วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำถามแห่งการฟื้นใจ เจ้ารักเราหรือ ?

คำถามแห่งการฟื้นใจ เจ้ารักเราหรือ ?

ถอดความจากคำเทศนา แบบละเอียด  

ความรักที่มีต่อพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญ ใน มาระโก 12:33 ได้หนุนใจเราว่า และการที่จะรักพระองค์ด้วยสุดใจ สุดความเข้าใจ และสุดกำลัง และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเองนั้น ก็สำคัญกว่าเครื่องเผาบูชา และของถวายทั้งสิ้น


ความรักในภาษาไทยนั้น ให้คำจำกัดความว่า  ความชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยชื่นชมยินดี ชอบ ชื่นชอบ

วันนี้เราจะมาตอกย้ำความรักที่เรามีต่อพระองค์ด้วยกัน อาเมน ว่าเรารักพระองค์
ถ้าเรารู้จักเปโตร เปโตรเป็นคนหนึ่งที่รักพระเยซูมาก มากจริงๆ วันนี้เมื่อเราได้อ่านแบ่งปันบางส่วนในชีวิตของ เปโตร ผมอยากให้เรา ลองคิดว่าเราคือเปโตร ในชีวิตจริงๆด้วย เหมือนเราดูละคร แล้วเราจินตนาการว่า เราเป็นพระเอก หรือนางเอก แบบนั้น

ยน. 21:15 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูตรัสกับซีโมนเปโตรว่า
“ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเรามากกว่าพวกนี้หรือ?”
เขาทูลพระองค์ว่า “ใช่ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์”
พระองค์ตรัสสั่งเขาว่า “จงเลี้ยงดูลูกแกะของเราเถิด”
ยน. 21:16 พระองค์ตรัสกับเขาครั้งที่สองว่า
“ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเราหรือ?” เขาทูลตอบพระองค์ว่า “
ใช่ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์”
พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแลแกะของเราเถิด”

ยน. 21:17
พระองค์ตรัสกับเขาครั้ง ที่สามว่า
“ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย ท่านรักเราหรือ?”

เปโตรเสียใจมากที่พระองค์ตรัสถามเขาครั้งที่สามว่า
“ท่านรักเราหรือ?” เขาจึงทูลพระองค์ว่า
“องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบทุกสิ่ง
พระองค์ทรงรู้ดีว่าข้าพระองค์รักพระองค์”
พระเยซูตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด

ทำไมพระเยซู จึงถามเปโตร ถึง 3 ครั้งว่า “เจ้ารักเราหรือ”

เปโตรไม่ได้เสียใจ ที่ทำไมพระเยซูไม่มั่นใจในความรักของเขา
แต่เปโตรถูกกระตุ้นจากภายใน จากบางสิ่งบางอย่าง เกิดอะไรขึ้นกับเขาตอนนี้

จากพระวจนะตอนนี้มีหลายบทความที่เขียนตีความในมุมที่แตกต่าง กันไป บางครั้งมีการอ้างอิงถึง ภาษากรีกในมุมของความรัก ผมขอยกตัวอย่างบางส่วนมาเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการแบ่งปัน

ในภาษากรีก มีอยู่ด้วยกันใหญ่ๆ  4 คำ
ซึ่งเราลองมาดูแนวความคิดแบบกรีกกันสักหน่อยครับ

- ฟีเล Philia หมายถึง รักแบบพี่น้อง หรือเพื่อน
ภาษาฮีบรู RAYA หมายถึงเพื่อนที่ดีที่สุด หรือสหาย (Achava คล้ายกัน )

- อีรอส Eros หมายถึง รักแบบหนุ่มสาว , ความใคร่ หรือความรักระหว่างเพศ
ภาษาฮีบรู DOD     ความรัก

