วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

ระบบปุโรหิต

ระบบปุโรหิต
 

คำว่า “ปุโรหิต” มาจากภาษาฮีบรู  Kehunnah (H3550)  ซึ่งมาจากคำว่า Kohen  (H3548) 
ถูกอ้างอิงถึงใน อพย. 19:5-6

อพย. 19:5-6 เหตุฉะนั้นบัดนี้ ถ้าพวกเจ้าจะเชื่อฟังเสียงของเราอย่างแท้จริง และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ พวกเจ้าจะเป็นทรัพย์อันประเสริฐของเรา ยิ่งกว่าชนชาติทั้งปวง เพราะแผ่นดินโลกทั้งสิ้นเป็นของเรา  และเจ้าทั้งหลายจะเป็นอาณาจักรแห่งปุโรหิต และเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับเรา’ นี่เป็นถ้อยคำที่เจ้าต้องพูดให้ชนชาติอิสราเอลฟัง”

ในพระธรรมวิวรณ์ ได้อ้างอิงเช่นเดียวกัน บันทึกว่า วว. 5:10 พระองค์ทรงทำให้เขาเป็นอาณาจักรและเป็นปุโรหิตของพระเจ้าของเรา และพวกเขาจะครอบครองบนแผ่นดินโลก”

คำว่า “อาณาจักรแห่งปุโรหิต” มีความหมายว่า “กลุ่มปุโรหิต” หรือ “ชาวปุโรหิต” พวกเขาจะเป็น “ปุโรหิตในระบบของเมลคีเซเดค”    "Melchizedek" ถ้อยคำที่กล่าวว่า “อาณาจักรแห่งปุโรหิต” นั้นใน อพยพ 19:6 นั้นครอบคลุมถึงชาวอิสราเอลทั้ง 12 เผ่า แต่ไม่ได้เลือกสรรเฉพาะเผ่าเลวีเท่านั้น

จากพระวจนะ เราพบว่าหลังจากนั้นแม้ชาวอิสราเอลได้กล่าวว่า “พวกเขาจะรักษาพันธสัญญาของพระองค์ (อพย.19:7-8 และ 24:7-8)

อพย. 19:7 โมเสสจึงมาเรียกประชุมพวกผู้ใหญ่ของประชาชน แล้วประกาศข้อความทั้งหมดนี้ต่อหน้าพวกเขาตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชาท่าน
อพย. 19:8 ประชาชนทั้งสิ้นก็ตอบพร้อมกันว่า “ทุกอย่างที่พระยาห์เวห์ตรัสนั้น พวกข้าพเจ้าจะทำตาม” โมเสสจึงนำถ้อยคำของประชาชนกลับไปกราบทูลพระยาห์เวห์

อพย. 24:7 ท่านเอาหนังสือพันธสัญญามาอ่านให้ประชาชนฟัง พวกเขากล่าวว่า “ทุกคำที่พระยาห์เวห์ตรัสนั้น เราจะทำตาม และเราจะเชื่อฟัง”
อพย. 24:8 โมเสสก็เอาเลือดประพรมประชาชนและกล่าวว่า “นี่เป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งพระยาห์เวห์ทรงทำกับพวกท่านตามพระวจนะทั้งสิ้นเหล่านี้”

แต่เพียงแค่ 40 วันต่อมา พวกเขาก็กลับละทิ้งพระสัญญาของพระเจ้าไปเสีย (อพยพ 32)
ในอพยพ 32 นั้นพวกเขาจึงได้สร้างโคทองคำขึ้นมานมัสการเนื้อจากเป็นเวลานานที่โมเสสไม่ลงมาจากภูเขา ดังนั้น พระเจ้าจึงต้องการจะทำลายพวกเขาทั้งหมดเสียรวมทั้งอาโรนและบรรดาบุตรชายของท่านด้วย ยกเว้นไว้คนเดียวคือโมเสส

อพย. 32:10 บัดนี้ ขออย่ายับยั้งเรา เพื่อความโกรธของเราจะเดือดพลุ่งขึ้นต่อพวกเขา และเพื่อเราจะทำลายเขาทั้งหลายเสีย ส่วนเจ้า เราจะให้เป็นชนชาติใหญ่”

