วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไก่ขัน สามครั้ง

ไก่ขัน สามครั้ง


มัทธิว 26:34, มาระโก 14:30, ยอห์น 13:38

ลก. 22:31 “ซีโมน ซีโมนเอ๋ย นี่แน่ะ ซาตานขอพวกท่านไว้ เพื่อจะฝัดร่อนเหมือนฝัดข้าวสาลี
ลก. 22:32 แต่เราอธิษฐานเผื่อตัวท่าน เพื่อความเชื่อของท่านจะไม่ได้ขาด และเมื่อท่านหันกลับแล้ว จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน”
ลก. 22:33 เปโตรจึงทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์พร้อมแล้วที่จะไปกับพระองค์ ถึงจะต้องติดคุกหรือตายก็ดี”

ลก. 22:34 พระองค์ตรัสว่า “เปโตรเอ๋ย เราบอกท่านว่าวันนี้ก่อนไก่ขัน ท่านจะปฏิเสธว่าไม่รู้จักเราถึงสามครั้ง”
ผมเคยสงสัยว่า ทำไมต้องก่อนไก่จะขันด้วย ที่เปโตรจะปฏิเสธพระองค์ แม้จะเป็นไก่หรือไม่ใช่ไก่ เปโตรก็ได้ถูกพยากรณ์ไว้ว่าจะปฏิเสธพระองค์ถึงสามครั้ง แต่เรามาพิจารณาว่าเป็นไก่จริงหรือไม่ แม้จะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ถือว่าเป็นการศึกษาพระคัมภีร์ไปด้วยกันนะครับ

สำหรับการแปลและการตีความของพระคัมภีร์บางฉบับนั้น เสียงไก่ที่ขันแท้จริงเป็นเสียงพ้อง ที่เป็น เสียงคน (ปุโรหิต) ร้องบอกเวลายามรุ่งอรุณของวันใหม่ในพระวิหาร (temple crier) มาจากคำว่า Gaver ในภาษาฮีบรูที่อาจแปลว่า "cock = ไก่หรือนกตัวผู้" หรือ "rooster = ไก่โต้ง ไก่ตัวผู้" บุคคลผู้นี้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง หรือส่งสัญญาณสักอย่างเพื่อบอกเวลาว่ารุ่งสาง หรืออรุณใหม่มาแล้วโดยจะร้อง 2-3 ครั้ง และจะคอยเปิดประตูพระ วิหาร เพื่อทำพิธีกรรมของเช้าวันใหม่ และนี่อาจเป็นคำเปรียบเทียบของชาวยิวเมื่อได้ยินเสียงร้องบอกเวลาของผู้ที่ทำ หน้าที่นี้ก็เสมือน "ไก่ขันยามเช้า"

ซึ่งในความเป็นจริง บริเวณพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ไม่อนุญาตให้มีสัตว์จำพวกไก่อยู่ เพราะไก่พวกนี้ทำให้บริเวณพระวิหารสกปรก มีนิสัยที่น่ารังเกียจ

การปฏิบัติของชาวยิว แบ่งช่วงเวลากลางคืนเป็นสามช่วง คือในระหว่างเที่ยงคืน ถึงตีสามในตอนเช้า
ดังนั้นปุโรหิตที่พระวิหาร เขาคือผู้มีความรับผิดชอบในการปลดล็อคประตู หน้าต่าง พระวิหาร ทุกเช้าก่อนฟ้าจะสาง เขาคือผู้เสียสละเพราะว่า ช่วงเวลาการดำเนินชีวิตการพักผ่อนจะแตกต่างจากคนอื่น

ปุโรหิต หรือผู้ปรนนิบัตินี้ เรียกว่า "alektor" ในภาษากรีก ซึ่งเป็นได้ทั้งไก่ หรือ คน (cock is Gever in Hebrew) นี่จึงเป็นหน้าที่ของเขาที่จะปลุกปุโรหิตอื่นๆ (เลวี) และนักนมัสการเพื่อเริ่มต้นการเตรียมการของพวกเขา ตอนเช้าในท่ามกลางความเงียบ เสียงสามารถดำเนินการได้ดีและชัดเจน แม้ในสมัยนั้นไม่มีเครื่องขยายเสียงตามสาย เสียงสามารถได้ยินจากบ้านหรือวังของมหาปุโรหิตถึงพระวิหาร

จุดมุ่งหมายของการร้องเสียงเสียง 3 ประโยค

1.เรียกให้ปุโรหิตเตรียมตัวเข้าประจำการ
2.เรียกเลวีให้ประจำตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในพระวิหาร
3. เรียกชาวอิสราเอลให้เข้ามานมัสการ

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพรท่าน
ชาโลม
ktm.shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น