- สตอร์เก Storge หมายถึง รักทั่วๆไป รักของคนในครอบครัว

- อากาเป้ Agape หมายถึง รักแบบอุทิศตัว รักที่ไม่มีเงื่อนไข
ความรักของพระเจ้าที่ให้เราผ่านทางพระเยซู มีความหมายลึกที่สุด และหาที่เปรียบไม่ได้ 
ภาษาฮีบรู ใช้คำว่า  Ahava

ที่ กล่าวมาเป็นเพียงเกริ่นนำถึงมุมมองในด้านภาษากรีกกันนะครับ
ผมเพียงนำมาแบ่งปันกัน เป็นข้อมูลความรู้

แต่ผมวันนี้ผมอยากแบ่งปันในมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง
ในเวลานั้น พระเยซูคงไม่ตรัสอะไรที่ซับซ้อนแบบนี้กับเปโตร  ซึ่งเป็นภาษากรีก พระเยซูจะตรัสเป็นภาษากรีกและเล่นคำกับคนแบบเปโตร หรือ ?

ไม่ใช่พระองค์ดูถูกความรู้ของเปโตรนะครับ แต่มันอาจจะซับซ้อนในเรื่องของภาษามากไปไหม ?
และพระเยซูตรัสกับเปโตร เป็นภาษากรีกหรือ ? พระเยซูพูดคุยกับสาวกที่สนิทกัน และไม่ได้
อยู่แบบเป็นทางการ ด้วยภาษากรีกหรือ ? พระเยซู นั่งปิ้งปลา และอยู่กับสาวกคนสนิทแบบไม่เป็นทางการ
และนี่เป็นการพูดคุยระดับความสัมพันธ์ เขาทั้งสองเป็นคนยิว

ดังนั้น ความรักแต่ละประเภท ในความหมายกรีก น่าสนใจมากแต่เปโตร ไม่จำเป็นต้องตอบหลีกเลี่ยง จากคำว่า อากาเป้ หรือ อาฮาวาห์ ในมุมมองอีกมุมมองที่ผมอยากนำแบ่งปันคือ  ถ้าเรายังจำได้ในตอนที่เปโตรปฏิเสธพระเยซูก่อนหน้านี้

ในมัทธิว บันทึกว่า มธ. 26:75 เปโตรจึงระลึกถึงคำที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “ก่อนไก่ขันท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง”
แล้วเปโตรก็ออกไปข้างนอกร้องไห้เป็นทุกข์อย่างมาก ตอนนั้นพระเยซูบอกว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์

มธ. 26:33 เปโตรทูลพระองค์ว่า “แม้ทุกคนจะทิ้งพระองค์ไป ข้าพระองค์จะไม่มีวันทิ้งพระองค์เลย”
เปโตรมั่นใจเหลือเกิน ว่าแม้ใครก็ตามจะทิ้งพระองค์ไป

แต่ข้าพระองค์จะไม่ยอมสูญเสียความเชื่อที่มีในพระองค์เลย (บางฉบับฮีบรใช้คำว่าความเชื่อ)
ในบริบทนี้แม้ไม่พูดตรงๆ แต่นี่เป็นคำพูดที่แสดงความรักต่อพระเยซู
ใน กาลาเทีย 5:6 ตอนท้ายบอกว่า “แต่ความเชื่อซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำด้วยความรักนั้นสำคัญ”

มธ. 26:34 พระเยซูตรัสกับเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ในคืนวันนี้ก่อนไก่ขัน ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง”
คำว่าปฏิเสธ หรือบอกปัด คือการไม่ยอมรับ และนี่คือการไม่ยอมรับความเชื่อที่มีในพระเจ้า เพราะเขาเองก็ยอมรับว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเจ้า

มธ. 26:35 เปโตรทูลพระองค์ว่า “ถึงแม้ข้าพระองค์จะต้องตายกับพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะไม่ปฏิเสธพระองค์เลย” พวกสาวกก็ทูลเช่นนั้นเหมือนกันทุกคน
ถ้าเราเป็นเปโตร ใครจะยอมรับล่ะ ว่าจะอนาคตเราจะทำเช่นนั้น เปโตรเองก็เช่นกัน
แม้จะต้องตาย ก็จะไม่ปฏิเสธพระองค์

