วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลอยู่เพิง

เทศกาลอยู่เพิง
 เทศกาล อยู่เพิงเป็นเทศกาลสุดท้ายในเทศกาลเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฎใน พระคัมภีร์ และเป็นเทศกาลสำคัญที่สุด เพราะเป็นการปิดท้ายวัฏจักรการเก็บเกี่ยว โดยที่เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลจารึก 3 เทศกาลที่ฉลองกันในเยรูซาเล็ม ถัดจากเทศกาลปัสกาและเพ็นเทคอสต์

เลวีนิติ 23:33-44

คำว่า “พลับพลา” (อยู่เพิง) ในภาษาฮีบรู คือ “Sukkot” (เอกพจน์คือ : sukah) ซึ่งหมายถึงเพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละตินใช้คำว่า “tabernacula” (ไม่ใช่ Dracula!) ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาใช้ว่า “tabernacles” เทศกาลนี้บางครั้งรู้จักกันว่าเป็น “ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเรา” ภาษาฮีบรูว่า “Z’man Simchateinu” เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นเครื่องหมายถึงการเก็บเกี่ยวผลไม้ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ของแต่ละปี จึงมักรู้จักกันในนามของ “เทศกาลการรวบรวมผลิตผล” ด้วย

เทศกาลอยู่เพิงกระทำกันเมื่อใด

เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก Yom Kippur (วันทำการลบมลทิน) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี และฉลองไป 7 วัน         บวกกับ 1 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี เหตุใดจึงเริ่มเมื่อ 5 วัน หลังจาก Yom Kippur อาจจะเป็นเพราะคิดว่า เลข 5 เป็นเลขแห่งพระคุณ! (GRACE) ให้ เราสังเกตด้วยว่ามีการเฉลิมฉลองอยู่ 7 วัน เป็นตัวเลขแห่งความสมบูรณ์ (การพักสงบสุดท้ายได้มาถึง!) และสิ้นสุดในวันที่ 8 (วันถัดจาก Shabbat) ซึ่งเตือนให้ระลึกถึงเทศกาลแห่งผลแรก เลข 8 เป็นเลขสำหรับการฟื้นขึ้นและเป็นเลขของพระเยซู / เยชูวา จริงๆ แล้ว วันที่ 8 เป็นวัน Simchat Torah คือเป็นการเฉลิมฉลองโทราห์ด้วย

ประเพณีนี้บอกเราว่าการเฉลิมฉลองในพระ วิหารของเยรูซาเล็มนี้จะมีประชาชนชาวยิวทั่วอิสราเอลและที่อยู่นอกดินแดน อิสราเอลเข้ามาร่วมด้วย ผู้เดินทางหลายพันคนจะเนืองแน่นเต็มท้องถนนต่าง ๆ ในเยรูซาเล็ม

เทศกาลที่สำคัญนี้มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ

ประการแรก มีการถวายสัตวบูชาจำนวนมากตลอดเทศกาล วัว 70 ตัว แกะผู้ 14 ตัว ลูกแกะ 98 ตัว แพะ 7 ตัว และเครื่องบูชาที่เป็นเครื่องดื่มและธัญพืชรวมทั้งเครื่องถวายบูชาประจำวัน !

ประการที่สอง มีเชิงตะเกียงใหญ่ 4 อัน (Menorot) ในลานสตรีที่พระวิหารจะถูกจุดสว่างตลอดเทศกาล

ประการที่สาม มีพิธีกรรมอันละเอียดปราณีตที่เรียกกันว่าพิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) ภาษาฮีบรู : Beit She’ubah ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซู

คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร

ครอบครัวจะสร้าง Sukkah ในสวนหรือบริเวณบ้าน พวกเขาจะกินอาหารที่เสิร์ฟอยู่ภายใต้ Sukkah พ่อจะอ่านโทราห์และ  ชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน และยกเรื่องพันธสัญญาของอับราฮัมมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง  ครอบครัวจะร้องเพลงและเต้นรำเพราะเป็นฤดูกาลแห่งความร่าเริงยินดี !


