วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554
เทศกาลลบมลทิน
พระบัญชาให้ถือเทศกาลนี้อยู่ใน เลวีนิติ 23:26-32
รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีในพระวิหารสำหรับเทศกาลนี้อยู่ใน เลวีนิติ 16
ลักษณะพิเศษบางประการของวันทำการลบมลทิน
ชื่อในภาษาฮีบรูเรียกว่า Yom Kippur
การลบมลทินบาปหมายความว่า ปกคลุม ขจัด แก้ไข คืนดี ปกปิด
ประการแรก เราสังเกตได้ว่าวันทำการลบมลทินเป็นวันสะบาโตหยุดพักอย่งสมบูรณ์เป็นสะบาโตพิเศษ คือเป็น สะบาโตของสะบาโตทั้งหลาย (ภาษาฮีบรู : Shabbat Shabbaton)
ประการที่สอง วันทำการลบมลทินเป็นวันที่ประชาชนอิสราเอลได้รับพระบัญชาให้ “ถ่อมจิตใจลง” ในบางคำแปลเรียกว่า “ความเจ็บปวดของจิตวิญญาณ” วลีนี้มีความหมายคล้ายคลึงกับที่ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์กล่าวไว้ในอิสยาห์ 58:3 ซึ่งเราจะกลับมาศึกษาภายหลัง โดยพื้นฐานวันทำการลบมลทินจึงเป้นวันแห่งการอดอาหารด้วยใจที่สำนึกผิด
ประการที่สาม ประชากรคนใดที่ไม่สำนึกผิดหรือไม่กลับใจเสียใหม่จะถูกตัดออกจากชนชาติ
ประการที่สี่ พิธีกรรมในพระวิหารนี้นซับซ้อนแต่สามารถจำกัดลงเป็นแนวใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ อย่างแรกมีการถวายเครื่องสัตวบูชาที่มีชีวิตและด้วยเลือด
จะมีการเลือกแพะสองตัว ตัวหนึ่งจะต้องเป็นเครื่องบูชาด้วยเลือดถวายแด่พระเจ้าเพื่อสำแดงแก่อิสราเอลว่าไม่มีการจ่ายชำระโทษทัณฑ์แห่งบาปแล้ว ตามประเพณี แพะตัวที่สอง ซึ่งเรียกว่า “อาซาเซล” หรือแพะที่หนึไปจะมีผ้าสีแดงหรือแดงเข้มผู้เขาไว้ ส่วนหนึ่งของผ้านี้จะแขวนไว้ที่ประตูพระวิหารด้วย
มหาปุโรหิตจะวางมือบนแพะตัวนี้และสารภาพบาปของอิสราเอลเป็นสัญญลักษณ์ว่าได้ถ่ายทอดบาปของพวกเขาลงไปยังแพะตัวนี้ แล้วจะนำอาซาเซลเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อปล่อยไป (บางคนบอกว่ามันจะถูกผลักลงจากหน้าผาให้ตาย)
หากพระเจ้าทรงยอมรับการถวายเครื่องบูชาไถ่บาปนี้ในวันทำการลบมลทิน ผ้าสีแดงที่แขวนที่ประตูพระวิหารจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เหมือนดังข้อความในอิสยาห์ 1:18 “แม้บาปของเจ้าจะแดงอย่างผ้าแดง บาปนั้นก็จะขาวดุจหิมะ แม้จะแดงอย่างสีแดงเข้ม ก็จะกลายเป็นเหมือนขนแกะ”
แนวคิดสำคัญประการที่สองของวันทำการลบมลทิน คือ เป็นวันเดียวเท่านั้นที่มหาปุโรหิตได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอภิสุทธิสถานเพื่อประพรมโลหิตแห่งการลบมลทินบาปลงเหนือพระที่นั่งกรุณา
วันทำการลบมลทินคือ เมื่อใด
วันนี้จะมีขึ้นในวันที่ 10 เดือน 7 ทิชรี
เชื่อกันว่าหากพวกเขาไม่กลับใจจากบาป เขาจะถูกตัดออกจากการเป็นประชากรของพระเจ้า
