณนั้นๆ ว่ามาจากพระเจ้าหรือไม่ เพราะว่ามีผู้เผยพระวจนะเท็จจำนวนมากได้ออกมาในโลก
1ยน. 4:2 พวกท่านก็จะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้าโดยข้อนี้ คือวิญญาณทุกดวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า
1ยน. 4:3 และวิญญาณทุกดวงที่ไม่ยอมรับพระเยซู วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า วิญญาณนั้นแหละเป็นศัตรูของพระคริสต์ ซึ่งพวกท่านได้ยินว่าจะมา และขณะนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

รม. 13:1 ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น
รม. 13:2 เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ


ในตอนแรกของข้อ 1 พระวจนะกล่าวว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง” ผู้มีอำนาจปกครองในที่นี้ไม่ใช่ ศิษยาภิบาล หรือ คณะผู้ปกครองในคริสตจักร แต่หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง

หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์

หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์

มธ. 12:31 เพราะเหตุนี้เราบอกพวกท่านว่า บาปและคำหมิ่นประมาททุกอย่างจะโปรดอภัยให้มนุษย์ได้ เว้นแต่คำหมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์จะโปรดอภัยให้มนุษย์ไม่ได้
มธ. 12:32 ถ้าใครกล่าวร้ายบุตรมนุษย์ จะโปรดอภัยให้คนนั้นได้ แต่ถ้าใครกล่าวร้ายพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะโปรดอภัยให้คนนั้นไม่ได้ ทั้งยุคนี้ยุคหน้า

มก. 3:28
“เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า บาปทุกอย่างและคำหมิ่นประมาทที่เขากล่าวนั้น จะทรงอภัยให้มนุษย์ได้
มก. 3:29 แต่ใครกล่าวคำหมิ่นประมาทต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะทรงอภัยให้คนนั้นไม่ได้ตลอดไป แต่คนนั้นจะมีโทษของบาปชั่วนิรันดร์”
มก. 3:30 การที่ตรัสอย่างนั้นก็เพราะพวกเขากล่าวว่า พระองค์มีผีโสโครกเข้าสิง

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

สดด. 149:1 สรรเสริญพระยาห์เวห์ จงร้องเพลงบทใหม่ถวายพระยาห์เวห์ ร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ในที่ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

คำว่า จงรักภักดี ในพจนานุกรม หมายถึง ภักดี,จงรัก,สวามิภักดิ์
ในบางฉบับ แปลว่า ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง
(ซึ่งเป็นบริบทต่อพระยาห์เวห์)

ส่วนคำว่า จงสรรเสริญพระยาห์เวห์ ในฉบับฮีบรูใช้คำว่า HalleluYah, Hallel
Hallel  ใช้ในการเฉลิมฉลอง สรรเสริญพระเจ้า เหมือนดูกีฬา และรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ คานี้เป็นรากศัพท์ของคาว่า “ฮาเลลูยา” hallelujah ซึ่งแปลว่าสรรเสริญพระยาห์เวห์  1984 halal (haw-lal')

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัจจะจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท

 สัจจะจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท

ยน. 8:32 และท่านทั้งหลายจะรู้จักสัจจะ และสัจจะจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท

เมื่อเราเชื่อในพระเยซู เราก็เชื่อด้วยว่าชีวิตทั้งฝ่ายกายและวิญญาณของเรานั้นจะเป็นไท จะอะไรก็ถามที่มันถ่วงชีวิตของเราอยู่ พระเยซูได้ทรงกระทำแล้ว
ในฉบับ KJV บันทึกว่า ยน. 8:32 และท่านทั้งหลายจะรู้จักความจริง และความจริงนั้นจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไทย"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คนไร้สามัญสำนึกก็เหยียดหยามเพื่อนบ้าน

คนไร้สามัญสำนึกก็เหยียดหยามเพื่อนบ้าน
 
สภษ. 11:12 คนที่ดูหมิ่นเพื่อนบ้านของตนย่อมไม่มีสามัญสำนึก แต่คนที่มีความเข้าใจก็นิ่งเงียบ (THSV)

ในสำนวน NIV บันทึกว่า “คนไร้สามัญสำนึกก็เหยียดหยามเพื่อนบ้าน ส่วนคนที่มีความเข้าใจย่อมสงบปากสงบคำ”

TKJV “บุคคลที่ขาดสติปัญญาย่อมเหยียดเพื่อนบ้านของตน แต่คนที่มีความเข้าใจก็ยังนิ่งอยู่”

ใครคือเพื่อนบ้าน เราทั้งหลายเป็นพี่น้องและเพื่อนบ้านกัน ในฉบับอธิบายได้ให้ความขยายความว่า “เหยียดหยามเพื่อนบ้าน” คือ แสดงการดูหมิ่นอย่างเปิดเผย นั่นหมายถึงอาจจะต่อสาธารณะชน พระวจนะในสุภาษิตสอนผู้เชื่ออย่างมากในการพูด ว่าให้ระมัดระวังในการพูด

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระองค์ผู้ทรงปลูกหู

พระองค์ผู้ทรงปลูกหู
 
 
สดด. 94:9 พระองค์ผู้ทรงปลูกหู พระองค์จะไม่ทรงได้ยินหรือ พระองค์ผู้ทรงปั้นตา พระองค์จะไม่ทรงเห็นหรือ

ในสดุดี ตอนนี้พระองค์ผู้ทรงปลูกหู เป็นอุปมาในสำนวนฮีบรู มีความหมายว่า “สร้าง” หรือ ก่อให้เกิดขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น

สดด. 94:9 พระองค์ผู้ทรงสร้างหูให้เกิดขึ้น พระองค์จะไม่ทรงได้ยินหรือ พระองค์ผู้ทรงสร้างตา พระองค์จะไม่ทรงเห็นหรือ

ปลูก = สร้าง
สดุดี 94.9 planted = created (metaphor) อุปมา

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพร
ชาโลม
ktm.shachah

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระวิญญาณแห่งความยำเกรงพระยาห์เวห์

พระวิญญาณแห่งความยำเกรงพระยาห์เวห์

อสย. 11:2 และพระวิญญาณของพระยาห์เวห์จะทรงอยู่บนท่าน คือพระวิญญาณแห่งปัญญาและความเข้าใจ พระวิญญาณแห่งคำปรึกษาและอานุภาพ พระวิญญาณแห่งความรู้และความยำเกรงพระยาห์เวห์

Ruach of fear of Yahweh พระวิญญาณแห่งความยำเกรง
แท้จริงคำว่า “fear” แปลว่า “กลัว หรือ ความเกรงกลัว” ในบริบทนี้ไม่ใช่ความกลัวที่นำเราเข้าไปสู่ความเป็นทาส หรือกลัวแล้วจะถูกควบคุม หรือเป็นความกลัวในเชิงลบ แต่หากเป็นบริบทความกลัวของคนฮีบรูที่ หมายถึง “การยอมจำนน” เรากลัวพระยาห์เวห์ เพื่อนำไปสู่ การยอมจำนนถึง ความยำเกรง