ครอบครัวส่วนมากจะโบก lulav – พัดต้นหลิว , ไม้หอม และกิ่งปาล์ม เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า

ในวันที่ 8 ช่วงระหว่าง Simehat Torah เราจะพบคนยิวจำนวนมากเต้นรำด้วยถือหนังสือม้วนโทราห์และนมัสการอย่าง  ชื่นชมยินดีในธรรมศาลาหรือที่กำแพงตะวันตก


ผู้เชื่อในพระเยซูสามารถเรียนรู้อะไรจากเทศกาลอยู่เพิง

1.  เทศกาลอยู่เพิงยืนยันอีกครั้งถึงหัวใจของพระเจ้าที่มีต่อบรรดาประชาชาติ

เทศกาลอยู่เพิงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น เทศกาลการรวบรวมผลิตผล  ขอให้สังเกตว่า วัว 70 ตัวที่ถวายเป็นเครื่องเผาบูชาแด่พระเจ้า จำนวนตัวเลข 70 นี้ปรากฎครั้งแรกในปฐมกาลบทที่ 10 ซึ่งเราได้อ่านถึงเรื่องที่บรรดาผู้รู้เรียกว่า ต้นตระกูลของบรรดาประชาชาติ (Table of the Nahons) นั่นคือหลังน้ำท่วมและบุตรชายทั้งสามของโนอาห์ คือ ยาเฟต  ฮาม และเชม ต่างก็มีลูกหลานซึ่งกลายเป็นประชากรของแผ่นดินโลก

จากสายของยาเฟท  มี 14 ชนชาติ จากสายของฮาม มี 30 ชนชาติ จากสายของเชมมี 26 ชนชาติ                รวมทั้งหมดเป็น 70

ต่อไป เราเห็นการพาดพิงถึง 70 ชนชาติว่าอยู่ที่เทศกาลเพ็นเทคอสต์ ซึ่งนักปราชญ์โบราณได้บันทึกไว้ว่าเมื่อพระเจ้าตรัส ไฟรูปลิ้นได้ลงมาและเสียงของพระองค์ได้แยกออกเป็น 70 เสียง 70 ภาษา เพื่อให้ชนชาติทั้งหมดเข้าใจพระบัญญัติ 10 ประการของพระองค์ได้ (มิดราช : Exodus  Rabbah 5:9)

สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับเรา

การถวายวัว 70 ตัว นี้ในเทศกาลอยู่เพิงเปิดเผยถึงพระทัยของพระเจ้าสำหรับบรรดานานาประชาชาติ พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้า “นักประกาศ” !

ปัญญาจารย์ 3:11

กิจการ 17:22-23

2.  เทศกาลอยู่เพิงเปิดเผยถึงพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซู

2.1  พระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก

ยอห์น 8:12

เอเฟซัส 5:8-9

ความดีในภาษากรีก คือ “agathos” มีความเมตตากรุณา ความดีที่ออกมาเป็นการกระทำ

ความชอบธรรมในภาษากรีก คือ “dikaios” หมายความว่า การปฏบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าทุกประการ

ความจริงในภาษากรีก คือ “alethes” หมายถึง ความบริสุทธิ์จากความผิดพลาดและควมจอมปลอมทั้งสิ้น คำนี้มีนัยถึงความประพฤติที่สอดคล้องกับความจริง



มีความหมายอย่างไรสำหรับเรา

มัทธิว 5:14-16



2.2  พระเยซูทรงเป็นน้ำแห่งชีวิต

พิธีอันประณีตของการหลั่งน้ำ (ภาษาฮีบรู : Beit She’ubah) ที่พระวิหารทุกวันตลอดเทศกาลอยู่เพิง

อิสยาห์ 12:3

มีความหมายอย่างไรต่อเรา

ยอห์น 7:37-39

ยอห์น 7:40-43

ในความหิวกระหายหาความรู้และความเข้าใจของเรา เราได้จำกัดพระเจ้าใส่กล่องเล็กจิ๋วของเราที่เรียกว่า          ศาสนศาสตร์ หรือในกล่องเล็กที่เราชื่นชอบซึ่งเรียกว่า คำประกาศความเชื่อ หรือ นโยบายคริสตจักร

ในพระคัมภีร์ ความจริงใด ๆ จะเป็นที่ยอมรับก็โดยมีพยานรู้เห็น 2 หรือ 3 ปาก

พิธีหลั่งน้ำมีประจักษ์พยาน 3 คน รับรองคำกล่าวของพระเยซูว่าพระองค์ทรงเป็นน้ำแห่งชีวิต (ฮีบรู : Mayim Hayim)