คนยิวถือเทศกาลวันทำการลบมลทินนี้อย่างไรในเมื่อเดี๋ยวนี้ไม่มีพระวิหารในเยรูซาเล็มแล้ว
วันนี้ยังคงเป็นวันอดอาหารและใช้เวลาอยู่ในธรรมศาลาเพื่ออ่านโทราห์ และแทนการถวายเครื่องสัตวบูชาในพระวิหาร รับบีสมัยก่อนหบายคนได้แนะนำให้ทำดีและแสดงความเมตตา
ผู้เชื่อในพระเยซูสามารถเรียนรู้อะไรได้จากวันทำการลบมลทิน
1. วันทำการลบมลทินทำให้เกิดความซาบซึ้งอย่างลึกซึ้งว่าพระเยซูทรงเป็นหลักประกันแห่งความเชื่อของเรา
จำได้ไหมว่าพระเยซูทรงถูกทดลองในถิ่นทุรกันดารกี่วัน 40 วัน
จำได้ไหมว่าคำประกาศแรกของพระเยซูเมื่อออกมาจากการอดอาหาร 40 วันนั้น หรือถ้อยคำแรกที่ถูกบันทึกไว้เมื่อพระองค์ทรงเริ่มพระราชกิจในฐานะพระเมสสิยาห์แห่งอิสราเอลนั้นมีว่าอย่างไร
มัทธิว 4:17 กล่างวไว้ว่า “จงกลับใจเสียใหม่ เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว”
เห็นไหมว่า มีความเหมือนกันระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซู และ 40 วันของ Teshuvah ที่นำไปสู่วันทำการลบมลทิน ข้อความยังคงเหมือนเดิม คือ จงกลับใจเสียใหม่
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ สัปดาห์สุดท้าย เราได้เสนอว่าเทศกาลเสียงแตรเริ่มต้นด้วยแตรที่ 7 ในพระธรรมวิวรณ์ 11:15-58 ต่อเนื่องจากข้อเสนอนี้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะสังเกตว่าข้อความต่อไปในวิวรณ์ 11:19 ได้กล่าวว่า .......
แล้วพระวิหารของพระเจ้าในสวรรค์ก็เปิด ในพระวิหารนั้นเห็นมีหีบพันธสัญญาของพระองค์แล้วมีสายฟ้าแลบ และเสียงต่าง ๆ ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว ลูกเห็บก็ตก
นี่เป็นการอธิบายแรกที่ชัดเจนทีสุดสำหรับวันทำการลบมลทิน เพราะในวันนั้นเท่านั้นประตูของอภิสุทธิสถานจะถูกเปิดออก และมหาปุโรหิตจะสามารถเห็นหีบพันธสัญญาขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อหน้าหีบนั้น เราจะสำรวจดูเนื้อหาในแง่นี้อีกภายหลัง
สิ่งที่เราได้เรียนรู้มาถึงตอนนี้ก็คือว่า พระเยซูทรงถูกนำเข้าสู้พันธกิจในฐานะพระเมสสิยาห์แห่งอิสราเอลตามกำหนดการเช่นเดียวกับเทศกาลเสียงแตรและวันแห่งการลบมลทินบาป
ชีวิตและพระราชกิจของพระเยซูมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือ โดดเดี่ยว การกำเนิด พระราชกิจ การสิ้นพระชนม์ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ล้วนแล้วแต่เกี่ยวโยงกับเทศกาลตามกำหนดแต่โบราณของพระเจ้า และเกี่ยวพันกับพระสัญญาขององค์บริสุทธิ์แห่งอิสราเอล
แม้คำอธิบายถึงวาระสุดท้ายที่อยู่ในพระคัมภีร์วิวรณ์ก็ยังเต็มด้วยภาพต่าง ๆ ที่มาจากเทศกาลในฤดูใบไม้ร่วงที่ได้ยกชูพระเยซูขึ้นเป็นอัลฟาและโอเมกา ผู้ทรงดำรงอยู่ในกาลก่อน ผู้ทรงดำรงอยู่ในปัจจุบัน และผู้ซึ่งจะเสด็จมา!