เวลา นี้เปโตรคิดได้และเสียใจอย่างมาก บางฉบับใช้คำว่า เขาร้องไห้อย่าง “ขมขื่น” สิ่งที่เขาทำมันเสียดแทงใจของเขา (ในบางเล่มใช้คำว่า “เป็นทุกข์”) เขาบาดเจ็บจากสิ่งที่เขาได้ปฏิเสธพระเยซู  เขาปฏิเสธพระเจ้า เขาปฏิเสธความเชื่อมันคือความ ชอกช้ำ ตรอมใจ ใจสลายอย่างมาก เพราะเปโตรรักพระเยซูมาก

และนี่เองคือเหตุการณ์ที่เปโตร ถูกเร้า กระตุ้นจากภายในกับคำถามคำถามนี้ ในภาษาฮีบรู รักคำนี้คือคำว่า “Ahavah” Ahavah อาฮาวา จึงหมายถึง Ahava - Love (אהבה)  (aleph, hei, bet, hei)
ดังใน มัทธิว 26 ความรักเกี่ยวข้องกับความเชื่อ มันเชื่อมโยงกับการกระทำ และเชื่อฟัง รากศัพท์ของ Ahava คือ Ahav  หมายถึง การให้ เพื่อให้ การให้และการปกป้อง ความใกล้ชิด ร่วมคือร่วมเป็นร่วมตาย ผูกพัน เป็นความรักที่ตายแทนกันได้ (ไม่มีความกลัว)

ความรัก อาฮาวา คือ การตัดสินใจ เป็นลักษณะของความรักที่เกิดขึ้นโดยการตัดสินใจ คำๆนี้ยังมีความหมายว่า มิตรถาวร ที่มีความสัมพันธ์ในระดับลึก อาฮาวา เป็นความรักที่สำคัญและใหญ่ที่สุด กว่าความรักใดๆ คือความรักที่เสียสละ  และเมื่อเรารักพระองค์ แบบ อาฮาวา เราจะมีการอุทิศตัว

เมื่อเปโตรถูกเรียกว่าสาวก สาวกในภาษาฮีบรู talmidim תלמידם (talmid) เป็นสาวกอย่างแท้จริงตามแบบของพระเยซู  คือ การใช้ชีวิตร่วมกับอาจารย์  บาง ครั้งใช้คำว่า “ผู้เรียนรู้”  เรียนรู้ทุกอย่างจากอาจารย์ ปฏิบัติตามอาจารย์ ร่วมเป็นร่วมตาย ทั้งชีวิตและคำแนะนำ เป็นภาพของ การเดินตามรอยเท้า ของพระเยซู รอยเท้าที่พระองค์เดินนำหน้าเรา เปโตรละเมิดสิ่งเหล่านี้ ทั้งสบถสาบานว่าไม่รู้จักพระเยซู

สภษ. 10:12 ความเกลียดชังเร้าให้เกิดการวิวาท
แต่ความรักให้อภัยการละเมิดทุกอย่าง (ความรักครอบคลุมความผิดบาปและเปโตรสัมผัสได้ถึงรักนั้น)

การละเมิดตรงนี้ ยังครอบคลุมถึงการกระทำที่ผิดสัญญา ด้วย และยังเชื่อมโยงต่อธรรมบัญญัติ ในข้อแรกที่บอกว่า มธ. 22:37 พระเยซูทรงตอบเขาว่า “
‘จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านด้วยสุดใจของท่านด้วยสุดจิตของท่าน’ 
และด้วยสุดความคิดของท่าน
ดัง นั้นการที่พระเยซูถาม เปโตร ในยอห์น 21 นั้นว่า “เจ้ารักเราหรือ” มันเป็นการที่พระเยซูต้องการเยียวยา เปโตร .. ทำไมคำถามเพียงคำถามเดียวถึงเยียวยาเปโตรได้