เราเห็นน้ำ เหล้าองุ่นสีแดง (เลือด) และเสียงเสียดสีของกิ่งหลิว (พระวิญญาณ) 1 ยอห์น 5:6-8

สามสิ่งนี้สอดคล้องกับอะไร 1 ยอห์น 5:11-12

อย่าให้เราเพิ่มเติมสิ่งใดเข้ากับคำประกาศเรื่องความรอดนี้เพื่อจะทำให้ศาสนาของเราดู “ขลัง” หรือ “ถูกต้องตามนิกาย”

2.3  พระเยซูทรงเป็นพระคำของพระเจ้าที่ทรงบังเกิด

ยอห์น 1:1 และ 14

คำกรีก ที่เป็นกริยาว่า “skenoo (เหมือน “สถิตอยู่”) ยังมีความหมายว่ากางเต็นท์ , ตั้งค่าย , พลับพลา อยู่ในเต็นท์” คำอธิบายนี้เป็นการอ้างอิงที่ชัดเจนถึงเทศกาลอยู่เพิงเมื่อประชาชนเข้าพักอยู่ในเพิงพักชั่วคราว

ยอห์นเลือกใช้ภาพของเทศกาลอยู่เพิงในการบรรยายถึงการเสด็จมาครั้งแรกของพระเมสสิยาห์ยังประชากรของพระองค์

ยอห์นซึ่งเป็นอัครทูตคนหนึ่งมีชีวิตยืนยาว ที่สุด และได้เขียนพระธรรมวิวรณ์ ยังได้ใช้การอธิบายเดียวกันนี้กับเทศกาลอยู่เพิงเมื่อท่านบรรยายถึงการ ปกครองบนโลกของพระเมสสิยาห์เมื่อพระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง

วิวรณ์ 21:3

มีบางอย่างที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและ ยากที่จะเข้าใจระหว่างพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซูกับเทศกาลอยู่เพิง  ไม่เพียงแต่พระเยซูทรง “ตั้งพลับพลา”อยู่ท่ามกลางมนุษย์ขณะที่ทรงอยู่บนโลกนี้เท่านั้น แต่พระองค์จะกลับมาอีกในฐานะกษัตริย์ที่จะ “ตั้งพลับพลา” อยู่ท่ามกลางเราตลอดไปเป็นนิตย์

หากการ “ตั้งพลับพลา” อยู่ท่ามกลางมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญต่อพระเยซู เป็นไปได้ไหมว่าพระองค์ทรงถือกำเนิดในช่วงเทศกาลอยู่เพิงเป็นหมายสำคัญของ “การตั้งพลับพลา” อยู่ท่ามกลางมวลมนุษย์

ผู้รู้ในพระคัมภีร์ทั้งหลายปัจจุบันนี้ ตระหนักเพิ่มมากขึ้นว่าพระเมสสิยาห์ของยิว คือพระเยซูชาวนาซาเร็ธทรงถือกำเนิดในช่วงเทศกาลอยู่เพิงในช่วงเดือน กันยายน / ตุลาคม มากกว่าจะเกิดในวันที่ 25 ธันวาคม!



โดยที่ไม่ต้องเข้าไปสู่ความยุ่งยากซับซ้อน ของเรื่องนี้ เราก็พอจะกล่าวได้ว่าหากตรวจสอบดูสภาพอากาศของเดือนกันยายน ที่เยือกเย็นและคืนที่เหน็บหนาวในเดือนธันวาคม การที่ผู้เลี้ยงแกะยังคงอยู่ในท้องทุ่งโล่งแจ้งในเดือนกันยายน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าเดือนธันวาคม นอกจากนี้เป็นไปได้คนจะสามารถมองเห็นดวงดาวสุกใสเหนือเมืองเบธเลเฮมในท้อง ฟ้าฤดูใบไม้ร่วงมากกว่าที่จะเป็นในท้องฟ้าฤดูหนาว

