วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

เทศกาลเพ็นเทคอสต์ (shavuot)

เทศกาลเพ็นเทคอสต์ (shavuot)
(เขียนครั้งที่ 2)
เทศกาลเพ็นเทคอสต์

เทศกาลเพนเทคอสต์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Shavuot” เกิดต่อจาก “เทศกาลปัสกา” นับจากเทศกาลถวายผลแรกหรือ “Bikkurim” เป็นวันที่ 50  หรือ 7 สัปดาห์ (7x 7 = 49) ใน อพยพ 19 และ 20 ได้ปูพื้นฐานไว้ให้แก่เทศกาลเพ็นเทคอสต์ แก่นสารสำคัญของพระธรรมอพยพ คือ  ออกไปเพื่อสรรเสริญ ที่ภูเขาซีนายนี้  ในเดือนที่สามคือเดือนสิวาน และวันที่ 50 ในการนับโอเมอร์ “omer” มีความหมายว่า {กำ}{กลุ่ม}{กอง}{ฟ่อน}  คือมัดฟ่อนข้าวที่เก็บเกี่ยว เป็นหน่วยวัดตวงในสมัยนั้น (เลวีนิติ 23: 15-21)
ที่ซีนายพวกเขาได้รับประสบการณ์ในการทรงประทานพระบัญญัติแก่พวกเขา คือบัญญัติ 10 ประการในแผ่นศิลาทั้งสอง ให้เป็นประชาชาติหนึ่ง  เทศกาลนี้น่าจะเป็นเทศกาลที่พระเจ้าทรงหมายไว้ในพระทัย  เมื่อพระองค์ตรัสบอกโมเสสว่าฟาโรห์จะต้องปล่อยประชากรของพระองค์ไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อ “นมัสการแด่พระองค์” (อพยพ 5:1)

อพย. 5:1 ต่อมาภายหลังโมเสสกับอาโรนพากันเข้าเฝ้าฟาโรห์ ทูลว่า “พระยาห์เวห์ พระเจ้าของอิสราเอลตรัสดังนี้ว่า ‘จงปล่อยประชากรของเราไป เพื่อพวกเขาจะได้ฉลองเทศกาลเลี้ยงให้เกียรติเราในถิ่นทุรกันดาร’ ”

และในถิ่นทุรกันดารนี้เองที่พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานคำสั่งในการสร้างพลับพลาให้กับโมเสส  และแต่งตั้งอาโรนเป็นปุโรหิตและระบบการถวายเครื่องบูชาที่มีรายละเอียดอย่าง ดังนั้นในเทศกาลเพนเทคอสต์ มีจุดเด่น 2 ประการ ที่ทำให้แตกต่างจากเทศกาลอื่น ๆ ที่ปรากฎในพระคัมภีร์ อย่างแรกคือ “ชื่อ” และอย่างที่สองคือ “เวลา” ในการเฉลิมฉลอง

ชื่อในพระคัมภีร์
อันดับแรก  เทศกาลนี้มีมากกว่าหนึ่งชื่อ ชื่อปรากฎในพระคัมภีร์ และชื่ออยู่ในคำสอนของบรรดารับบาย

1. เทศกาลสัปดาห์ (ภาษาฮีบรู : Chag  Ha-shavuot) บางครั้งเราเรียกว่า “shavuot” นี่เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเทศกาลนี้ในพระคัมภีร์ (อพย. 34:22 ; ฉลย. 16:10) ที่เรียกว่าเทศกาลสัปดาห์เพราะมีขึ้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์หนึ่งวันหลังจากเทศกาลปัสกาเป็นวันที่ 50 หลังจาก 49 วันหรือ 7 สัปดาห์

อพย. 34:22 จงถือเทศกาลสัปดาห์ด้วยพืชผลแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวสาลี และถือเทศกาลเก็บผลิตผลในปลายปี

ฉธบ. 16:9 “ท่านจงนับให้ครบเจ็ดสัปดาห์ จงตั้งต้นนับเจ็ดสัปดาห์เริ่มด้วยวันแรกที่ท่านใช้เคียวเกี่ยวข้าว
ฉธบ. 16:10 ท่านจงถือเทศกาลสัปดาห์ถวายแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน ตามขนาดของถวายตามใจสมัครจากมือของท่าน ซึ่งท่านจะถวายตามที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงอวยพรแก่ท่าน

2. เทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยว (ฮีบรู : Chag ha-Katsir) “เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยวข้าว”ที่ใช้ชื่อนี้เพราะเทศกาลเพ็นเทคอสต์แสดงถึงการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวใน ฤดูใบไม้ผลิ (อพย.23:16) แล้วชาวนาทุกคนก็จะรอคอยฤดูการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปซึ่งเรียกว่า การเก็บรวบรวมผลิตผลในเทศกาลพลับพลา  ผลิตผลหลักที่จะต้องเก็บเกี่ยวในเทศกาลเพ็นเทคอสต์ คือ ข้าวสาลี

อพย. 23:16 และจงถือเทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลแรกที่เกิดจากแรงงานของเจ้า ซึ่งเจ้าได้หว่านพืชลงในนา เจ้าจงถือเทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บพืชผลปลายปี เมื่อเจ้าเก็บพืชผลจากทุ่งนาอันเป็นผลงานของเจ้า

3. วันแห่งผลิตผลแรก (ฮีบรู : Yom Ha-Bikkurim)  ที่เรียกเช่นนี้เพราเทศกาลเพ็นเทคอสต์ช่วยให้เข้าใจว่าเป็นช่วงเวลาแห่ง ผลิตผลรุ่นแรกของการเก็บเกี่ยวในฤดูร้อน (กันดารวิถี 28:26) ชื่อนี้จึงเข้ากันได้ดียิ่ง กับสาระในเรื่องของผลแรกและการเก็บเกี่ยวอันอุดมสมบูรณ์

กดว. 28:26 “และในวันถวายผลรุ่นแรก เมื่อเจ้าทั้งหลายเอาธัญบูชาใหม่มาถวายแด่พระยาห์เวห์ในเทศกาลสัปดาห์นั้น เจ้าจงมีการประชุมบริสุทธิ์ ห้ามเจ้าทำงานอาชีพใดๆ ในวันนั้น

4. วันเพ็นเทคอสต์   "Pentecost" ชื่อนี้เป็นคำภาษากรีกซึ่งพวกเราคริสเตียนส่วนมากรู้จักดี  เป็นคำที่มาจากคำแปลภาษากรีกใน
กิจการ 2:1 , กิจการ 20:16  และ 1 โครินธ์ 16:8 คำกรีก “pentekostes” หมายความว่า ห้าสิบ “50” ที่ใช้คำนี้เพราะ shavuot เกิดขึ้นหลังปัสกา  50 วัน  หากปราศจากศึกษาต้นตอจากฮีบรู  พวกเราส่วนมากมักจะมองไม่เห็นคามหมายที่อยู่เบื้องหลัง ชื่อ และ ข้อเท็จจริงที่อยู่ในภาษากรีกนี้

กจ. 2:1 เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคอสต์มาถึง พวกสาวกรวมตัวอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน

ชื่อในทัลมุดและคำสอนของบรรดารับบาย

1. การปิดฉากเทศกาลปัสกา (ฮีบรู : Afzeret  Shel  Pesach) “Afzeret คือหยุด” ที่ใช้ชื่อนี้เพราะพวกรับบายเห็นว่าเทศกาลนี้เป็นเทศกาลสุดท้ายของเทศกาลต่าง ๆ ในวงจรแรก  ซึ่งเริ่มขึ้นด้วยเทศกาลปัสกา  คำนี้ยังทำให้เราได้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เข้ากันได้สนิทระหว่างเทศกาล เลี้ยงของพระเจ้าที่สำคัญสองเทศกาล ซึ่งเราจะศึกษาต่อไป เราจึงเรียกชาวูโอตว่า “ความครบถ้วนของปัสกา”

2. เทศกาลแห่งการประทานพระบัญญัติหรือ โทราห์ (ฮีบรู : Z’man  Matan  Torah)  ชื่อที่พวกรับบายใช้นี้อยู่บนพื้นฐานธรรมเนียมของยิวที่ว่า พระเจ้าทรงประทานพระบัญญัติของโมเสสแก่อิสราเอลในวันนี้   เทศกาลนี้ได้มีการพัฒนามา จากหลักฐานต่างๆ นี่เป็นช่วงเวลาที่พระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติให้แก่คนอิสราเอลที่ซีนาย และอ่านธรรมบัญญัติในเทศกาลนี้ด้วยการใคร่ครวญ นี่ก็เป็นความเข้าใจแบบเดิมอีกอย่างหนึ่งที่ให้แนวทางช่วยเราให้เข้าใจความ หมายของเทศกาลนี้สำหรับผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซู

เทศกาลเพ็นเทคอสต์เกิดขึ้นเมื่อใด
ใน เลวีนิติ 23:15-16
ลนต. 23:15 “ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจนถึงวันสะบาโต จงนับให้ได้ครบเจ็ดสัปดาห์เต็มๆ คือนับจากวันที่พวกเจ้านำพืชผลรุ่นแรกเข้ามาทำพิธีโบกถวายเป็นต้นไป
ลนต. 23:16 นับไปให้ได้ห้าสิบวัน จนถึงวันถัดจากวันสะบาโตที่เจ็ด แล้วเจ้าจงนำเมล็ดใหม่มาถวายแด่พระยาห์เวห์เป็นธัญบูชา
ลนต. 23:17 จงนำขนมปังสองก้อนทำด้วยแป้งสองกิโลกรัมจากที่อาศัยของพวกเจ้ามาทำพิธีโบกถวาย ให้ทำด้วยแป้งอย่างดีใส่เชื้อปิ้งเป็นผลรุ่นแรกถวายแด่พระยาห์เวห์
ลนต. 23:18 พร้อมกับขนมปังนั้นเจ้าจงนำลูกแกะเจ็ดตัวอายุหนึ่งปีปราศจากตำหนิ โคหนุ่มตัวหนึ่ง แกะผู้สองตัว มาเป็นเครื่องบูชาเผาทั้งตัวถวายแด่พระยาห์เวห์ พร้อมกับธัญบูชาและเครื่องดื่มบูชาซึ่งคู่กัน ให้เป็นเครื่องบูชาด้วยไฟ เป็นกลิ่นพอพระทัยถวายแด่พระยาห์เวห์
ลนต. 23:19 จงถวายแพะผู้ตัวหนึ่งเป็นเครื่องบูชาลบล้างบาป และลูกแกะผู้อายุหนึ่งปีสองตัวเป็นเครื่องศานติบูชา
ลนต. 23:20 ให้ปุโรหิตโบกถวายพร้อมกับขนมปังซึ่งเป็นผลรุ่นแรก เป็นเครื่องโบกถวายแด่พระยาห์เวห์พร้อมกับลูกแกะสองตัว เป็นของถวายบริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์สำหรับปุโรหิต
ลนต. 23:21 และในวันเดียวกันนั้น เจ้าจงประกาศให้มีการประชุมบริสุทธิ์ ห้ามทำงานประจำใดๆ ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตามที่พักอาศัยของเจ้าตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า

ธรรมเนียมและการปฏิบัติของชาวยิวในเทศกาลเพ็นเทคอสต์

เมื่อ พระวิหารถูกทำลายชาวยิวจะใช้เวลาศึกษาโทราห์ตลอดคืน ช่วงเวลาวิหารหลังที่ 2 (515 กคศ.ถึง คศ. 70) พวกเขาจะอ่านพระคัมภีร์จากอพยพ 19 และ 20 และเอเสเคียล 1 และ 3:12 รวมทั้งพระธรรมนางรูธ  เป็นส่วนหนึ่งของการอ่านโทราห์ สำหรับวันแรกของเทศกาลเพ็นเทคอสต์พวกเขาจะรับประทานผลิตผลนมเนยระหว่าง เทศกาลนี้  พิธีกรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ การโบกขนมปังสองก้อน

ผู้เชื่อในพระเยซูสามารถเรียนรู้อะไรจากเทศกาลเพ็นเทคอสต์

1. เทศกาลเพ็นเทคอสต์เล็งถึงการเทลงมาจากพระเจ้า
จำชื่ออื่นๆ ของเทศกาลเพ็นเทคอสต์ได้ไหม เช่น เทศกาลสัปดาห์  เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว  วันแห่งผลิตผลแรก  เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากชื่อที่ใช้เรียกเทศกาลของพระเจ้านี้