เยียวยา หมายถึง ทำให้กลับสู่สภาพเดิม  ฟื้นฟู แก้ไข ภายในของเปโตร หรือ กำลังบำบัดภายใน ให้กับเปโตร
ความขมขื่นใจ และความรู้สึกผิดที่มันฝังอยู่ภายในให้กับเปโตร  บัดนี้ เปโตรกำลังเผชิญหน้ากับองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเยซูผู้ที่เขารัก พระเยซูไม่ได้เรียกร้องความรัก หรือพระองค์ไม่มั่นใจ ในความรักของเปโตร แต่เปโตรเคยปฏิเสธพระองค์  ด้วย ความกลัว จาก ความกดดัน

ศัตรูพยายามกดดันเราทุกรูปแบบ เพื่อให้เราละทิ้ง หรือปฏิเสธพระเยซู (สนามรบในความคิด ความคิดแง่ลบ) เพื่อให้เรามีปัญหาในความสัมพันธ์ ตอนนี้เอง เปโตรเอง ยังรู้สึกผิดอยู่ พระเยซูไม่ได้เริ่มต้นด้วยการที่บอกว่า
“เรายกโทษให้เจ้านะเปโตรที่เจ้า หักหลังเราน่ะ” แต่พระองค์ถามเพื่อให้เปโตรกล่าวออกมา
พระองค์ใช้ถ้อยคำเพื่อทำลายเหตุผลจอมปลอมทั้งหมด ดังที่ 2 โครินธ์ 10:4,5 ทำลายป้อมของซาตานที่ตั้งอยู่ให้พังทลายลง พระองค์มาเผชิญหน้าพร้อมความเมตตา ที่บริบูรณ์

ยอห์น 21:6  ถ้าเราย้อนกลับไปดู พระองค์ให้เปโตรทอดอวนลงทางด้านขวาของเรือ นั่นเป็นสัญลักษณ์ของ “ความเมตตา, ความบริบูรณ์” สดด. 17:7 ขอทรงสำแดงความรักมั่นคงของพระองค์อย่างอัศจรรย์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงช่วยบรรดาผู้ลี้ภัย ให้พ้นจากผู้ที่ลุกขึ้นสู้พวกเขาโดยพระหัตถ์ขวาของพระองค์ ถึงความรักที่มีต่อพระองค์ ทั้งที่ก่อนนี้ เปโตรเสียใจอย่างมาก ที่ไม่มีโอกาสได้บอกและขอโทษหรือขออภัยจากพระองค์
เพราะตอนนั้นพระเยซูได้กำลังนำไปถูกตรึง  และเปโตรมีความกลัวอย่างที่สุด จึงได้ปฏิเสธ แม้เปโตรสำนึกได้ แต่ก็รู้สึกผิด กล่าวโทษตัวเอง และขมขื่นใจอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว นี่เป็นโอกาสของเปโตร ! พระองค์นำเปโตรกลับไปสู่ความขมขื่นนั้น และให้เปโตรบอกรักกับพระองค์ เมื่อพระองค์ต้องการใช้เปโตรต่อไป เปโตรจะอยู่ในสภาพแบบตอนแรกไม่ได้ เขาอยู่แบบซังกะตาย

เปโตรต้องได้รับการบำบัดเยียวยา ความเจ็บปวดนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่สนามการรับใช้ต่อไป เพราะเปโตรต้องเป็นผู้เลี้ยงดูแกะของพระองค์ พระองค์ยังกำชับให้เปโตรว่า “จงเลี้ยงดุแกะทั้ง 3 ประเภท”
จงเลี้ยงดูลูกแกะของเรา (lambs)
จงเลี้ยงดูแกะของเรา (sheep)
และจงเลี้ยงดูแม่แกะ (ewes)