ยิ่งไปกว่านี้ เราสามรถตรวจสอบว่าการแบ่งเวรทำหน้าที่ปุโรหิตของอาบียาห์ ในการปรนนิบัติในพระวิหารนั้น คือเมื่อใด เพื่อจะกำหนดเดือนเป็นเวรการปรนนิบัติของเศคาริยาห์ และเมื่อมองดูชื่อที่เต็มด้วยพระบารมีของพระเยซู คือ   “อิมมานูเอล” พระเจ้าทรงอยู่กับเราพระเจ้าทรงประทับอยู่กับเรา พระเจ้าทรง “ตั้งพลับพลา” อยู่กับเรา ลองดูชื่ออื่นๆ ของเทศกาลนี้ด้วย “ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเรา” ระลึกถึงการประกาศของทูตสวรรค์ต่อบรรดาผู้เลี้ยงแกะ         “อย่ากลัวเลย เพราะเรานำข่าวดีมายังท่านทั้งหลาย คือ ความปรีดียิ่งซึ่งจะมาถึงคนทั้งปวง”  (ลูกา 2:10)

ท้ายที่สุด หากเราลองย้อนเวลาที่เศคาริยาห์เผชิญหน้ากับทูตสวรรค์กาเบรียลตามที่ได้ บันทึกไว้ในลูกา 1 จนถึงเวลาที่บุตรของท่าน ยอห์นผู้ให้บัพติศมาถือกำเนิด และ ประมาณเวลาที่มารีย์ไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธ (ภรรยาของเศคาริยาห์)การตั้งครรภ์ของมารีย์ และการให้กำเนิดบุตรของเธอ เราจะให้ค้นพบความจริงที่น่าตื่นเต้นว่าพระเยซูทรงถือกำเนิดในช่วงเทศกาล อยู่เพิง ไม่เพียงเท่านั้น บางคนถึงกับตั้งทฤษฎีว่าพระเยซูทรงประสูติในวันแรกของเทศกาลอยู่เพิงและทรง ทำพิธีเขาสุหนัตในวันที่ 8 ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองที่เรียกว่า Simchat Torah คือ การเฉลิมฉลองโทราห์ที่มีชีวิต !

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์เป็นผู้นำเสนอ พวกท่านบางคนอาจถามว่า

{xtypo_quote}“แล้วคริสตมาสล่ะ จะทำอย่างไรกับประเพณีของมนุษย์ที่ตั้งวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันเกิดของพระเยซู”{xtypo_quote}

ความคิดที่ปลอบใจเราก็คือว่าเป็นไปได้ที่ พระเยซูทรงปฏิสนธิในเดือนธันวาคม ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการปฏิสนธิของพระองค์ในเดือนธันวาคม เราสามารถมีการเฉลิมฉลองอีกอันหนึ่งที่มีรสชาด เรียกว่า Chanukah (การฉลองการอุทิศถวาย ยอห์น 10:22) แต่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง !

ทฤษฎีเหล่านี้ถูกนำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญทาง พระคัมภีร์ สำหรับผมการกำเนิดของพระเยซูในช่วง เดือนกันยายน / ตุลาคม ดูมีเหตุผลมากกว่า เพราะเราได้เห็นจากการศึกษาเรื่องเทศกาลที่ผ่านมาแล้วว่า เทศกาลทุกเทศกาลเน้นให้เห็นพระลักษณะและคำประกาศของพระเยซู

ความคาดหวังถึงพระเมสสิยาห์ที่จะเสด็จมาใน เทศกาลสำคัญท้ายสุดนี้มีสูงมากเป็นพิเศษหลักฐานนี้อยู่ในคำกล่าวที่ปรากฎใน ยอห์น 8 เมื่อพระเยซูตรัสในขณะที่มีพิธีหลั่งน้ำในพระวิหาร

พระเยซูทรงกำเนิดในช่วงเทศกาลอยู่เพิงเพื่อทำให้บทบาทตามคำพยากรณ์นั้นครบถ้วนบริบูรณ์ คือ การทรงเป็น “อัลฟาและโอเมกา ,ปฐมและอวสาน , เบื้องต้นและเบื้องปลาย” การทรงกำเนิดในช่วงเทศกาลอยู่เพิงวางพื้นฐานแห่งสิทธิที่จะทรงประกาศข่าว ประเสริฐแก่ผู้ฟังชาวยิวที่พระองค์เสด็จลงมาเพื่อเขาเมื่อทรง “พำนัก” อยู่ในเนื้อหนัง และเป็นเงาของสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อพระองค์ทรงครอบครอง และ “พำนัก” อยู่กับผู้เชื่อตลอดชั่วนิรันดร