แต่เพราะโมเสสได้ร้องขอเพื่อประชาชนพระยาห์เวห์จึงทรงผ่อนปรนให้ (อพยพ 32:14)
ดังนั้น เพราะว่าพวกเขาขาดซึ่งคุณสมบัติอันเหมาะสมที่จะสามารถเป็นประชาชาติแห่ง “ปุโรหิตแบบเมลคีเซเดค” และเนื่องจากพวกเขาไม่รักษาพระสัญญา พวกเขาจึงกลายมาเป็นประชาชาติด้วย “ระบบปุโรหิตแบบเลวี”

กดว. 3:12 “และดูเถิด คือเราเอง เราได้แยกคนเลวีไว้จากท่ามกลางชนชาติอิสราเอล แทนบรรดาบุตรหัวปีที่ออกจากครรภ์ครั้งแรกในท่ามกลางชนชาติอิสราเอล เพราะฉะนั้น คนเลวีจะเป็นของเรา
อพย. 13:2 “จงแยกตั้งบุตรหัวปีทั้งปวงไว้เพื่อเรา คือทุกสิ่งในท่ามกลางชนชาติอิสราเอลที่ออกจากครรภ์ครั้งแรก ทั้งของมนุษย์และของสัตว์ สิ่งนั้นเป็นของของเรา”
กดว. 8:14 ดังนั้น เจ้าจงแยกคนเลวีออกจากท่ามกลางชนชาติอิสราเอล และคนเลวีจะเป็นของเรา

ฮบ. 7:11 ดังนั้น ถ้าความบริบูรณ์บรรลุได้ทางระบบปุโรหิตเผ่าเลวี (เพราะว่าประชาชนได้รับธรรมบัญญัติโดยระบบนี้) ทำไมจะต้องมีปุโรหิตอีกตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ไม่ใช่ตามแบบอย่างของอาโรน?

ตามระบบปุโรหิตแบบเลวีนั้นจึงเป็นระบบปุโรหิตระบบปิด  ซึ่งสงวนและรองรับไว้เฉพาะเผ่าเลวีเท่านั้น แต่ผู้ซึ่งยอมรับเอาพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ ผู้เป็นมหาปุโรหิตในระบบเมลคีเซเดค  (ฮีบรู 4:14-16 พระเยซูมหาปุโรหิตที่ยิ่งใหญ่)

ฮบ. 4:14 เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีมหาปุโรหิตยิ่งใหญ่ผู้เสด็จผ่านฟ้าสวรรค์แล้ว คือพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ขอให้เรายึดมั่นในหลักความเชื่อที่ประกาศรับไว้
ฮบ. 4:15 เพราะว่าเราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป
ฮบ. 4:16 ฉะนั้นขอให้เราเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะพบพระคุณที่ช่วยเราในยามต้องการ

ดังนั้นพวกเขาก็จะได้รับการทรงเรียกให้กลับไปสู่ระบบแรกเริ่มใน อพยพ 19:6 “อาณาจักรแห่งปุโรหิต” นั่นคือ “ระบบปุโรหิตแบบเมลคีเซเดค”  นั่นเอง

1 ปต. 2:9 แต่ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นประชาชาติบริสุทธิ์ เป็นชนชาติของพระองค์โดยเฉพาะ เพื่อท่านทั้งหลายจะได้สำแดงพระบารมีของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลายให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์

คำว่า "Malki-Tzedek" มีความหมายว่า “กษัตริย์ของฉัน” ซึ่งไม่ได้หมายความว่า กษัตริย์แห่งความชอบธรรม ตามที่กล่าวอ้างในศาสนศาสตร์ทั่วไป เนื่องจากคำว่า "เมลคี" เป็นสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (พระมหากษัตริย์ของฉัน) เมื่อพิจารณาคำสองคำนี้ในภาษาฮีบรูคือ “เมลคี” คือกษัตริย์ ส่วนคำว่า “เซเดค” ในภาษาฮีบรูแปลว่า “ชอบธรรม”  “Tsade”  ซึ่งเป็นตัวอักษรฮีบรูที่มีความหมายว่า ชอบธรรม