ในบริบทนี้มีความเป็นไปได้คือ ลูกแกะ คือสาวกใหม่ผู้เชื่อใหม่ (ความเชื่อยังไม่สมบูรณ์)
จงเลี้ยงดูเขา และแกะ คือผู้ที่เติบโตแล้วแต่ยังต้องการผู้นำ (ความเชื่อโตเต็มที่ เป็นผู้ใหญ่)
ส่วนแม่แกะคือผู้ที่จะสร้างคนต่อไป (ผู้สอน ผู้นำ) จงเลี้ยงดูคนเหล่านี้

ทำไมต้องเลี้ยงดูแม้แต่ผู้ที่เติบโตแล้วคือ แกะและแม่แกะ ก็เพราะว่าในบริบทนี้ เปโตร คืออัครทูต ที่จะวางรากฐาน คนอย่างเปโตรนี้แหละเป็น อัครทูต ที่ใหญ่ที่สุดโดยตำแหน่ง และทั้งการเจิม ดังนั้นพระเยซูถึงบอกว่า จงเลี้ยงดู ลูกแกะ คือผู้เชื่อใหม่ ที่กลับใจมาหาพระเยซู แกะ คือผู้ที่เติบโตแล้ว ระดับหนึ่ง
แม่แกะคือผู้ที่จะสร้างคนต่อไป แต่ต้องมีผู้นำอีกคน (อัครทูต) นั้นคือผู้ที่เห็นพิมพ์เขียวของพระเจ้าและ
เป็นผู้วางรากฐานกับผู้นำอีกที หนึ่งด้วย

หลังจากนั้น เปโตร ก็ไม่มีความกลัวตายอีกต่อไป วิญญาณความกลัว หรือกลังตาย ไม่มีชัยชนะต่อเปโตรได้อีกต่อไป เพราะ เปโตร เข้าใจถึงความรักที่ สมบูรณ์ แม้เขาจะต้องถูกประหาร และตายไป

1ยน. 4:18 ในความรักนั้นไม่มีความกลัว แต่ความรักที่สมบูรณ์นั้น
ก็ขับไล่ความกลัวออกไปเสีย เพราะความกลัวเกี่ยวข้องกับการลงโทษ
และผู้ที่กลัวก็ยังไม่มีความรักที่สมบูรณ์

ในคิงเจมส์ ใช้คำว่า “ด้วยว่าความกลัวทำให้ทุกข์ทรมาน
และผู้ที่มีความกลัวก็ยังไม่มีความรักที่สมบูรณ์”

สิ่งที่ตรงข้ามกับความเชื่อ ก็คือความกลัว ความกลัวเป็นเสียงของซาตาและต้องการให้เราตกอยู่ในความกลัว พระคัมภีร์ใช้คำว่า ความรักที่สมบูรณ์ นี่คือความรักที่ไม่มีที่ติ เป็นความ สมบูรณ์, ดีพร้อม, ดีเลิศ, ไร้มลทิน, ไม่มีตำหนิทำให้สมบูรณ์, ทำให้สำเร็จ, ทำให้ดีขึ้น,พระองค์ใส่ความรักที่สมบูรณ์เข้าสู่เปโตร ความรักที่สมบูรณ์ก็ขับไล่ความกลัวออกไปเสีย

และนี่แหละ เป็นความรักแบบ อาเฮวา การให้และการปกป้อง ความใกล้ชิด ร่วมคือร่วมเป็นร่วมตาย ผูกพัน เป็นความรักที่ตายแทนกันได้ พระเยซูไม่ประสงค์ให้เปโตร ดำเนินชีวิตต่อไปโดยยังมีความกลัวอยู่