3.  เทศกาลอยู่เพิงสะท้องถึงการครอบครองของพระเยซูในฐานะกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าบ่าว

หากเทศกาลต่าง ๆ ในฤดูใบไม้ร่วงชี้ถึงการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซู วิธีที่ดีอย่างหนึ่งที่จะมองให้เห็นความต่อเนื่องของเทศกาลเหล่านี้ คือ ค้นดูในพระธรรมวิวรณ์  พระธรรมวิวรณ์ (วว.19 และ 21) จบลงด้วยภาพของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว วิวรณ์ 19:7-8

บางทีความเข้าใจบ้างถึงพิธีแต่งงานของยิว ตามแบบพระคัมภีร์ อาจจะช่วยให้เราเห็นเทศกาลเลี้ยงต่าง ๆ ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในแง่มุมที่ชัดเจนขึ้น

ประการแรก ในพิธีแต่งงานตามพระคัมภีร์ จะมีการเลือกเจ้าสาว พ่อจะเลือกเจ้าสาวให้ลูกชายทำนองเดียวกัน   เราซึ่งเป็นเจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ได้รับการเลือกโดยพระบิดาในสวรรค์ ตั้งแต่ “ก่อนวางรากสร้างโลก” (เอเฟซัส 1:4) ถัดจากนี้จะมีการกำหนดราคาสินสอด เทศกาลปัสกาเป็นเวลาที่เราระลึกถึงการกำหนดราคาสินสอดของเจ้าสาว พระเยซูทรงหลั่งพระโลหิต และด้วยพระโลหิตของพระองค์ ทรงจ่ายราคาเป็นค่าไถ่เรา

เมื่อเจ้าบ่าวหมั้นหมายกันไว้ จะมีการร่างคำสัญญา (ฮีบรู : Ketubah) มีการแลกเปลี่ยนของขวัญและเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะร่วมกันดื่มจากถ้วยที่เรียกว่า “ถ้วยแห่งพันธสัญญา” เป็นสัญญลักษณ์ของคำผูกพันสัญญาว่าเธอจะรอคอยเขาจนกว่าจะมาและรับเธอเป็น ภรรยา อีกครั้งหนึ่งในเทศกาลปัสกา เราได้เห็นฉากนี้แสดงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระเยซูทรงบอกกับสาวกในพิธีปัสกา เราได้เห็นฉากนี้แสดงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระเยซูทรงบอกกับสาวกในพิธีปัสกา ขณะที่พระองค์ทรงยกถ้วยที่สามแห่งการไถ่ขึ้นและตรัสถ้อยคำที่บิดหัวใจว่า “ถ้วยนี้ซึ่งเทออกเพื่อท่านทั้งหลายเป็นคำสัญญาใหม่โดยโลหิตของเรา”   (ลูกา 22:20)

ระหว่างการหมั่น ถือว่าแต่งงานตามกฎหมายแล้วเพียงแต่ยังไม่ได้อยู่ร่วมกัน  เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงขั้นตอนแห่งการหมั่นหมายนี้ อย่างเต็มที่ (ฮีบรู : Erusin) เช่นเดียวกับที่ลูกหลานอิสราเอลเมื่อได้เห็นความน่าสะพึงกลัวของพระเจ้า  พวกเขาร้องว่า “สิ่งทั้งปวงที่พระเจ้าตรัสนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำตาม!” (อพยพ 19:8) ทำนองเดียวกัน เจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ก็จะได้เข้าสู่พันธสัญญาที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่ที่ “ได้จารึกพระบัญญัติไว้ในหัวใจของเรา”

เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาในวัน เพ็นเทคอสต์เพื่อนำมาซึ่งความเชื่อฟังต่อพระวจนะของพระเจ้าและความปรารถนา ที่จะสร้างสันติกับพระเจ้า

เจ้าบ่าวจะต้องกลับไปยังบ้านบิดา เพื่อเตรียมห้องสำหรับเจ้าสาว การทำเช่นนี้อาจเป็นช่วงใดก็ได้จาก 8 เดือน ถึง  1 ปี หรือมากกว่านั้น! นี่คือสิ่งที่ชวนให้ระลึกถึงถ้อยคำตรัสของพระเยซูในยอห์น 14:2-3

