วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทศกาลถวายผลแรก



ผลแรก :  Bikkurim  ในภาษาฮีบรู

เทศกาลถวายผลแรกคืออะไร

เลวีนิติ 23:9-14

ชาวอิสราเอลจะต้องถือ เทศกาลนี้หลังจากได้เข้าไปในดินแดนพระสัญญาแล้ว  ประวัติศาสตร์บันทึกว่าจะมีการเกี่ยวฟ่อนข้าวในคืนวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันเริ่มแรกขงอสัปดาห์  แล้วจะมีพิธียื่นถวายให้พระเจ้าทรงรับในวันแรกของสัปดาห์ (วันอาทิตย์) ในระหว่างเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ (เลวีนิติ 23:11)

ในวันที่มีเทศกาลนี้  ฟ่อนข้าวแรกของการเก็บเกี่ยวจะถูกนำมายังพระวิหาร  ปุโรหิตจะโบกรวงข้าวนี้ต่อพระพักตร์พระเจ้าเพื่อให้พระเจ้าทรงยอมรัรบบุคคลนั้น

จะไม่มีการเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์ที่เหลือในทุ่งจนกว่าจะมีการยื่นถวายฟ่อนข้าวนี้ก่อน  จะไม่มีใครกินขนมปังหรือข้าวคั่วหรือข้าวสดจากแผ่นดินจนกว่าเขาจะได้ถวายฟ่อนข้าวที่เป็นผลแรกของการเก็บเกี่ยวต่อพระพักตร์องค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว

เทศกาลถวายผลแรกกระทำเมื่อใด


เลวีนิติ 23:11 “วันถัดจากวันสะบาโต”  หรืออีกสำนวนหนึ่งว่า “รุ่งขึ้นหลังจากวันสะบาโต” ถ้าเราจำลำดับของเทศกาลของพระเจ้า 2 เทศกาลก่อนได้  จะพบว่าตกอยู่ในวันที่  14 นิสาน , 15 นิสาน ตามลำดับ หลังจากวันสะบาโตปกติในวันที่ 16 นิสาน จะเป็น “รุ่งขึ้นถัดจากวันสะบาโตนี้” ซึ่งก็หมายถึงวันที่ 17 นิสาน  กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะตรงกัยวันแรกของสัปดาห์เสมอ

ผู้เชื่อเรียนรู้อะไรจากเทศกาลถวายผลแรก

มี 3 สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากเทศกาลนี้

1.  เทศกาลผลแรก ยืนยันถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูในวันที่สามของปัส

คำพยานจากเปาโล  ซึ่งเป็นรับบีชาวยิว       (1 โครินธ์ 15:20-26)

คำพยานจากพระเยซู  ซึ่งเป็นรับบีชาวยิว    (มัทธิว 12:38-40 ;17:22-23)

วันที่ 17 นิสาน (อาวีฟ) หรือวันที่ 3 ของปัสกา เป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับเหตุการณ์อื่น ๆ ในพระคัมภีร์ด้วย

เรือของโนอาห์ค้างอยู่บนภูเขาอารารัต (ปฐมกาล 8:4)

ชนชาติอิสราเอลข้ามทะเลแดง  (อพยพ 14)

อิสราเอลได้กินผลแรกปห่งดินแดนพระสัญญา  (โยชูวา 5:10-12)

กำแพงเมืองเยรีโคพังทลาย  (โยชูวา 5:13)

ฮามาน  ผู้เกลียดชังชาวยิวพ่ายแพ้  (เอสเธอร์ 3-6)

โอกาสของความบังเอญที่มาประจวบเหมาะกันเช่นนี้ เท่ากับ  1:783 , 864 , 876 , 960 , 000 , 000

พระเจ้าทรงเลือกใช้วันพิเศษนี้ คือ วันที่ 17 นสานเป็นวันที่ทรงชุบพระเยซูให้ฟื้นขึ้นเพื่อจะทรงสำแดงแก่โลกนี้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมเหตุการณ์ทั้งสิ้นในโลกนี้  พระจเทรงสมบูรณ์พร้อมและกำหนดเวลาของพระองค์ก็สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกัน  พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงมีกำหนดเวลาที่แน่นอน!

2.  เทศกาลผลแรกเน้นย้ำพันธกิจของพระเยซูในฐานะพระเมสสิยาห์

พระเยซูในฐานะเครื่องบูชาที่พอพระทัย

นอกเหนือจากการโบกยื่นถวายฟ่อนข้าว  เครื่องสัตวบูชาและเครื่องถวายบูชาอื่นๆ ที่พระเจ้าทรงบัญชาไว้สำหรับการประกอบพิธีนี้ ต่างก็ชี้ไปยังองค์พระเยซูคริสต์ (เลวีนิติ 23)

ลูกแกะผู้ที่ปราศจากตำหนิ  (ข้อ 12)

ยอดแป้ง  (ข้อ 17)

ผสมกับน้ำมัน  (ข้อ 13)

เผาด้วยไฟ  (ข้อ 12)

กลิ่นที่พอพระทัย  (ข้อ 13)

