ชุมชนพระเมสสิยาห์ Kahal
คำว่า Ecclesia เป็นคำหนึ่งในภาษากรีกที่เห็นได้ทั่วไปในพระคัมภีร์ มักจะแปลคำนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Church แต่มีบางฉบับที่ใช้คำว่า Messianic Community = ชุมชน พระเมสสิยาห์ ประเด็นที่จะชี้กล่าวต่อไปนี้คือ Ecclesia จะแปลเป็นภาษาไทยว่ากระไรดี ?
แท้จริงแล้วคำว่า คริสตจักร ไม่ได้หมายถึงตัวอาคารที่เป็นตึกเป็นปูน แต่หมายถึงผู้เชื่อที่มารวมตัวกัน มาอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่อาคารหรือตึก แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจในการสื่อสารเราก็เลยเรียก ตึกและอาคารว่า คริสตจักรด้วย คริสตจักรจึงหมายถึง ประชากรหรือชุมชนของพระเจ้า
คำว่า "โบสถ์" ที่จริงมาจากคำว่า "Kirch" "Kirche" "โบสถ์" หรือ “คริสตจักร” ที่มาจากคำว่า “Church” แท้จริงมาจากพวกนอกรีต" เทววิทยาทดแทนที่ได้รับรอบหลายร้อยปีเป็นสาเหตุของความเข้าใจผิดจากคำว่า "โบสถ์" ที่ใช้บ่อยในโลกที่นับถือศาสนาคริสต์ในวันนี้
ส่วนใหญ่คริสเตียนทั่วโลกแทบจะเรียกที่ที่เราไปชุมนุมกันว่า ไปโบสถ์ หรือคริสตจักรเสมอ ภาษากรีกคำว่า "Ekklesia” ภาษาอังกฤษ นี้เป็นข้อผิดพลาดในการแปล, ภาษากรีกคำว่า" Ekklesia " ในภาษาฮีบรูคำๆนี้ควรจะแปลว่า "Congregation” การชุมนุม “Assembly” กลุ่มคน คนที่รวมตัวกัน
คำว่า Qahal หมายถึง การที่ประชากรของพระเจ้ามาชุมนุมกัน
แต่ คริสตจักรสมัยแรกไม่ได้ประชุมที่ตัวอาคาร หากแต่อาศัยการประชุมตามบ้านเป็นหลัก ดังนั้นคำว่า คริสจักรของผู้เชื่อในยุคแรกนั้นจะหมายถึง ชุมนุมชน หรือการที่ผู้เชื่อมารวมตัวกัน ไม่ได้หมายถึงตัวอาคารแต่อย่างใด
(มธ.16:18) เราบอกท่านว่าท่านคือเปโตร และบนศิลานี้ เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรไม่ได้
นี้เป็นคำพูดที่พระเยซูได้กล่าวถึงคำว่า คริสตจักร ซึ่งที่ผู้เขียนยกมาเป็นฉบับการแปลของสมาคมพระคริสตธรรมปี2011
แต่มาดูต้นฉบับกัน หนังสือมัทธิวเขียนด้วยภาษากรีก ต้นฉบับจึงเป็นภาษากรีก
(มธ.16:18)
มธ. 16:18 เราบอกท่านว่าท่านคือเปโตร และบนศิลานี้ เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรไม่ได้
καγω δε σοι λεγω οτι συ ει πετρος και επι ταυτη τη πετρα οικοδομησω μου την εκκλησιαν και πυλαι αδου ου κατισχυσουσιν αυτης
ในภาษากรีัก พระเยซูพูดคำว่า εκκλησιαν หรือ Ecclesia นั้นเอง
หนังสือมัทธิวถูกบันทึกเป็นภาษากรีก เนื่องจากภาษากรีกเป็นภาษาสากลที่ใช้กันในสมัยนั้น พระคัมภีร์ที่เขียนในสมัยนั้นจึงเป็นภาษากรีก เพื่อคนส่วนใหญ่ในช่วงเวลายุคนั้น แต่ล่าสุดประมาณปี 2006 ได้มีการค้นพบหนังสือม้วน ใหม่ที่คาดว่าเขียนโดยบรรดาอัครทูตเป็นภาษาอารเมค (ยังเป็นที่ถกถียงกัน)