เมื่อมอง ดูในแง่ของสภาพทางการเกษตร  เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยวเป็นเทศกาลเพื่อถวายเกียรติแด่พระมหากษัตริย์แห่ง จักรวาล และในทางกลับกัน ประชาชนก็คาดหวังให้ฝนแห่งพระพรจากฟ้าสวรรค์หลั่งลงมาบนท้องทุ่งของเขา เพื่อการเก็บเกี่ยวในอนาคต

ประเทศอิสราเอลได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งข้าว บาร์เลย์และข้าสาลี (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:7-8) การเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลีในฤดูใบไม้ผลิจะมาก่อนการเก็บเกี่ยว ครั้งสำคัญในฤดูใบไม้ร่วง ขึ้นอยู่กับฝนที่ตกลงมาในเวลาอันเหมาะฝนในฤดูใบไม้ร่วงเรียกว่าฝนต้นฤดู  ฝนในฤดูใบไม้ผลิเรียกว่าฝนปลายฤดู  ฝนต้นฤดูนี้มีกากล่าวถึงไว้ใน เฉลยธรรมบัญญัติ 11:10-15 , และโยเอล 2:23

องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าพระองค์จะเสด็จมาหาประชากรของพระองค์อย่างห่าฝน (โฮเชยา 6:1-3)
ใน ความหมายทางธรรมชาติ ในเทศกาลนี้ ผู้คนจะคาดหวังให้ฝนตก  แต่ในความหมายฝ่ายวิญญาณ พระเจ้าได้ทรงกระทำสิ่งที่อัศจรรย์ยิ่งกว่าการเทลงมาของฝน

การเทลงมาครั้งแรกที่ภูเขาซีนายในถิ่นทุรกันดาร
อพยพ 19:18 และอพยพ 20:18 วาดภาพที่น่าตื่นใจว่า เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นอย่างไร
รับบี  โมเธ่  ไวส์แมน กล่าวว่า :ลูก หลานของอิสราเอลไม่เพียงแต่ได้ยินพระสุรเสียงของ Hashem (องค์พระผู้เป็นเจ้า)เท่านั้น แต่ที่จริงพวกเขายังได้เห็นคลื่นเสียงที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ด้วย  พวกเขาได้เห็นภาพคลื่นเสียงเหล่านี้เป็นไฟที่สัมผัสได้

การเทลงมาครั้งที่สองที่เยรูซาเล็ม
มี เหตุการณ์อีกเหตุการณ์เดียวเท่านั้นที่สามารถจับคู่เข้ากับการเทลงมาอย่าง น่าอัศจรรย์ใจเช่นนี้  นั่นคือ ในเทศกาลเพ็นเทคอสต์อีกครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ 1,500 ปีต่อมา ซึ่งได้บันทึกไว้เพื่อเราในกิจการ 2เห็นแล้วใช่ไหม  ว่าพระเจ้าทรงเยี่ยมเยียนตามกำหนดเวลานัดหมายของพระองค์ !

เหตุการณ์ที่นำไปสู่ กิจการ 2
พระเยซูทรงฟื้นขึ้นมาในวันที่ 3 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในวันปัสกา
พระเยซูทรงอยู่กับสาวกของพระองค์เป็นเวลา 40 วัน

พระ เยซูทรงตรัสบอกสาวกของพระองค์ให้พักอยู่ในเยรูซาเล็ม และคอยรับตาม “พระสัญญาของพระบิดา” และกิจการ 1:8  10 วันต่อมา  ในวันเพ็นเทคอสต์  หรือเทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว  สาวกชาวยิวของพระองค์  เช่นเดียวชาวยิวที่อุทิศตัวทั้งหลายได้รวมกันอยู่เมื่อเวลา 9 โมงเช้า (หรือ 3 โมง) ที่ลานพระวิหาร  เพื่อถวายเครื่องบูชาในตอนเช้าที่พระวิหาร  ช่วงหนึ่งหรือหลังการถวายเครื่องบูชาในตอนเช้า  พวกเขาคงจะอ่านข้อความจากโทราห์สำหรับวันนั้น คือ เอเสเคียล 1 และ 3:12 ซึ่งกล่าวถึงพระสิริของพระเจ้าที่เอเสเคียลได้เห็น

กิจการ 2:2-3
กจ. 2:2 ในทันใดนั้นมีเสียงมาจากฟ้าเหมือนเสียงพายุแรงกล้าดังก้องทั่วตึกที่เขานั่งอยู่นั้น
กจ. 2:3 และพวกเขาเห็นบางสิ่งที่คล้ายเปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้นแผ่กระจายอยู่บนตัวพวกเขาทุกคน

บัพติศมาคน 3,000
สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับเรา?