เพราะฉะนั้นคำว่า “ปุโรหิตแบบเมลคีเซเดค” จึงสามารถเรียกตามความหมายได้ว่าเป็น “กลุ่มกษัตริย์ผู้มีสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นปุโรหิต”  หรือ  “ปุโรหิตหลวง” ซึ่งเหล่าปุโรหิตหลวงทั้งหลาย จึงกล่าวพร้อมกันว่า “สิ่งทั้งปวงที่พระเจ้าตรัสนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำตาม”

ความแตกต่างของปุโรหิตระบบเดิมจึงจะมาปนเปมาในระบบปุโรหิตเมลคีเซเดคไม่ได้ ?

1. อาโรนและบุตรชายต่อด้วยตระกูลของเขาคือปุโรหิตระบบเดิม แต่พระเยซูต่างหากที่เป็นมหาปุโรหิตใหญ่

ฮบ. 4:14 เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีมหาปุโรหิตยิ่งใหญ่ผู้เสด็จผ่านฟ้าสวรรค์แล้ว คือพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ขอให้เรายึดมั่นในหลักความเชื่อที่ประกาศรับไว้
ฮบ. 4:15 เพราะว่าเราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป

2. อาโรนเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์และเต็มไปด้วยความล้มเหลว แต่ปุโรหิตชั้นสูงสุดคือ ผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินแยกออกจากความบาป

3. อาโรน
ฮบ. 9:1 แม้แต่พันธสัญญาเดิมนั้นก็ยังมีกฎเกณฑ์ต่างๆ สำหรับศาสนพิธีและสำหรับสถานนมัสการในโลก
ฮบ. 9:2 เพราะว่าพลับพลาจัดเตรียมเสร็จแล้วในห้องชั้นนอกนั้น มีคันประทีป โต๊ะ และขนมปังเฉพาะพระพักตร์ ห้องนี้เรียกว่า วิสุทธิสถาน
ฮบ. 9:3 และข้างหลังม่านชั้นที่สองมีห้องซึ่งเรียกว่า อภิสุทธิสถาน
ฮบ. 9:4 ห้องนั้นมีแท่นทองคำสำหรับเผาเครื่องหอม และมีหีบพันธสัญญาหุ้มด้วยทองคำทุกด้าน ภายในนั้น มีโถทองคำบรรจุมานา มีไม้เท้าของอาโรนที่ออกดอกตูม และมีแผ่นศิลาจารึกพันธสัญญา
ฮบ. 9:5 เหนือหีบนั้น มีตัวเครูบแห่งพระสิริ กางปีกคลุมพระที่นั่งกรุณานั้น สิ่งเหล่านี้เราไม่อาจพรรณนาให้ละเอียดตอนนี้ได้
ฮบ. 9:6 เมื่อจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างนั้นแล้ว พวกปุโรหิตก็เข้าไปในห้องชั้นนอกนั้น ทุกครั้งที่ประกอบศาสนพิธี
ฮบ. 9:7 แต่ในห้องที่สองนั้นมีมหาปุโรหิตผู้เดียวเท่านั้นที่เข้าไปได้ปีละครั้งและต้องนำเลือดเข้าไปถวายเพื่อตัวเอง และเพื่อบาปที่ประชาชนทำโดยไม่เจตนาด้วย
ฮบ. 9:8 โดยสิ่งนี้เอง พระวิญญาณบริสุทธิ์จึงทรงสำแดงว่า ทางที่นำเข้าสู่สถานศักดิ์สิทธิ์นั้นยังไม่เปิด ตราบใดที่ห้องชั้นนอกนั้นตั้งอยู่
ฮบ. 9:9 ซึ่งเป็นเครื่องหมายของยุคปัจจุบัน การนำของถวายและเครื่องบูชามาถวายตามแบบนี้ไม่สามารถชำระมโนธรรมของผู้ถวายนั้น
ฮบ. 9:10 เพราะเป็นเรื่องอาหารและเครื่องดื่มและพิธีชำระล้างต่างๆ เท่านั้น เป็นเพียงกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางกายเกี่ยวกับชีวิตภายนอกที่ได้บัญญัติไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่
ฮบ. 9:11 แต่เมื่อพระคริสต์เสด็จมาในฐานะมหาปุโรหิตแห่งบรรดาสิ่งประเสริฐซึ่งมาถึงแล้ว พระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่พลับพลาที่ใหญ่และสมบูรณ์ยิ่งกว่าแต่ก่อน (ที่ไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์ คือไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างของโลกนี้)
ฮบ. 9:12 คือเสด็จเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์ครั้งเดียวเป็นพอ และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เองเข้าไป จึงได้มาซึ่งการไถ่บาปชั่วนิรันดร์
ฮบ. 9:13 เพราะว่าถ้าเลือดแพะและเลือดวัวตัวผู้ และเถ้าของลูกวัวตัวเมีย ที่ประพรมลงบนคนที่มีมลทิน สามารถชำระเนื้อตัวให้บริสุทธิ์ได้
ฮบ. 9:14 มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระโลหิตของพระคริสต์ ผู้ทรงถวายพระองค์เองที่ปราศจากตำหนิแด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ก็จะทรงชำระมโนธรรมของเราจากการประพฤติที่เปล่าประโยชน์ เพื่อเราจะปรนนิบัติพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่
ฮบ. 9:15 เพราะเหตุนี้ พระคริสต์จึงทรงเป็นคนกลางแห่งพันธสัญญาใหม่ เพื่อให้คนทั้งหลายที่พระองค์ทรงเรียกมาได้รับมรดกนิรันดร์ตามพระสัญญา เพราะความตายที่เกิดขึ้นนั้นไถ่พวกเขาให้พ้นจากบรรดาการล่วงละเมิดที่เกิดภายใต้พันธสัญญาเดิมแล้ว
ฮบ. 9:16 เพราะว่าในกรณีที่เกี่ยวกับหนังสือพินัยกรรม ก็จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ทำหนังสือนั้นตายแล้ว
ฮบ. 9:17 คนนั้นต้องตายเสียก่อน หนังสือพินัยกรรมจึงจะมีผล แต่ถ้าผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ พินัยกรรมนั้นก็ใช้ไม่ได้
ฮบ. 9:18 เหตุฉะนั้นแม้แต่พันธสัญญาเดิมก็ไม่ได้ทรงตั้งขึ้นโดยปราศจากเลือด
ฮบ. 9:19 เพราะเมื่อโมเสสประกาศบัญญัติทุกข้อในธรรมบัญญัติแก่บรรดาประชาชนแล้ว ท่านก็เอาเลือดลูกวัวเลือดแพะกับน้ำ และเอาขนแกะสีแดงและต้นหุสบมาประพรมหนังสือม้วนนั้นรวมทั้งประชาชนทั้งปวงด้วย
ฮบ. 9:20 ท่านกล่าวว่า “นี่คือโลหิตแห่งพันธสัญญาซึ่งพระเจ้าทรงบัญญัติไว้แก่เจ้าทั้งหลาย”
ฮบ. 9:21 แล้วท่านก็เอาเลือดประพรมพลับพลากับเครื่องใช้ทุกชนิดในพิธีนมัสการนั้นเช่นเดียวกัน