ถ้าพระเยซูเป็นชาวยิว พระองค์อยู่ในดินแดนอิสราเอล ในการดำเนินชีวิตนั้น พระเยซูพูดและตรัสเป็นภาษาฮีบรูหรือภาษาอาราเมก ภาษากรีกของพระคัมภีร์โบราณที่ค้นพบก่อนนี้จึงเป็นมาตรฐานและแปลมาเป็นฮีบรู ซึ่งในวัฒนธรรม ในบริบท และสำนวนก็อาจจะมีการบิดเบือนบ้าง คำว่า Ecclesia ซึ่งเป็นภาษากรีก ให้เรามาดูในภาษาฮีบรูกัน
אֲסַפְּרָ֣ה שִׁמְךָ֣ לְאֶחָ֑י בְּת֖וֹךְ קָהָ֣ל אֲהַלְלֶֽךָּ
ในภาษาฮีบรูคำว่า Ecclesia คือคำว่า קָהָ֣ל หรือ Kahal
ดังนั้นแท้จริงแล้ว ใน (มธ.16:18) พระองค์อาจไม่ได้พูดคำว่า Ecclesia แต่พูดคำว่า Kahal ต่างหาก เพราะคำว่า Ecclesia แท้จริงไม่ได้แปลว่าคริสตจักรหรือชุมชนเพราะเมสสิยาห์เท่านั้น แต่แปลได้ว่า ชุมชนทั่วไป อะไรก็ได้
มธ. 16:18 And I say also to you, That you are Kepha, and upon this Rock I will restore My congregation as a Bayit of tefillah; and the gates of Gei-Hinnom shall not prevail against it.
คำว่า Kahal จึงแปลมุมกว้างๆ ว่าการชุมนุม หรือการรวมตัวกัน (ของผู้เชื่อในพระเมสสิยาห์)
พระคัมภีร์ที่ถูกเขียนและบันทึกขึ้นก่อนพระเยซูจะมานั้น คือ ภาษาฮีบรู เราจะเจอคำว่า Kahal ซึ่งมักจะแปลเป็นคำว่า Congregation หรือ ชุนนุมชน
แต่พระคัมภีร์ยุคหลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และหลังจากนั้นที่มีการบันทึก เราจะเจอคำว่า Ecclesia แทนคำว่า Kahal แต่แท้จริงแล้วจุดประสงค์ Ecclesia จะมีความหมายเท่ากับ Kahal หรือกล่าวได้ว่า Ecclesia = Kahal ดังนั้นเมื่อเจอคำว่า Ecclesia จึงควรจะแปลว่า Congregation หรือ ชุนนุมชน แต่ที่เราคุ้นเคยกันเราจะเจอ Ecclesia แปล Ecclesia เป็น Church หรือ คริสตจักร
Kahal จึงหมายถึง ชุมชนของพระเจ้า หรือครัวเรือนของพระองค์ และเป็นตัวแทนสิทธิ์อำนาจของพระยาห์เวห์ ในคริสตจักรยุคแรกจะถูกเรียกว่า เป็นชุมชนของพระเมสสิยาห์ เมื่อ โดยมีการปกครองที่ต้องเป็นไปตามแบบแผนที่พระองค์วางไว้ มีพระยาห์เวห์เป็นบิดาของทุกคน มีพระเยซูคริสต์ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือ ชุมชนของพระองค์
พระองค์ใช้คำศัพท์เดิมที่มีอยู่พันธสัญญาเดิมอยู่แล้ว (พระองค์ใช้คำว่า Kahal ที่แปลว่า ชุมนุมชน) คือ อิสราเอลฝ่ายวิญญาณ หรือชนชาติของพระเจ้าในฝ่ายวิญญาณ(โดยพระคุณของพระองค์ผ่านทางความเชื่อ)
ขอพระเจ้าอวยพระพร
ชาโลม
Ktm.shachah
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น