การเตรียมเพื่อรับการเทลงมาจากพระเจ้า และจุดประสงค์ของการเทลงมาจากพระเจ้า

ก.  การชำระตัวถวายมาก่อนการได้รับฤทธิ์เดช
ถ้าคุณลองทบทวนดู  เทศกาลปัสกาเป็นการปลดปล่อยจากพันธนาการแห่งบาป  เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อเป็นการท้าทายให้ถอดธรรมชาติเก่าทิ้งไป  เทศกาลถวายผลแรกเป็นการทรงเรียกให้มีชีวิตอุทิศถวาย
จำไว้ว่า เพ็นเทคอสต์ยังได้ชื่ออีกว่าเป็น “การปิดฉากของปัสกา” (ฮีบรู : Atzeset Shel Pesach) ดังนั้น  เทศกาลเพ็นเทคอสต์ เป็นหมายของการจบสิ้นของกระบวนการนับจากการปลดปล่อยไปสู่การชำระตัวถวาย ด้วยการประทานฤทธิ์อำนาจในขั้นสุดท้ายจากพระเจ้าลงมายังผู้เชื่อวางใจในพระเยซู เพื่อจะดำเนินชีวิตที่สมกับการทรงเรียกในพระเยซูคริสต์

นอกจากนี้ ช่วงเวลา 50 วัน ระหว่างปัสกากับเพ็นเทคอสต์ยังถือว่าเป็น “การนับ Omer” (Sefirat  Ha  Omer)
ตามที่ผู้อาวุโสชาวยิวเล่าสืบกันมา  ช่วงเวลานี้เป็นเวลาสำหรับการเตรียมตัวของประชากรของพระเจ้าที่จะรับสิ่งที่ พระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้ในวันเพ็นเทคอสต์  ทุกวันขณะที่ชาวยิวนับ Omer พวกเขาจะระลึกถึงพระลักษณะของพระเจ้าเพื่อเขาจะสามารถ “ชำระตัวถวาย” หลังจาก 50 วันผ่านไปกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ  มีกระบวนการชำระตัวให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะได้รับฤทธิ์อำนาจจากเบื้องบน

ข.  การได้รับฤทธิ์อำนาจมาพร้อมด้วยภาระ
พระคัมภีร์บอกเราว่าเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมา  มีการทำบางสิ่งต่อคนที่ไม่เชื่อ พระองค์จะทรงทำให้พวกเขาสำนึกถึงความบาปและความชอบธรรมและการพิพากษา  (ยอห์น 16:8) ขณะเดียวกัน มีบางสิ่งเกิดขึ้นต่อเราผู้เชื่อด้วย
จุดประสงค์ของการเทลงมาจากพระเจ้าไม่ใช่เพียงเพื่อการสำแดงหมายสำคัญและการ อัศจรรย์  แต่เป็นภาระสำหรับแต่ละคนที่จะต้องเชื่อฟังพระเจ้า  เป็นภาระสำหรับคนที่ไม่รู้จักพระเจ้าที่จะต้องสร้างสันติภาพกับพระเจ้า  กันดารวิถี  11:16-17  ให้ความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับการทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมา ยังคนธรรมดาสามัญเช่นท่าน เหตุผลสำคัญว่าทำไมการประกาศพระ กิตติคุณในคริสตจักรยุคแรกจึงร้อนรนและเต็มด้วยฤทธิ์อำนาจ  ก็เพราะว่าสาวกเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์  พวกเขาเต็มด้วยภาระใจที่จะนำให้ประชาชายิวได้รับรู้ว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขาได้เฝ้ารอคอยอยู่ ภาระใจที่จะช่วยให้คนอื่นได้กลับคืนดีกับพระเจ้านี้ยังได้ผลักดันพวกเขาให้ ออกไปประกาศกับคนต่างชาติ  ที่มองเห็นพระเจ้าจากที่ไกลด้วย