แต่ พระเยซู มหาปุโรหิตแห่งพันธสัญญาใหม่อันประเสริฐกว่า
ฮบ. 8:1 สรุปประเด็นสำคัญของเรื่องที่เราพูดอยู่นี้คือ เรามีมหาปุโรหิตอย่างนี้ ผู้ประทับเบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้าในสวรรค์
ฮบ. 8:2 เป็นผู้ปฏิบัติกิจในสถานศักดิ์สิทธิ์และในพลับพลาแท้ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตั้งไว้ ไม่ใช่มนุษย์ตั้ง
ฮบ. 8:3 เพราะว่ามหาปุโรหิตทุกคนได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อนำของถวายและเครื่องบูชามาถวาย เพราะเหตุนี้มหาปุโรหิตผู้นี้จึงจำเป็นจะต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายด้วย
ฮบ. 8:4 ถ้าพระองค์ทรงอยู่ในโลก พระองค์ก็คงไม่ได้เป็นปุโรหิต เพราะว่ามีปุโรหิตที่นำของมาถวายตามธรรมบัญญัติอยู่แล้ว
ฮบ. 8:5 ปุโรหิตเหล่านั้นปฏิบัติกิจในพลับพลา ที่เป็นแต่แบบจำลองและเงาของสิ่งที่อยู่ในสวรรค์ ดังโมเสสเมื่อท่านจะตั้งพลับพลานั้น พระเจ้าก็ตรัสสั่งว่า “จงระวังที่จะทำทุกสิ่งตามแบบที่เราแจ้งแก่เจ้าบนภูเขา”
ฮบ. 8:6 แต่บัดนี้พระเยซู ทรงได้รับพันธกิจที่สูงส่งกว่าของพวกเขา เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเป็นคนกลางแห่งพันธสัญญาอันประเสริฐกว่า ซึ่งตั้งอยู่บนพระสัญญาที่ประเสริฐกว่า
ฮบ. 8:7 เพราะว่าถ้าพันธสัญญาเดิมนั้นไม่มีข้อบกพร่องแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีพันธสัญญาที่สองอีก

4. อาโรน
ฮบ. 10:11 ส่วนปุโรหิตทุกคนก็ยืนปฏิบัติกิจอยู่ทุกวัน โดยการนำเครื่องบูชาอย่างเดียวกันมาถวายเสมอๆ เครื่องบูชาเหล่านั้นไม่มีวันลบล้างบาปได้เลย

พระเยซู
ฮบ. 9:14 มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระโลหิตของพระคริสต์ ผู้ทรงถวายพระองค์เองที่ปราศจากตำหนิแด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ก็จะทรงชำระมโนธรรมของเราจากการประพฤติที่เปล่าประโยชน์ เพื่อเราจะปรนนิบัติพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่

5. อาโรนเป็นปุโรหิตที่ไม่ได้ยั่งยืน
ฮบ. 7:23 ปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นมีการสืบตำแหน่งกันหลายคน เพราะความตายขัดขวางไม่ให้พวกเขาปฏิบัติงานได้ตลอดไป
เขาไม่สามารถเป็นปุโรหิตได้ตลอด

แต่พระเยซู เป็นปุโรหิตนิรันดร์
ฮบ. 7:24 แต่พระเยซูองค์นี้ทรงดำรงตำแหน่งปุโรหิตตลอดกาล เพราะพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ชั่วนิรันดร์
ฮบ. 7:25 เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงสามารถช่วยคนทั้งหลายที่เข้ามาใกล้พระเจ้าโดยทางพระองค์นั้นอย่างเต็มที่ เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ทุกเวลา เพื่อทูลขอเผื่อคนเหล่านั้น

ฮบ. 5:6 และตรัสอีกตอนหนึ่งว่า “เจ้าจะเป็นปุโรหิตชั่วนิรันดร์  ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค”

6. อาโรนยังมีความบาป
ฮบ. 5:3 เพราะเหตุนี้ท่านจึงต้องถวายเครื่องบูชาเพื่อลบล้างบาป สำหรับตัวเองและสำหรับประชาชนด้วย

ปุโรหิตระบบอาโรนในบางช่วงเวลายังเอาตัวไม่รอดเลยแม้แต่ตัวเขาเองก็ยังต้องการการชำระเพราะเขาก็ยังมีบาปจึงต้องการเครื่องบูชาลบบาป แต่! พระเยซูไม่ทรงมีความบาปเลยในพระองค์ พระองค์บริสุทธิ์ (คาโดช) แต่อาโรนยังต้อง ถวายเลือดสัตว์ เพื่อความผิดบาปของตนเอง แต่พระเยซูทรงนำเสนอโลหิตพระองค์เองสำหรับความผิดของผู้อื่น