ความคิดนี้ช่างเป็นที่ปลอบประโลมใจเราว่า ความเชื่อของเราไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของนิยายปรัมปราหรือธรรมเนียมของมนุษย์ แต่อยู่บนพื้นฐานที่มั่นคงของพระคำที่เปิดเผยแก่มวลมนุษย์
Tanakh และ Brit Chadashah
แท้ที่จริง พระเยซูได้ทรงเป็นหลักประกันของพันธสัญญาที่ดีกว่า (ฮีบรู 7:22)
2. พระเยซูทรงเป็นความสมบูรณ์พร้อมของพิธีกรรมทั้งสิ้นในพระวิหารที่ต้องทำในวันทำการลบมลทิน
2.1 ภารกิจเกี่ยวกับกระถางทองคำ
เลวีนิติ 16:12-13
สดุดี 141:2
ฮีบรู 7:25
2.2 เครื่องแต่งกายผ้าลินิน
เลวีนิติ 16:4
อพยพ 28:1-5
2.3 เครื่องสัตวบูชา
เลววีนิติ 16:3 และ กันดารวิถี 29:7-11
ฮีบรู 10:11-14
2.4 ทางเข้าไปภายในม่าน
ปีละครั้งเท่านั้นที่มหาปุโรหิตจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอภิสุทธิสถานโดยผ่านม่านที่แยกส่วนนี้ออกจากวิสุทธิสถาน
เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ม่านแห่งชีวิตก็ฉีกขาดจากบนถึงล่างสุด ชี้ให้เห็นว่า บัดนี้โดยผ่านทางพระโลหิตของพระเยซู พระองค์ได้ทรงเปิดทางเข้าสู่หีบพันธสัญญาแล้ว เราในฐานะผู้เชื่อไม่จำเป็นต้องถวายเครื่องสัตวบูชาด้วยเลือดใดอีกต่อพระพักตร์พระเจ้าเราได้รับการยอมรับบนพื้นฐานแห่งการสละชีวิตของพระเยซู
2.5 พระราชกิจแห่งการไถ่ในฐานะมหาปุโรหิต
มหาปุโรหิตจำเป็นต้องลบมลทินบาปเพื่อตัวเองและครัวเรือนของเขาโดยการถวายวัวเป็นเครื่องบูชาก่อน (เลวีนิติ 16:6) แล้วท่านยังต้องทำการลบมลทินบาปให้ชนชาติอิสราเอล (เลวีนิติ 16:15) และสำหรับวิสุทธิสถาน สถานนมัสการด้วย (เลวีนิติ 16:16-20 , 23)
พระเยซูไม่ใช่เช่นนั้น
ฮีบรู 7:26-28
ฮีบรู 9:11-14
ข้อความจากบาบิโลเนีย , Yom 39b
รับบีของเราสอนว่าระหว่าง 40 ปีสุดท้าย ก่อนการทำลายพระวิหาร ผ้าสีแดงที่เคยเปลี่ยนเป็นสีขาวอยู่เสมอนั้นได้หยุดเป็นสีขาว
ประตูพระวิหารเปิดออกเองราวกับจะบอกว่า บัดนี้เจ้าทุกคนได้รับการต้อนรับให้เข้ามาอยู่ต่อหน้าเรา แล้วจากเชิงตะเกียงทองคำด้านตะวันตกดับอยู่เสมอราวกับจะบอกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์มิได้สถิตอยู่อีกต่อไปแล้ว เกิดอะไรขึ้น พระเจ้าทรงละทิ้งหลักการของพระองค์แล้วหรือ พระองค์ไม่เต็มพระทัยที่จะไถ่บาปให้แก่อิสราเอลอีกแล้วหรือ
คำตอบต่อคำถามที่ทวนใจเหล่านี้อยู่ที่การทำความเข้าใจชายชาวยิวผู้หนึ่ง คือ พระเยซูชาวนาซาเร็ธไม่ใช้เรื่องบังเอิญเลยที่เมื่อ 40 ปี ก่อนพระวิหารจะถูกทำลายในวันที่ 14 นิสาน รับบีชาวยิวผู้นี้ได้ตายบนไม้กางเขนและพระองค์เป็นลูกแกะของพระเจ้าซึ่งได้รับเอาความบาปของโลกไป ! ดังนั้น ผ้าแดงที่แขวนอยู่ที่ประตูพระวิหารจะไม่เปลี่ยนเป็นสีขาวอีกต่อไปเพราะพระเยซูได้กลายมาเป็นเครื่องบูชาอันสมบูรณ์ที่ถูกส่งมาให้แก่เราครั้บงเดียวเป็นพอ ไม่มีเครื่องบูชาชนิดอื่นใดจะสามารถทำให้พระเจ้าพอพระทัยได้อีกต่อไปแล้ว !
