วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระเยซูทรงตรัสกับเปโตร (เจ้ารักเราหรือ)

พระเยซูทรงตรัสกับเปโตร
(เจ้ารักเราหรือ)
 

ยน. 21:15 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเรามากกว่าพวกนี้หรือ?” เขาทูลพระองค์ว่า “ใช่ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์” พระองค์ตรัสสั่งเขาว่า “จงเลี้ยงดูลูกแกะของเราเถิด”

ยน. 21:16 พระองค์ตรัสกับเขาครั้งที่สองว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเราหรือ?” เขาทูลตอบพระองค์ว่า “ใช่ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแลแกะของเราเถิด”

ยน. 21:17 พระองค์ตรัสกับเขาครั้งที่สามว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเราหรือ?” เปโตรเสียใจมากที่พระองค์ตรัสถามเขาครั้งที่สามว่า “ท่านรักเราหรือ?” เขาจึงทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบทุกสิ่ง พระองค์ทรงรู้ดีว่าข้าพระองค์รักพระองค์” พระเยซูตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด อ่านต่อ <<<
จากพระวจนะตอนนี้มีหลายบทความที่เขียนในมุมที่แตกต่างกันไป บางครั้งมีการอ้างอิงถึง ภาษากรีกในมุมของความรัก ผมขอยกตัวอย่างบางส่วนมา เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการแบ่งปัน

ในภาษากรีก มีอยู่ด้วยกันใหญ่ๆ 4 คำ

-    อากาเป้ Agape หมายถึง รักแบบอุทิศตัว รักที่ไม่มีเงื่อนไข ความรักของพระเจ้าที่ให้เราผ่านทางพระเยซู มีความหมายลึกที่สุดและหาที่เปรียบไม่ได้
ภาษาฮีบรู Ahava
กท. 5:22 ส่วนผลของพระวิญญาณนั้น คือความรัก ความยินดี สันติสุข ความอดทน ความกรุณา ความดี ความซื่อสัตย์

-    ฟีเล Philia หมายถึง รักแบบพี่น้อง หรือเพื่อน
ภาษาฮีบรู RAYA หมายถึงเพื่อนที่ดีที่สุด หรือสหาย (Achava คล้ายกัน )

-    อีรอส Eros หมายถึง รักแบบหนุ่มสาว
ภาษาฮีบรู DOD     ความรัก

-    สตอร์เก Storge หมายถึง รักทั่วๆไป รักของคนในครอบครัว

1.    พระเยซูถามเปโตรว่า เจ้ารัก (อากาเป้) เราหรือ ?
แต่เปโตรตอบว่า ข้ารัก (ฟีเล) พระองค์

2.    พระเยซูถามเปโตรครั้งที่สองด้วยคำถามเดิมคือ ว่า เจ้ารัก (อากาเป้) เราหรือ ?
ซึ่งเป็นการย้ำในคำถามให้เปโตร ทบทวนอีกครั้ง แต่
เปโตรยังตอบเหมือนเดิมว่า ข้ารัก (ฟีเล) พระองค์

3.    พระเยซูจึงตรัสถามเปโตรเป็นครั้งที่สามว่า เจ้ารัก (ฟีเล) เราหรือ ?
เปโตรก็ทุกข์ใจที่พระองค์ตรัสถาม เขาถึง 3 ครั้ง

เมื่อทบทวนแล้ว เปโตรจึงตอบว่า ข้าพระองค์รัก (อากาเป้) พระองค์
อากาเป้ คือรักแบบอุทิศตัว สาวกคือการอุทิศตัว การร่วมเป็นร่วมตาย

รัก (ฟีเล) ที่เปโตร บอกรักพระเยซู ไม่ดีตรงไหน ?
-    พระองค์ให้เรารักพระองค์แบบ อากาเป้ ด้วยสุดจิต สุดใจ และสุด กำลังของท่าน
-    รักแบบ ฟีเล ไม่มีการอุทิศตัว ไม่ใช่ความรักพันธสัญญา และพร้อมจะปฏิเสธ
และมีแนวโน้มที่จะเอาตัวรอด

-    ความรักที่ไม่ใช่ อากาเป้ ไม่พอที่เราจะดำเนินไปในงานใหญ่ๆหรือพันธกิจ
ถ้าเราไม่ได้รักพระองค์แบบ สุดจิต สุดใจ และสุด กำลังของท่าน

ที่กล่าวมาเป็นเพียงเกริ่นนำถึงมุมมองในด้านภาษากรีกกันนะครับ ผมเพียงนำมาแบ่งปันกัน เป็นข้อมูลความรู้ แต่ สำหรับผมแล้วทุกบทความล้วนเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมเชื่อว่าพระเยซูคงไม่ตรัสอะไรที่ซับซ้อน กับคนแบบเปโตร ไม่ใช่พระองค์ดูถูกความรู้ของเปโตรนะครับ แต่มันอาจจะซับซ้อนในเรื่องของภาษามากไปไหม ? และพระเยซูตรัสกับเปโตร เป็นภาษากรีกหรือ
ในมุมมองอีกมุมมองที่ผมอยากนำแบ่งปันคือ ถ้าเรายังจำได้ในตอนที่เปโตรปฏิเสธพระเยซูก่อนหน้านี้ ที่พระเยซูตรัสไว้ใน ยอห์น 18, มัทธิว 26:69-70,  มาระโก 14:66-68, ลูกา 22:55-57

ในมัทธิว บันทึกว่า มธ. 26:75 เปโตรจึงระลึกถึงคำที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “ก่อนไก่ขันท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง” แล้วเปโตรก็ออกไปข้างนอกร้องไห้เป็นทุกข์อย่างมาก