7. 1ยน. 1:9 ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น
ดังนั้นโลหิตพระเยซูมีฤทธิ์อำนาจที่จะชำระทุกชีวิต พระเยซูคืออาดัมคนที่สอง ผู้ที่สละพระองค์เองบนแท่นบูชา พระองค์เป็น Kohen Gadol เป็นปุโรหิตชั้นสูงของพันธสัญญาใหม่ของพระยาห์เวห์  เป็นปุโรหิตนิรันดร์อและลึกซึ้งมากกว่าระบบเลวีที่ผ่านพิธีกรรม
เมลคีเซเดค    พระเมสสิยาห์
กษัตริย์แห่งความชอบธรรม ฮีบรู 7:2    ผู้ถูกเจิม (กษัตริย์) พระเมสสิยาห์
กษัตริย์แห่งสันติสุข ฮีบรู 7:2    เจ้าชายแห่งสันติสุข
ปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ปฐมกาล 14:18    ปุโรหิตนิรันดร์ ฮีบรู 6:20; 8:1
ทั้งสองนี้เป็นกษัตริย์และปุโรหิต ฮีบรู 7:1-3    เป็นกษัตริย์และปุโรหิต เศคาริยาห์ 6:12-13
โทราห์ไม่มีการลำดับวงศ์ตระกูล ฮีบรู 7:3    ทรงเป็นนิรันดร์ ยอห์น 1:1-3; 14
ไม่ใช่เชื้อสายของอาโรน ฮีบรู 7:6    จากเผ่ายูดาห์ ฮีบรู 7:14
ฮีบรู 7:6-10    ฮีบรู 7:26-28
สดด. 110:4 พระยาห์เวห์ทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ “เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างเมลคีเซเดค”    ทรงเป็นปุโรหิตนิรันดร์ ระบบอาโรนต้องบวชต้องแต่งตั้ง ฮีบรู 7:24-25
นำเสนอขนมปังกับเหล้าองุ่น ปฐมกาล 14:18     นำเสนอขนมปังกับเหล้าองุ่น ลูกา 22:17 ,19

ระบบเลวี
ระบบเลวี (Levites)

ต่อเนื่องจากระบบปุโรหิต เลวีคือชื่อของเผ่าหนึ่งในอิสราเอล (เผ่าเลวี) เป็นผู้ปรนนิบัติในพระวิหาร ไม่มีเงินเดือนจากการทำงาน ไม่ทำงานหนัก เพราะเขาเหล่านี้มีหน้าที่ปรนนิบัติในพระวิหารเท่านั้น  และต้องผ่านการอบรมพิธีการในพระวิหาร อย่างละเอียด ทุกขั้นตอนอย่างหนักซึ่งจะผิดพลาดไม่ได้เลย

เลวีต้องมีเชื้อสายจากเผ่าเลวี เช่นเดียวกันกับ ปุโรหิต ที่สืบเชื้อสายมาจากอาโรน ปุโรหิตนั้นมาจากศาโดก และ อาโรนเป็นมหาปุโรหิต ใครจะยึดระบบเลวีแบบนี้ตรวจ DNA กันนะครับว่ามี DNA ของเลวีไหม สรุปคือ เลวี ต้องมีเชื้อสาย คือสายเลือดของ เลวีจริงๆแต่ถึงรู้ไปว่าคือเลวีก็ไม่มีพระวิหารแล้ว

ผู้จะเป็นเลวีต้องมาจากเผ่าเลวีที่ถูกเลือกสรรโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากเผ่าอื่นๆ ส่วนในฝ่ายวิญาณจะประยุกต์ได้ไหม ก็แล้วแต่ชุมชนหรือคริสตจักรจะประยุกต์กัน แต่ไม่ใช่การใช้ระบบพระวิหาร เพราะในปัจจุบัน ทีมนมัสการก็ถูกประยุกต์เรียกว่าเลวี เป็นบริบทของเลวี แต่ทีมนมัสการก็ยังไม่ได้รู้ขั้นตอนการปรนนิบัติอะไรเลยในพระวิหาร และแต่ละเดือน บางคนก็เป็นเผ่านั้น เผ่านี้ เป็นยูดาห์บ้าง ทีมนมัสการบางคนที่ทำธุรกิจเป็นอาชีพเลี้ยงตัว ก็ว่าเป็นเศบูลุน บางครั้งถ้าเราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันพระวิหารไม่มีแล้ว เพราะถูกทำลายไปหมดแล้ว พระวิหารหลังที่สามที่เป็นความหวังของคนยิวก็ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมา พระวิหารคู่กับเลวี ปัจจุบันพระวิหาร คือร่างกายของเรา พระวจนะบอกว่าร่างกายคือพระวิหาร ส่วนตัวอาคาร คือ คริสตจักร หรือชุมชน “คาฮาล” ระบบพระวิหารเป็นภาพของพระเยซู พระเมสสิยาห์ เป็นเงาที่พระเยซูพระเมสสิยาห์มาทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์สำเร็จแล้ว