“ในพระนิเวศของพระบิดาเรามีที่อยู่เป็นอัน มาก ถ้าไม่มีเราคงได้บอกท่านแล้ว เพราะเราไปจัดเตรียมที่ไว้สำหรับท่านทั้งหลายเมื่อเราไปจัดเตรียมที่ไว้ สำหรับท่านแล้วเราจะกลับมาอีกรับท่านไปอยู่กับเรา เพื่อว่าเราอยู่ที่ไหนท่านทั้งหลายจะได้อยู่ที่นั่นด้วย”

ขณะเดียวกันเจ้าสาวจะต้องผ่าน mikvah – การอาบน้ำชำระตัวให้บริสุทธิ์สำหรับเจ้าบ่าวอันเป็นที่รักของเธอ เช่นเดียวกัน เจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ควรจะชำระตัวถวายเดี๋ยวนี้เพื่อจะไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต่าง ๆ ของโลกนี้

“เพราะว่าสารพัดซึ่งอยู่ในโลก คือ ตัณหาของเนื้อหนัง และตัณหาของตา และความทะนงในลาภยศไม่ได้เกิดมาจากพระบิดา แต่เกิดมาจากโลก” (1 ยอห์น 2:16)

พระบิดานิรันดร์ได้ทรงเลือกเราไว้ก่อนทรงวางรากสร้างโลกเพื่อความประสงค์หนึ่งนั้นก็คือ “ให้เราบริสุทธิ์ และปราศจากตำหนิจำเพาะพระพักตร์พระองค์” (เอเฟซัส 1:4)

เจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ที่เตรียมพร้อมและอุทิศตัวถวายคือ สิ่งที่พระเจ้าพระบิดาพอพระทัยจะมอบให้พระบุตรของพระองค์

ชีวิตที่ชอบธรรมที่ถูกบรรจุใส่ลงมาในเราจะออกผลเป็นการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม

เจ้าบ่าวไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวันใดจะมีพิธี แต่งงาน พ่อเท่านั้นจะเป็นผู้กำหนดวันนั้นไว้ในใจอีกครั้งหนึ่งเราระลึกถึงคำตรัสของ พระเยซูเกี่ยวกับการเสด็จกลับมาของพระองค์ว่า “แต่วันนั้น โมงนั้น ไม่มีใครรู้ ถึงบรรดาทูตสวรรค์หรือพระบุตรก็ไม่รู้ รู้แต่พระบิดาองค์เดียว” (มัทธิว 24:36)

เมื่อวันที่กำหนดมาถึงเจ้าบ่าวจะกลับมาในเวลาเที่ยงคืนพร้อมด้วยเสียงเขาแกะ (shofar) จำเทศกาลเสียงแตรได้ไหม?

ขั้นตอนต่อไปของพิธีแต่งงานออกจะแปลกประหลาดสำหรับพวกเราส่วนมาก ชั่วระยะหนึ่งหลังจากเจ้าบ่าวมาแล้วเขาจะ ลักพาเจ้าสาวเข้าไปในห้องหอ และทำให้การแต่งงานเสร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้น 7 วัน ทั้งคู่จะออกมาจากห้องหอและอวดเจ้าสาวต่อแขกที่เชิญมา เป็นไปได้ไหมว่านี่คือ “การรับขึ้นไป” ให้เจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ได้เข้าสู่อ้อมแขนของเจ้าบ่าวคือองค์กษัตริย์เยซู

ช่วง 7 วัน (บางคนบอกว่า 2 นาที หรือ 1 ชั่วโมง) เป็นได้ไหมว่าเป็นช่วงแห่งพระพิโรธเต็มขนาดของพระเจ้า โดยการพิพากษาด้วยขันซึ่งเราได้กล่าวถึงแล้วในเทศกาลเสียงแตร

หลังจากการทำลายคนชั่วร้ายและการทิ้งซาตานลงไปในบึงไฟ  วิวรณ์ 21:1-4

นี่คือ ภาพที่สมบูรณ์ของการครอบครองของพระเยซูกับผู้เป็นที่รักของพระองค์ตลอดไป!