3. พระเยซูจะกลับมาเมื่อมีเสียงแตรครั้งสำคัญในวันทำการลบมลทินในปี แห่งการเฉลิมฉลองครบรอบปีเฉลิมฉลองการครบรอบเกี่ยวาข้องอย่างยิ่งกับวันทำการลบมลทิน
ทุกปี่ที่ 7 เป็นปีสะบาโตขณะที่ทุกปีที่ 50 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครอบรอบ (Jubilee) กล่าวอีกแง่หนึ่ง คือ 7 สะบาโตของปี (7´7 = 49) และปีต่อไปจะเป็นปีแห่งการครบรอบ
จูบิลี (ปีแห่งการครบรอบ) หมายถึง ช่วเวลาแห่งการร้องตะโกน คำฮีบรู คือ “yobel” หรือ เสียงเป่าเขาสัตว์ เป็นการเป่าเขาแกะ
อ่านเพิ่มเติมใน เลวีนิติ 25:8-55
อย่างแรกในจูบิลีนี้ จะต้องเป่าประกาศถึงเสรีภาพให้ดังทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทินของปีที่ 50! (เลวีนิติ 25:9)
ปีที่ 50 เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ (เลวีนิติ 25:12
ทุกคนจะต้องกลับคืนสู่ทรัพย์สินของตน หากเขาเป็นคนจนและได้สูญเสียหรือจำนองหรือขายทรัพย์สินหรือมรดกของเขาไป ในปีเป่าเขาสัตว์เขาจะสามารถกลับมาเป็นเจ้าของได้อีก นี่เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเขาไม่สามารถไถ่คืนหรือให้ญาติที่เป็นผู้ไถ่คืนไถ่มาให้ได้ (เลวีนิติ 25:13-17,23-34;กันดารวิถี 36:4) ทาสทุกคนจะได้รับการปลดปล่อยในปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ หากพี่น้องเกิดยากจนลงและต้องขอยืมเงินเพื่อดำรงชีวิต หรือขายตัวให้เป็นทาสรับใช้ ในปีเป่าเขาสัตว์นี้เขาจะได้รับอิสระหากว่าไม่มีญาติมาไถ่เขาได้ในระหว่างช่วงเวลาก่อนปีเป่าเขาสัตว์ (เลวีนิติ 25:35-55) เสียงของแตรในปีเป่าเขาสัตว์เป็น “เสียงที่ชื่นชมยินดี” ซึ่งอวยพรประชากรของพระเจ้า (สดุดี 85:15)
ปีนี้เป็นเวลาของควาร่าเริงยินดีในอิสราเอลเพราะมีการประกาศอิสรภาพด้วยเสียงแตรในแผ่นดิน มีการยกหนี้ ทาสได้รับการปลดปล่อย ครอบครัวกลับมารวมกัน มรดกทรัพย์สินที่สูญเสียหรือถูกจำนองได้รับกลับคืน เป็นปีแห่งการร้องตะโกนอย่างแท้จริง (ภาษาฮีบรู : yobel)
เมื่อพระเยซูเริ่มพระราชกิจของพระองค์ พระองค์อธิบายถึงพระราชกิจของพระองค์ไว้ในลูกา 4:17-19ว่า พระวิญญาณขององค์พระผู้เป็นเจ้าอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ได้ทรงเจิมข้าพเจ้าให้
1) ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน
2) ประกาศการปลดปล่อยแก่เชลย
3) ทำให้คนตาบอดมองเห็น
4) ปลดปล่อยผู้ถูกเหยียบย่ำให้เป็นอิสระ
5) ประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า
พระเยซูเสด็จมาและประกาศปีแห่งการเป่าเขาสัตว์ในการเสด็จมาครั้งแรก พระองค์จะเสด็จมาอีกเป็นเวลาแห่งการชดเชย (KJV , กิจการ 3:21) หรือ NASB เรียกว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการรื้อฟื้นสิ่งสารพัดขึ้นใหม่ ไม่มีสิ่งใดเหมาะสมสำหรับการเสด็จกลับมาของพระเยซูมากไปกว่าในวันทำการลบมลทินในปีเป่าเขาสัตว์สุดท้าย
ภาพของการพิพากษาสุดท่ายที่เกี่ยวข้องกับสภาพท้องฟ้าอากาศที่ปรากฎใน วิวรณ์ 19 และ 20 สะท้อนถึงลักษณะพิเศษของวันทำการลบมลทิน เช่นเดียวกับที่มหาปุโรหิตสวมใส่เครื่องแต่งกายผ้าฝ้ายขาวบริสุทธิ์อย่างพิเศษในวันทำการลบมลทิน พระเยซูก็จะทรงสวมเสื้อผ้าพิเศษในการเสด็จกลับมาครั้งที่สองด้วย!