ดังนั้นระบบพระวิหาร สมัยโมเสส จึงไม่น่าจะเป็นระบบพระวิหารที่เอารูปแบบในสมัยนั้นมาใช้ในปัจจุบัน ทุกสิ่ง ทุกห้องของพระวิหาร สื่อถึงพระเยซู พระเมสสิยาห์ สัญลักษณ์ทุกอย่างในห้องนมัสการ เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือกิจพยากรณ์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น

โต๊ะขนมปัง ขนมปังคืออาหาร เหมือนข้าวที่สื่อว่า เราต้องกินทุกวัน มานาที่ซ่อนอยู่ วว. 2:17 ใครมีหูก็ให้ฟังข้อความที่พระวิญญาณตรัสกับคริสตจักรทั้งหลาย เราจะให้มานาที่ซ่อนอยู่แก่คนที่ชนะ และจะให้หินขาวแก่เขาด้วย และบนหินนั้นจะมีชื่อใหม่จารึกไว้ซึ่งไม่มีใครรู้เลยนอกจากผู้ที่ได้รับ”
นี่คือถ้อยคำจากพระองค์

ยน. 6:33 เพราะว่าอาหารของพระเจ้านั้นคือท่านที่ลงมาจากสวรรค์ และประทานชีวิตให้กับโลก”
ยน. 6:34 พวกเขาจึงทูลพระองค์ว่า “ท่านเจ้าข้า ขอโปรดให้อาหารนั้นแก่เราตลอดไปเถิด”
ยน. 6:35 พระเยซูตรัสกับพวกเขาว่า “เราเป็นอาหารแห่งชีวิต คนที่มาหาเราจะไม่หิว และคนที่วางใจในเราจะไม่กระหายอีกเลย
พระเยซู (Yeshua) พระองค์คือขนมปังแห่งชีวิต

หรือแม้แต่กระทั่ง แท่นบูชาแห่งการเสียสละ (แท่นเผาเครื่องหอม) หมายถึง การเสียสละของพระเยซู พระเมสสิยาห์ ที่กางเขน และทรงเป็นลูกแกะของพระยาห์เวห์ ที่นี่เรานำเสนอตัวเอง ถวายเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิต เป็นกลิ่นหอมที่พอพระทัย คือการเลือกที่จะปฏิเสธตนเอง แบกกางเขนทุกวันตามพระองค์ (มาระโก 8:34, ลูกา 9:23)

มธ. 16:24 พระเยซูจึงตรัสกับบรรดาสาวกของพระองค์ว่า “ถ้าใครต้องการจะติดตามเรา ให้คนนั้นปฏิเสธตนเอง รับกางเขนของตนแบกและตามเรามา

ในเทศการลบมลทินบาท หรือ Yom  Kippur พระเยซูทรงเป็นผู้ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ ในพระวิหารครบถ้วนบริบูรณ์ โดยพระองค์เองแล้ว

เราไม่มีพระวิหาร เป็นตัวอาคาร แต่ผู้เชื่อคือพระวิหาร
ระบบในปัจจุบัน คือระบบ เมลคีเซเดค  ถ้าเราดูชุมชนในพระคัมภีร์ใหม่ เช่นในกิจการ เขาได้นำสิ่งของมารวมกันนั่นคือเขาถวาย และคนขัดสนได้รับสิ่งที่ตนเองไม่เคยมีไม่มีใครขัดสนในคาฮาลนั้น (คาฮาล = ชุมชน)

เมลคีเซเดค คืออะไร เมลคีเซเดค เป็นตำแหน่งปุโรหิตเช่นกัน แต่ไม่ใช่สายเลือด หรือสายอาโรนปุโรหิตดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ในสดุดี 110 ปุโหิตหลวง สดด. 110:4 พระยาห์เวห์ทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ “เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างเมลคีเซเดค” “Tsade”  ซาดิ = เมลคีเซเดค ผู้ชอบธรรม