2. เทศกาลเพ็นเทคอสต์เฉลิมฉลองการเปิดเผยของพระเจ้าต่อมนุษย์
เทศกาลนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่ง ที่เรียกว่า “ฤดูกาลแห่งการประทานพระบัญญัติ” (ฮีบรู : Z’man Matan Torah)
รับบีโยเซฟ  เฮิร์ทซ กล่าวว่าการ ทรงสำแดงที่ซีนาย  ไม่ใช่มีอิสราเอลเท่านั้นที่ได้ยิน  แต่บรรดาประชากรทั้งปวงที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินโลกด้วยพระสุรเสียงของพระเจ้า แยกตัวออกเป็น 70 ภาษา ที่พูดกันอยู่ในโลกขณะนั้น  เพื่อลูกหลานทั่งปวงของมนุษย์จะเข้าใจข่าวสารของการไถ่มวลมนุษย์ที่โอบอุ้ม ทั้งโลกไว้

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ  การทรงประทานพระบัญญัติเมื่อวันแรกของเพ็นเทคอสต์ เป็นความพยายามอย่างจงใจที่จะบอกโลกถึงพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ ผู้ทรงประสงค์จะสร้างสันติกับมนุษย์

สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรต่อเรา
ก. พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองในพระบัญญัติ (Torah) ดังนั้นจงศึกษาพระบัญญัติเพื่อจะรู้จักพระเจ้ามากขึ้น
พระเจ้าทรงเลือกเทศกาลเพ็นเทคอสต์เพื่อช่วยให้เราระลึกว่าพระองค์ทรงเปิดเผย พระองค์ แต่ชนชาติทรงเลือกสรรไว้โดยทางพระคัมภีร์ของชาวยิว

พระคัมภีร์ของชาวฮีบรูที่พระเยซูทรงเรียนรู้ ท่องจำ และสอนให้แก่เหล่าสาวกคือ Tannakh
ประกอบด้วยโทราห์ (Torah: บัญญัติของโมเสส)  เนอิวิม (Ne ivim : ผู้พยากรณ์) เคตูวิม (Ketuvim:บันทึกต่าง ๆ)
พวกเราส่วนมากมีความรู้สึกลังเลไม่แน่ใจตอ่คำว่า “บัญญัติ” หรือ “Torah” อย่างไรก็ตามคำเหล่านี้ช่วยกดกริ่งเตือนภัยภายในหัวใจของเราว่า จงระวังการถือบัญญัติ! จำไว้ว่าพระเยซูทรงเป็นบัญญัติที่มีชีวิต (Living Torah) พระองค์ทรงเข้าใจเราได้อย่างดีเยี่ยม

ยน. 1:14 พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง
ยน. 1:14 พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง
มธ. 5:17 “อย่าคิดว่าเรามาล้มเลิกธรรมบัญญัติและคำของบรรดาผู้เผยพระวจนะ เราไม่ได้มาล้มเลิก แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ

คำ ว่า “เติมเต็ม” ไม่ได้หมายความว่าพระคัมภีร์ใหม่ลบล้างพระคัมภีร์เดิมออกไปหมดอย่างสิ้น เชิง  คำนี้หมายความว่า พระเยซูได้เสด็จมาเพื่อถอดความพระคัมภีร์เดิมในความสว่างอย่าใหม่ คือ เพื่อให้ความหมายใหม่และความเข้าใจใหม่แก่พระคัมภีร์เดิมด้วย การอ้างถึงตัวพระองค์เองเป็นพระเมสสิยาห์

พระเยซูทรงยึดถือพระบัญญัติทั้งสิ้นของพระยาห์เวห์และผู้สอนศาสนาในยุคสมัยของ พระองค์ไม่สามารถชี้นิ้วกล่าวหาพระองค์ได้เลยว่า พระองค์ได้ละเมิดพระบัญญัติข้อใด  หากพระองค์ละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้า พระองค์ก็จะไม่สามารถเป็นลูกแกะที่ปราศจากตำหนิของพระเจ้าได้ เพราะได้อ่านมาก่อนแล้วว่า “บาปคือการละเมิดพระบัญญัติ”  