ในเวลานั้นพระเยซู ไม่เพียงแต่เรียกเปโตรกลับมา แต่สาวกคนอื่นๆ ที่ครั้งหนึ่ง กระจัดกระจายไปทำอาชีพของตนหลังจากที่พระเยซู ที่เขารักและเชื่อนั้น ตายไปแล้วเขาคิดว่าคงไม่ได้พบพระองค์อีกแล้ว แต่บัดนี้ พระองค์อยู่ตรงหน้าเขา พี่น้องเคยรู้สึกเช่นนี้ไหม นี่คือคำว่า “พระเยซู ยังทรงพระชนม์อยู่” ความเชื่อกลับคืนมา ความกลัวหายไป และลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง

สำนวนที่บอกว่า เจ้าห่วง อาหาร ปลา หรืออาชีพเหล่านี้หรือ จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้ห่วง สิ่งเหล่านี้ แต่ไม่รู้จะไปทำอะไร พระเยซูไม่มีแล้ว ก็กลับไปสู่อาชีพเดิมๆ ถ้าพระเยซูบอกว่า “เรายกโทษให้เจ้าที่เจ้าปฏิเสธเรานะ อย่ากลัวเลย” หรือ “ทำไมเจ้าปฏิเสธเราตอนนั้นล่ะ” ถ้าแบบนี้เปโตร คงช้ำใจมากกว่าเดิม  ดราม่า เรียกน้ำตาม อาจจะเจ็บกว่าเดิมด้วย พระองค์ไม่ได้ประสงค์มาเน้นเรื่องปากท้อง แต่ในสภาวะอารมณ์นั้น อยู่ๆพระเยซูมาจุดไฟในใจ ของเขาอีกครั้ง ทุกอย่าถุกเรียกกลับคืนมา

เพราะนี่คือต้นกำเนิดความเชื่อ ที่จะวางรากฐานแบบนี้ต่อไป จากรุ่นสู่รุ่น ว่า ยังจำได้ไหม ว่า เราเคยพูดว่าอะไร เราร้องเพลง บอกรักพระเยซูอย่างไร เจ้าเคยบอกว่า ข้าพระองค์สละสิ่งสารพัดแล้วตามพระองค์ไป อย่าลืมว่ายังมีภารกิจสำคัญรออยู่ คือการเลี้ยงดู แกะทั้ง 3 ประเภท ให้เติบโตขึ้นไปอีก (อย่าลืมเป้าประสงค์และกิจที่พระเจ้าวางไว้ให้คุณและสั่งคุณไว้)

วันนี้เราอาจจะเคยปฏิเสธพระองค์ ในมุมต่างๆที่อาจจะต่างกับเปโตร การทำสิ่งใดที่เรารู้ว่าพระองค์ไม่พอพระทัยแต่เราก็ยังทำ วันนี้พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์เป็นพระเจ้าที่ยังมีชีวิต ถ้าหากเราเสียใจกับการกระทำของเรา อย่ามัวแต่โทษตัวเอง ถ้าท่านกลับใจอย่างแท้จริงอย่างจมอยู่กับความกลัว และความชมขื่น วันนี้พระองค์ยังให้โอกาสเราเสมอ (บุตรน้อยที่หลงไป) ในสิทธิ์ความเป็นลูกบางครั้ง คำว่า รัก คำเดียวอาจจะแทนคำแก้ตัว หรือสาธยายความผิดทั้งหมด

ถ้าวันนี้หรือตอนนี้คุณได้ยินเสียงที่ถามคุณว่า “เจ้ารักเราหรือ” เราจะตอบพระองค์เช่นไร ? วันนี้ถ้าพระองค์ถามเรา ก่อนเราจะตอบพระองค์ เราลองพิจารณาตัวเราเองดูว่า เรารักพระองค์มาก แค่ไหน เราบอกเราตายเพื่อพระองค์ได้ … ตอนนี้เราพูดได้

ถ้าเราบอกว่าเรารักพระองค์ แต่เราปฏิเสธพระองค์ในบางครั้ง เราอาจจะบอกว่าเรารักพระองค์ แต่เราทำหลายสิ่งที่ขัดแย้ง กับถ้อยคำของพระองค์ วันนี้ คำถามนี้พระเยซู กำลังถามคุณว่า “เจ้ารักเราหรือ” เราจะตอบพระองค์เช่นไร หลายคำถามเราอาจจะตอบด้วยสมอง ความคิด การวิเคราะห์ของเรา