เทศกาลอยู่เพิงจดจ่อรอคอยพระเมสสิยาห์ซึ่งได้เสด็จมา “ประทับอยู่เพิง” ท่ามกลางเราในการเสด็จมาครั้งแรก และจะ “ประทับอยู่เพิง” กับเราตลอดไปเป็นนิตย์เมื่อพระองค์เสด็จมาอีกเพื่อครอบครองในฐานะกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าบ่าว

เจ้าสาวของพระเมสสิยาห์ คือ พระกายของผู้เชื่อในเยชูวาชาวยิวและชาวต่างชาติ คือคนใหม่คนเดียวในพระคริสต์ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในพระกาย เพราะพระบิดาในสวรรค์เป็นผู้ที่ได้ “จับคู่” เจ้าสาวนี้ให้กับพระบุตรองค์เดียวของพระองค์




บทสรุป

1) ยืนยันอีกครั้งหนึ่งถึงพระทัยของพระเจ้าต่อบรรดาประชาชาติ

2) เปิดเผยถึงพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซู

3) สะท้อนภาพการครอบครองของพระเยซูในฐานะกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าบ่าว




การศึกษาของเราในเรื่องเทศกาลขององค์พระ ผู้เป็นเจ้าทั้ง 7 นี้ จะต้องสรุปลงด้วยความสำนึกอย่างลึกซึ้งว่า พระเยซูทรงเป็นความครบบริบูรณ์ของเวลากำหนดทั้งสิ้นของพระเจ้า (ฮีบรู : Mo’edim) สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียกชุมนุมหรือการซักซ้อม    อันบริสุทธิ์ (ฮีบรู : Mikrah Kodesh) ของ สิ่งที่เป็นมาในอดีต  สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสิ่งซึ่งจะเกิดมีมา !  เราได้รับการอนุญาตและการหนุนใจจากพระเจ้าที่จะเข้าร่วมในเทศกาลเหล่านี้

การศึกษาเช่นนี้ควรจะกระตุ้นเราให้มีความเชื่อเข้มแข็งขึ้น (ฮีบรู : Emunah) ในพระเยซู  ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยซึ่งทรงรักเรา และจะเสด็จกลับมาเพื่อเรา

ความเชื่อของเราไม่ควรเป็นแค่เพียง “ความรู้สึกหรือระบบความเชื่อในสมอง” แต่จะต้องได้รับการกระตุ้นให้เกิดเป็นความสัตย์ซื่อ ซึ่งต้องมีการกระทำและการแสดงออก

ผมขอจบการสอนในชุดนี้ลงด้วยถ้อยคำของอัครทูตเปาโล จากทิตัส 2:11-14 ว่า

เพราะว่าพระคุณของพระเจ้าได้ปรากฎแล้ว เพื่อช่วยคนทั้งปวงให้รอด สอนให้เราละทิ้งความอธรรมและโลกียตัณหา และดำเนินชีวิตในยุคนี้อย่างมีสติสัมปชัญญะสัตย์ซื่อสุจริต และตามคลองธรรม ในปัจจุบันนี้ คอยความสุขซึ่งจะได้รับตามความหวัง ได้แก่การปรากฎของพระสิริของพระเจ้าใหญ่ยิ่ง คือ พระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา ผู้ได้ทรงโปรดประทานพระองค์เองให้เรา เพื่อไถ่เราให้พ้นจากการอธรรมทุกอย่าง และทรงชำระเราให้บริสุทธิ์ เพื่อให้เป็นหมู่ชนพิเศษเฉพาะของพระองค์ และเป็นคนที่ขวนขวายกระทำการดี



คำอวยพรแบบอาโรน

Ye-vare-eheeha Adonai  Ve-yish-mereeha

(ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรแก่ท่าน และพิทักษ์รักษาท่าน)

Ya-er  Adonai  panav  eley-cha vi-chuneka

(ขอพระเจ้าทรงให้พระพักตร์ของพระองค์ทอแสงแก่ท่าน และทรงพระกรุณาท่าน)

Yi-sa  Adonai  panav  eley-cha  ve-yasem-lecha  shalom

(ขอพระเจ้าทรงเงยพระพักตร์ของพระองค์เหนือท่าน และประทานสวัสดิภาพแก่ท่าน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น