วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นับโอเมอร์ ในช่วงเวลาของเทศกาลเพนเทคอสต์

 นับโอเมอร์ 
ในช่วงเวลาของเทศกาลเพนเทคอสต์

ใกล้เทศกาลเพนเทคอสต์ หรือ ชาวูโอตแล้ว เมื่อนับ โอเมอร์จากเทศกาลปัสกา วันที่ 16 นิสาน คือเทศกาลผลแรก นับโอเมอร์มา 49 วัน หรือ 7 สะบาโต วันที่ 50 คือวันเพนเทคอสต์ นั่นเอง

เมื่อเราได้ยินคำว่า “โอเมอร์” ภาษาฮีบรู “โอมาห์” (H6016) โอเมอร์ คือ หน่วยตวงหรือวัดในสมัยนั้น บางครั้งเรียกว่า “นับมัด” ภาษาอังกฤษมักแปลว่า “มัด หรือ กำ”  โอเมอร์ “omer” มีความหมายว่า {กำ}{กลุ่ม}{กอง}{ฟ่อน}  คือมัดฟ่อนข้าวที่เก็บเกี่ยว เป็นหน่วยวัดตวงในสมัยนั้น (เลวีนิติ 23: 15-21) ในสมัยนั้นจึงเป็นการตวงปริมาณพืชผล ไม่ใช่เงินตราเพราะ เงินตราก็มีหน่วยของเงินตราอยู่แล้ว
อพย. 16:32 โมเสสกล่าวว่า “พระยาห์เวห์มีรับสั่งว่า ‘จงตวงมานาสองลิตร เก็บไว้ตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เพื่อพวกเขาจะได้เห็นอาหารซึ่งเราเลี้ยงพวกเจ้าในถิ่นทุรกันดารนี้ เมื่อเรานำพวกเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์’ ”

1 โอเมอร์ เท่ากับประมาณ  2 ลิตร
1 เอฟาห์ เท่ากับประมาณ 22 ลิตร
อพย. 16:36 หนึ่งโอเมอร์เท่ากับหนึ่งในสิบของเอฟาห์ (คนละบริบทกับสิบลด 10 ชัก 1)

เทศกาลเพนเทคอสต์หรือเทศกาลสัปดาห์ เฉลยธรรมบัญญัติบันทึกคำสั่งของพระยาห์เวห์ในแต่ละเทศกาลดังนี้

ฉธบ. 16:9
“ท่านจงนับให้ครบเจ็ดสัปดาห์ จงตั้งต้นนับเจ็ดสัปดาห์เริ่มด้วยวันแรกที่ท่านใช้เคียวเกี่ยวข้าว
ฉธบ. 16:10 ท่านจงถือเทศกาลสัปดาห์ถวายแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน ตามขนาดของถวายตามใจสมัครจากมือของท่าน ซึ่งท่านจะถวายตามที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงอวยพรแก่ท่าน

ในข้อที่ 9 ของ เฉลยธรรมบัญญัติ บอกว่า “จงตั้งต้นนับให้ครบเจ็ดสัปดาห์เริ่มด้วยวันแรกที่ท่านเอาเคียวเกี่ยวข้าว” วันแรกในตอนนี้หมายถึง “เฟิสฟรุต (first fruits) หรือ ผลแรก”
ในข้อที่ 10 กล่าวว่า “ตามขนาดของถวายตามใจสมัครจากมือของท่าน ซึ่งท่านจะถวายตามที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงอวยพรแก่ท่าน”

ดังนั้นการนับโอเมอร์ คำว่าโอเมอร์จึงเป็นช่วงเวลาของสองเทศกาลคือปัสกาและเพนเทคอสต์

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพร

ชาโลม
ktm.shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น