ขอเราเพ่งไปในฤดูกาลเทศกาลของพระยาห์เวห์ และเข้าสู่วงจรของพระองค์ ทุกอย่างที่กล่าวมาเล็งถึงพระเยซู พระเมสสิยาห์ทั้งสิ้น ช่วงของการเก็บเกี่ยวครั้งยิ่งใหญ่ ช่วงที่คนยิวและคนต่างชาติมากมายได้เข้าสู่ความสัมพันธ์กับพระบิดา ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วให้เราเชื่อเช่นนั้นในเทศกาล ชาวูโอต หลังจากพระเยซูทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย

กจ. 2:40 เปโตรจึงกล่าวอีกหลายเรื่องเป็นพยานและเตือนสติพวกเขาว่า “จงเอาตัวรอดจากชาติพันธุ์ที่คดโกงนี้เถิด”
กจ. 2:41 คนทั้งหลายที่รับถ้อยคำของเปโตรก็รับบัพติศมา ในวันนั้นมีคนเข้าเป็นสาวกประมาณสามพันคน
กจ. 2:42 เขาทั้งหลายอุทิศตัวเพื่อฟังคำสอนของบรรดาอัครทูตและร่วมสามัคคีธรรม รวมทั้งหักขนมปังและอธิษฐาน
กจ. 2:43 เขาทั้งหลายมีความเกรงกลัวด้วยกันทุกคน และพวกอัครทูตทำการอัศจรรย์ และหมายสำคัญมากมาย

ในพระธรรมตอนนี้ในช่วงเวลาของชาวูโอต ขนมปังมีเชื้อสองก้อน อาจจะเป็นอีกหนึ่งความหมายที่เล็งถึง ยิวและคนต่างชาติ ซึ่งได้ถูกมอบถวายให้กับพระยาห์เวห์และได้รวมเป็นหนึ่งเดียว ในครอบครัวของพระองค์ โดยปุโรหิตจะโบกขนมปังปิ้งใส่เชื้อสองก้อน เนื่องด้วยพระเยซูทรงเป็นผลแรกของการฟื้นฟูและสื่อถึงการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของบ้านอิสราเอล (ยูดาห์ และเอฟราอิม) สัญลักษณ์ของยิวและต่างชาติ จงฟังเสียงของพระวิญญาณบริสุทธิ์เช่นเปโตร ชาวยิวในเวลานั้น สามพันคนได้รับความรอด

รม. 6:6 เรารู้แล้วว่า คนเก่าของเรานั้นถูกตรึงไว้กับพระองค์แล้ว เพื่อตัวที่บาปนั้นจะถูกทำลายให้สิ้นไป และเราจะไม่เป็นทาสของบาปอีกต่อไป

คำสอนของท่าเปาโลที่ว่าก่อนนั้นเราเป็นทาสของบาป ก็ได้เกี่ยวโยงกับเทศกาลชาวูโอต ที่ได้เตือนให้เราระลึกว่า ครั้งหนึ่งเราเคยตกเป็นทาสในอียิปต์เช่น อิสราเอลแต่พระยาห์เวห์ได้ทรงปลดปล่อยเราทั้งหลายออกจากการเป็นทาสของความบาปโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์เข้ามาสถิตภายในเรา

รม. 8:1 เพราะฉะนั้นไม่มีการลงโทษคนที่อยู่ในพระเยซูคริสต์
รม. 8:2 เพราะว่ากฎของพระวิญญาณแห่งชีวิตในพระเยซูคริสต์ได้ทำให้ท่านพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย
รม. 8:3 เพราะว่าสิ่งซึ่งธรรมบัญญัติทำไม่ได้ เพราะเนื้อหนังทำให้มันอ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าได้ทรงทำแล้ว โดยพระองค์ทรงใช้พระบุตรของพระองค์เองมา ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป และเพื่อไถ่บาป พระบุตรในเนื้อหนังจึงได้ทรงลงโทษบาป
รม. 8:4 เพื่อสิ่งที่ธรรมบัญญัติสั่งไว้จะได้สำเร็จในตัวเราที่ไม่ดำเนินตามเนื้อหนัง แต่ตามพระวิญญาณ

ชาโลม
ขอพระยาห์เวห์อวยพระพร
ktm.shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น