เหล้าองุ่นเครื่องดื่มบูชา  (ข้อ 13)

พระเยซูในฐานะมหาปุโรหิตที่ทรงฟื้นขึ้น

ฟ่อนข้าวที่โยกยื่นถวายระหว่างเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ (เลวีนิติ 23:6-11)  เป็นกายเล็งถึงพระเยซูผู้ทรงฟื้นขึ้นซึ่งบัดนี้กำลังทำการปรนนิบัติในฐานะมหาปุโรหิตของเรา  (ฮีบรู 4:14)

คำที่น่าสนใจศึกษาในข้อความจากเลวีนิติตอนนี้ คือ คำว่า “โบก (ยื่นถวาย)” ในเลวีนิติ 23:11 ความหมายดั้งเดิมในภาษาฮีบรูไม่ใช่เป็นแต่เพียงกริยาของการ “โบก” อย่าที่เราคิด แต่แปลว่า “ยกขึ้นหรือยกสูงขึ้น”

ดังนั้น  เมื่ออ่านข้อ 11 และ 12 จะแปลได้ดังนี้

“เขา (ปุโรหิต) จะยกฟ่อนข้านั้นขึ้นถวายแด่พระเจ้า  เพื่อเจ้าจะเป็นที่ยอมรับของพระองค์ ปุโรหิตจะยกฟ่อนข้าวนั้นขึ้นในวันรุ่งขึ้นหลังวันสะบาโต (12) ในวันที่เจ้ายกฟ่อนข้าวนั้นขึ้น เจ้าจะถวายลูกแกะผู้อายุหนึ่งขวบไม่มีตำหนิเป็นเครื่องเผาบูชาถวายแด่พระเจ้า”

พระเยซูได้ทรงใช้แนวคิดเรื่องผลแรกจะต้องถูกยกขึ้นในการสอนสาวกของพระองค์ เมื่อเวลาผ่านไปเกือบ 1500 ปี นับจากเทศกาลนี้ได้ถูกสถาปนาขึ้นในอิสราเอล

พระเยซูได้ทรงกล่าวว่า  พระองค์ในฐานะบุตรมนุษย์จะต้องถูกยกขึ้นจากแผ่นดินโลก และจะนำคนทั้งปวงมาหาพระองค์ (ยอห์น 12:32)



เมื่อเราเห็นพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ผู้ทรงฟื้นคืนพระชนม์ สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับเรา
เราเป็นประชากรที่มีข่าวสาร

เราเป็นประชากรที่มีความหวัง

ในยากอบ 1:18

1 โครินธ์ 15:20

มัทธิว 27:52-53

วิวรณ์ 14:4

โรม 8:23

เอเฟซัส 1:13-14

3.  เทศกาลผลแรกเรียกร้องให้มีชีวิตที่มอบถวาย

รากของคำว่า “ผลแรก” (Bikkurim)  มาจากคำฮีบรู “Bekhor” ซึ่งหมายความว่า บุตรหัวปี มีบางสิ่งเป็นความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับการถวายสิ่งที่เป็นผลแรกของเราให้แก่พระเจ้า

โคโลสี 3:1,3,4

2 โครินธ์ 4:16

กาละเทีย 5:22

มนุษย์วิ่งตามของประทาน แต่พระเจ้าทรงมองหาผลในชีวิตของเรา  คุณพร้อมหรือยัง

คุณจำเป็นต้องตายเพื่อจะรับการฟื้นขึ้นใหม่

พระเยซูทรงวางตัวอย่างของการถวายพระองค์เองทั้งหมดให้แก่พระเจ้า

ในยอห์น 12:23-24 พระเยซูทรงอธิบายจุดประสงค์ของพระองค์แก่บรรดาสาวกโดยทรงใช้อุปมาเรื่องเมล็ดพืชอีกครั้ง  เป็นการเตือนให้รำลึกถึงการถวายธัญบูชาผลแรก

“ถึงเวลาแล้วที่บุตรมนุษย์จะประสบเกียรติกิจ  เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงไปในดินและเปื่อยเน่าไป ก็จะคงอยู่เป็นเมล็ดเดียว  แต่ถ้าเปื่อยเน่าไปแล้ว ก็จะงอกขึ้นเกิดผลมาก” (ยอห์น 12:23,24)

สรุป

ปัสกาทำให้เราน้อมใจเข้าสู่การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเพื่อลบมลทินบาป  เรารับพระโลหิตทาเหนือวงกบประตูแห่งชีวิตของเรา



เทศกาลขนมปังไร้เชื้อ ท้าทายให้เราถอดธรรมชาติเก่าหรือเชื้อที่มีอยู่ในชีวิตทิ้งไป


เทศกาลผลแรก

i)  ยืนยันรับรองการฟื้นคือพระชนม์ของพระเยซูในวันที่ 3 ของปัสกา

ii)  เน้นย้ำพันธกิจของพระเยซูในฐานะพระเมสสิยาห์

iii) เรียกร้องให้ผู้เชื่อดำเนินชีวิตที่มอบถวาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น