เวลานี้เปโตรคิดได้และเสียใจอย่างมาก บางฉบับใช้คำว่า เขาร้องไห้อย่าง “ขมขื่น” สิ่งที่เขาทำมันเสียดแทงใจของเขา เขาบาดเจ็บจากสิ่งที่เขาได้ปฏิเสธพระเยซู เพราะเปโตรรักพระเยซูมาก ในภาษาฮีบรู รักคำนี้คือคำว่า “Ahavah”

Ahavah อาฮาวา จึงหมายถึง Ahava - Love (אהבה) การให้และการปกป้อง ความใกล้ชิด
ร่วมคือร่วมเป็นร่วมตาย ผูกพัน เป็นความรักที่ตายแทนกันได้

ความรัก อาฮาวา คือ การตัดสินใจ เป็นลักษณะของความรักที่เกิดขึ้นโดยการตัดสินใจ ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก

อาฮาวา เป็นความรักที่สำคัญและใหญ่ที่สุดกว่าความรักใดๆ คือความรักที่เสียสละ
และเมื่อเรารักพระองค์ แบบ อาฮาวา เราจะมีการอุทิศตัว

สาวกในภาษาฮีบรู talmidim תלמידם (talmid) เป็นสาวกอย่างแท้จริงตามแบบของพระเยซู
คือการใช้ชีวิตร่วมกับอาจารย์  บาง ครั้งใช้คำว่า “ผู้เรียนรู้” เรียนรู้ทุกอย่างจากอาจารย์ ปฏิบัติตามอาจารย์ ทั้งชีวิตและคำแนะนำ เป็นภาพของ การเดินตามรอยเท้าของพระเยซู รอยเท้าที่พระองค์เดินนำหน้าเรา

ดังนั้นการที่พระเยซูถาม เปโตร ในยอห์น 21 นั้นว่าเจ้ารักเราหรือ มันเป็นการที่พระเยซูต้องการเยียวยา หรือบำบัดภายใน ความขมขื่นใจ และความรู้สึกผิดที่มันฝังอยู่ภายในให้กับเปโตร พระเยซูไม่ได้เรียกร้องความรัก หรือพระองค์ไม่มั่นใจในความรักของเปโตร แต่เปโตรเคยปฏิเสธพระองค์และเขายังรู้สึกผิดอยู่ พระเยซูไม่ได้เริ่มต้นด้วยการที่บอกว่า พระองค์ยกโทษให้เปโตร แต่พระองค์ถามเพื่อให้เปโตรกล่าวออกมาถึงความรักที่มีต่อพระองค์ ทั้งที่ก่อนนี้ เปโตรเสียใจอย่างมากที่ไม่มีโอกาสได้บอกและขอโทษหรือขออภัยจากพระองค์ เพราะตอนนั้นพระเยซูได้กำลังนำไปถูกตรึง และเปโตรมีความกลัวอย่างที่สุดจึงได้ปฏิเสธ แม้เปโตรสำนึกได้ แต่ก็รู้สึกผิด กล่าวโทษตัวเองและขมขื่นใจอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว นี่เป็นโอกาสของเปโตร !

พระองค์ยังกำชับให้เปโตรว่า จงเลี้ยงดูลูกแกะของเรา(lambs) จงเลี้ยงดูแกะของเรา(sheep) และจงเลี้ยงดูแม่แกะ(ewes) ในบริบทนี้มีความเป็นไปได้คือ ลูกแกะ คือสาวกใหม่ผู้เชื่อใหม่ จงเลี้ยงดูเขา และแกะ คือผู้ที่เติบโตแล้วแต่ยังต้องการผู้นำ ส่วนแม่แกะคือผู้ที่จะสร้างคนต่อไป จงเลี้ยงดูคนเหล่านี้ ทำไมต้องเลี้ยงดูแม้แต่ผู้ที่เติบโตแล้วคือ แกะและแม่แกะ ก็เพราะว่าในบริบทนี้ เปโตร คืออัครทูต ที่จะวางรากฐาน และมีข้อมูลที่อ้างอิงว่า คนอย่างเปโตรนี้แหละเป็นอัครทูตที่ใหญ่ที่สุดโดยตำแหน่ง และทั้งการเจิม ดังนั้นพระเยซูถึงบอกว่า จงเลี้ยงดู แกะ คือผู้ที่เติบโตแล้ว แม่แกะคือผู้ที่จะสร้างคนต่อไป นั้นคือผู้ที่เห็นพิมพ์เขียวของพระเจ้าและเป็นผู้วางรากฐานกับผู้นำอีกทีหนึ่งด้วย

วันนี้เราอาจจะเคยปฏิเสธพระองค์ ในมุมต่างๆที่อาจจะต่างกับเปโตร การทำสิ่งใดที่เรารู้ว่าพระองค์ไม่พอพระทัยแต่เราก็ยังทำ วันนี้พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์เป็นพระเจ้าที่ยังมีชีวิต ถ้าหากเราเสียใจกับการกระทำของเรา อย่ามัวแต่โทษตัวเอง ถ้าท่านกลับใจอย่างแท้จริงอย่างจมอยู่กับความกลัว และความชมขื่น วันนี้พระองค์ยังให้โอกาสเราเสมอ ถ้าวันนี้หรือตอนนี้คุณได้ยินเสียงที่ถามคุณว่า “เจ้ารักเราหรือ” เราจะตอบพระองค์เช่นไร ?

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพรท่าน
ชาโลม
Ktm.Shachah

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอคำแนะนำครับ ครั้งที่สาม พระเยซูถามด้วย ฟิเลโอ เปโตรก็ตอบ ฟิเลโอ พระเยซู หมายความว่า อย่างไรครับ

    ตอบลบ