แต่คำถามนี้ เราต้องตอบด้วยหัวใจของเรา พระองค์ไม่ได้ยิงคำถามให้เราคิดวิเคาระห์ แต่ยิงคำถามมาที่หัวใจของเรา ถ้าเราเคยปฏิเสธพระองค์ ว่าจะด้วยกรณีใดๆ วันนี้ เมื่อคำถามนี้มาถึงเรา จงป่าวประกาศออกมาเถิดว่า “ข้าพระองค์รักพระองค์” นี่คือความรักที่เราจะ ตัดสินใจอุทิศตัว กับพระองค์ ทางข้างหน้าอาจจะมีความกลัว  แต่เราจะตัดสินใจแบบไหน ถ้าเราบอกรักพระองค์ วันนี้จงตามพระองค์ไป หลังจากเหตุการณ์นี้ สาวกไม่ได้อยู่ในความกลัว และอุทิศชีวิตของตนเอง เพื่อ กิจการของข่าวประเสริฐ

เวลานี้ จะไม่มีข้อกล่าวหาจากพระเยซู จากสายตาที่อ่อนโยนของพระองค์
ฮีบรู 10:17 “พระองค์ไม่จดจำความผิดบาปและการกระทำผิดของเรา”
1 โครินธ์ 13 “ความรักไม่ช่างจดจำความผิดแต่เชื่อในส่วนดี”

พระองค์ถามว่า เจ้ารักเราหรือ ถึง สามครั้ง เพราะต้องการยืนยันความรักของพระองค์ จากการปฏิเสธ
แต่ละการปฏิเสธถึงสามครั้ง ทุกการปฏิเสธถูกครอบงำด้วย วิญญาณชั่วที่ล่อลวง และใส่ความคิดในแง่ลบมากมาย ถ้าพระเยซูไม่ทำแบบนี้ เมื่อเปโตรรับใช้ มันจะกลับมารบกวนเปโตรอีก พระเยซูให้เปโตร ประกาศความรัก ahavah

ตามวัฒนธรรมของคนยิวนั้น สามครั้งเพื่อบ่งบอกความคงทนของต้นเอง มันเป็นการเน้นย้ำ และหนักแน่น เปโตรได้รับการเยียวยาจากภายใน เมื่อเขาไม่ได้มองเห็นตัวเอง ผ่านผ่านสายตาของการกระทำผิดและลงโทษ แต่ผ่านสายตาของพระเยซู องค์เจ้าชีวิตผู้เป็นที่รักของเขา

มีนักกายกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่คนหนึ่ง
มีชื่อว่า บล็อนดิน เขาเป็นนักกายกรรมที่เดินข้ามเชือก
ที่ขึงข้ามนาตกไนแองกาล่า ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เมื่อเขาแสดงผ่านไปรอบหนึ่ง ด้วยความสาเร็จ
เสียงปรบมือชื่นชมดังอย่างกึกก้อง มีให้กับเขา
จากนั้น บล็อนดิน กันมาถามเหล่าฝูงชนว่า
“พวกคุณเชื่อไหมว่าเขาสามารถแบก คนคนหนึ่งบนหลังแล้วเดินข้ามไปได้”
“แน่นอน เราเชื่อฝูงชนตะโกนตอบ” เพราะคุณเก่งที่สุดในโลก
“แล้วมีใครจะอาสาสมัครไหมครับ” บล็อนดินถาม
ไม่มีใครอาสาเลยสักคน บล็อนดิน หันมาถามผู้จัดการ คนสนิทใกล้ตัวว่า
“เฮ้ แฮรี่ คุณเชื่อไหมว่าผมแบกคุณข้ามไปได้”
“แน่นอน แฮรี่ตอบ”
แล้วแฮรี่ก็ขี่หลังบล็อนดิน แล้วเดินช้าๆไปตามเชือก
ระหว่างทางเขาเกือบตกลงมา 2-3 ครั้ง เพราะพวกที่กลัวแพ้พนันเขย่าเชือก
ในที่สุดพวกเขาทั้งสองทาสาเร็จ เมื่อไปถึงอีกฟากฝั่ง
.. เรื่องของบล็อนดิน ให้ภาพชัดเจนในความเชื่อ ในพระเยซู