พระองค์จะสวมอาภรณ์ที่จุ่มด้วยเลือด (วิวรณ์ 19:13) เป็นเครื่องรำลึกถึงเลือดที่มหาปุโรหิตใช้ในวันทำการลบมลทินเพื่อชำระสถานนมัสการ
นอกจากนี้ พระเยซูมิได้ถือเลือดไว้เหมือนมหาปุโรหิตในสมัยโบราณ แต่ทรงสวมชุดที่จุ่มพระโลหิตของพระองค์ซึ่งชำระล้างบาปทั้งปวงของประชาชน และประชาชนเหล่านี้ก็ “สวมอาภรณ์ผ้าป่านเนื้อละเอียดขาวบริสุทธิ์ ได้นั่งบนหลังม้าขาวตามเสด็จพระองค์ไป” (วิวรณ์ 19:14)
ผลลัพธ์ของการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูยังเหมือนกับผลของวันทำการลบมลทินด้วยพระเยซูทรงทำลายคนชั่วร้ายด้วย “พระแสง” ของพระองค์ (วิวรณ์ 19:21) เตือนให้เราระลึกถึงผู้ไม่สำนึกผิดที่ถูก “ตัดออก” ในวันทำการลบมลทิน (เลวีนิติ 23:29) ซาตานถูกมัดและโยนทิ้งลงไปใน “นรก” (วิวรณ์ 20:3) เตือนให้เราคิดถึงการส่งอาซาเซลเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร (หรือโยนทิ้งจากหน้าผาลงไปในหุบเหว!) (เลวีนิติ 16:21)
ผู้ชอบธรรมฟื้นขึ้นและครอบครองร่วมกับพระคริสต์ เตือนให้ระลึกถึงเสรีภาพและการเพิกถอนหนี้สิน รวมถึงความชื่นชมยินดีในเสรีภาพในวันทำการลบมลทิน (เลวีนิติ 25:9)
วันทำการลบมลทินเป็นที่รู้จักในภาษาฮีบรูว่า Yom Ha Peduth ซึ่งมีความหมายว่า “วันแห่งการไถ่”
ในลูกา 21:27-28 กล่าวว่า “เมื่อนั้นเขาจะเห็นบุตรมนุษย์เสด็จมาในเมฆทรงฤทธานุภาพ และพระสิริเป็นอันมาก เมื่อ เหตุการณ์ทั้งปวงนี้เริ่มจะบังเกิดขึ้นนั้นท่านทั้งหลายจงยึดตัวและผงกศีรษะขึ้น ด้วยการไถ่ท่านใกล้จะถึงแล้ว”
เศคาริยาห์ 12:10 และเศคาริยาห์ 13:1
บทสรุป
วันทำการลบมลทินเป็นเทศกาลขององค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อ
1. ซาบซึ้งในพระเยซู
2. ให้เห็นว่าพระเยซูทรงเป็นผู้ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ ในพระวิหารครบถ้วนบริบูรณ์
3. รอคอยการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซู
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
คริสเตียนกับงานรับใช้เป็นอะไรที่คู่กัน เมื่อเป็นคริสเตียนเราต้องรับใช้ เราเองก็ต้องมีเป้าหมายในการรับใช้ตามของประทานทางใดทางหนึ่ง หลายคนไม...
-
YAHWEH Rapha ยาห์เวห์ ราฟา (เราเป็นพระเจ้าแพทย์ของเจ้า) สวัสดีครับพี่น้องที่รักในพระคริสต์ วันนี้เมื่อได้เข้าสู่เดือน Iyar หรือ อิยาห์...
-
ถ้าใครตบแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย มัทธิว อย่าต่อสู้คนชั่ว มธ. 5:39 ส่วนเราบอกพวกท่านว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าใครตบแ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น