(ที่มาเรื่อง บล็อนดิน จากหนังสือ “มุมมองใหม่ต่อพระคัมภีร์ใหม่” ผู้เขียน ฮวง สาบิน)

ความเชื่อในรากศัพท์ภาษาฮีบรู คือเชื่อในถ้อยคาของพระเจ้า และรักพระองค์ คือเชื่อสุดใจ สุดความคิด กล้าไปกับพระองค์ เราต้องมีความเชื่อและความรักมากพอ ที่จะเต็มใจมอบชีวิต ของเรากับพระองค์ สุดจิต สุดใจ สุดกาลัง สุดความคิดของเรา “เจ้ารักเราหรือ” เจ้ายินดีไปกับเราไหม

จงตามเรามาเถิด คือไปในที่ๆพระองค์ไป มัทธิว 4:19 เปโตรถูกเรียกครั้งแรก “จงตามเรามาเถิด”
เรายินดีมอบชีวิตไว้ในพระหัตถ์พระองค์ไหม ยอห์น 21:11 ปลา 153 ตัว เป็นค่าของ ชื่อหนึ่งในเชื้อสาย ยูดาห์ คือ เบซาเลล ใน อพยพ 31:1 แต่ความหมายของชื่อนี้คือ อยู่ภายใต้ (มือ) ร่มเงาของพระเจ้า มันคือการปกป้องป้องกัน เมื่อเปโตรบอกรักพระองค์ เขาก็ได้เข้าสู่ความรักอันสมบูรณ์ เข้าสู่การปกคลุมด้วยปีกและเงาของผู้ทรงฤทธิ์ ความกลัว ความมืดหาได้มีชัยต่อเขาอีกไม่

ถ้าวันนี้ ตอนนี้ เวลานี้ พระองค์ถามเรา ว่า “เจ้ารักเราหรือ” พระองค์องค์อย่างไร ถ้าท่านเคยมีความรู้สึกเดียวกับเปโตร วันนี้จงตอบด้วยความเชื่อมั่นว่า
“ใช่ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์”
ความรักนี้คือการยืนยันการอุทิศตัว ร่วมเป็นร่วมตาย เต็มใจเชื่อฟัง ไร้ซึ่งความกลัว และไปกับพระองค์
“จงตามเรามา” นี่เป็นการตอกย้ำคำเดิม ความรู้สึก ความเชื่อศรัทธา รักแรก

การตอบรับคาถามนี้ คือการทิ้ง และตามพระองค์ไป ทุกครั้งที่เราบอกรักพระองค์แต่ละครั้ง จากภายใน นี่คือ การสารภาพ พระองค์รับคาสารภาพนั้นแต่ละครั้ง โดยการกลับมาอีกครั้งของเปโตร ทุกสิ่งถูกเรียกคืน ความเป็นผู้นาของเขา (อัครทูต) กลับคืนมา เช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ของเราก็จะกลับคืนมา Teshuva กลับมาที่พระองค์ เดือนเชสวาน คือเดือนแห่งการปลดปล่อยด้วย การปลดปล่อย จากรากของปัญหาในชีวิต สิ่งใดที่คาราคาซังอยู่ จงสารภาพกับพระองค์ ด้วยความรัก แบบ อาฮาวา

ขอพระยาห์เวห์อวยพระพรท่าน
ชาโลม
Ktm.Shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น