เลวีคือเลวี เราจึงไม่ใช่เลวี เราไม่ได้มาแทนที่อิสราเอล เราคือ เซเดคัย (Zadokite) ในระบบ พระเยซูทางเมลคีเซเดค คริสตจักรไม่ใช่วิหาร แต่เลวีต้องอยู่ในพระวิหาร ที่ต้องเป็นไปตามพระคัมภีร์ ที่พระยาห์เวห์ตรัสไว้  ปัจจุบันถ้ามีเลวี เลวีก็ยังต้องทำงาน เพราะไม่มีพระวิหารแล้ว เปาโลก็ยังต้องเย็บเต็นท์ (หรือเย็บทาลิท) แม้จะไม่ได้ทำในทุกที่ที่ไป

1ปต. 2:9 แต่พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงเลือกสรร เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นชนชาติบริสุทธิ์ เป็นประชากรอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า เพื่อให้พวกท่านประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกพวกท่านให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์

ความตั้งใจของพระยาห์เวห์เมื่อพระองค์ได้ทรงนำอิสราเอลออกมาจากอียิปต์ พระองค์ได้ตรัส สิ่งนี้บันทึกไว้ในพระวจนะว่า
อพย. 19:5 ฉะนั้น ถ้าพวกเจ้าฟังเสียงเราจริงๆ และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ พวกเจ้าจะเป็นของล้ำค่าของเราที่เราเลือกสรรจากท่ามกลางชนชาติทั้งปวง เพราะแผ่นดินทั้งสิ้นเป็นของเรา
อพย. 19:6 พวกเจ้าจะเป็นอาณาจักรปุโรหิต และเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับเรา นี่เป็นถ้อยคำที่เจ้าต้องบอกกับคนอิสราเอล”

 สิ่งนี้คือสิ่งที่จะทำให้อาณาจักรของพระองค์เป็นไปตาม ในฮีบรู 7:11
ฮบ. 7:11 ดังนั้น ถ้าความบริบูรณ์บรรลุได้ทางระบบปุโรหิตเผ่าเลวี (เพราะว่าประชาชนได้รับธรรมบัญญัติโดยระบบนี้) ทำไมจะต้องมีปุโรหิตอีกตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ไม่ใช่ตามแบบอย่างของอาโรน?
ฮบ. 3:1 เพราะฉะนั้นพี่น้องธรรมิกชนทั้งหลาย ผู้มีส่วนร่วมในการทรงเรียกจากสวรรค์ จงพิจารณาดูพระเยซูผู้ที่พระเจ้าทรงใช้มาและผู้เป็นมหาปุโรหิตที่เราประกาศว่าเชื่อ

เปาโลใช้คำว่า Kumrea แทน Cohen หรือ Kohen สำหรับคำ ปุโรหิต แสดงให้เห็นว่า พระเยซู (Yeshua) เป็นปุโรหิตชั้นสูงสาย Melchizedek ไม่ใช่ Levi (เลวี)

1ปต. 2:9 แต่พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงเลือกสรร เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นชนชาติบริสุทธิ์ เป็นประชากรอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า เพื่อให้พวกท่านประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกพวกท่านให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์

สรุปคร่าวๆคือ
1. Kahana เป็นสายเลือดโดยตรงของคำว่า Kohen ซึ่งอยู่ในระบบอาโรน สืบทอดจากตระกูลเลวี ลก 1:8 ต่อมาขณะที่เศคาริยาห์ทำหน้าที่ปุโรหิต(Kohen)เข้าเฝ้าพระเจ้า
2. Kumrea เป็นระบบปุโรหิตที่ไม่มีเลวี คือระบบ เมลคีเซเดค
ฮบ 3:1 เหตุฉะนั้นท่านพี่น้องอันบริสุทธิ์ ผู้เข้าส่วนด้วยกันในการทรงเรียกซึ่งมาจากสวรรค์นั้น จงพิจารณาอัครสาวกและมหาปุโรหิต(Kumrea) ซึ่งเรารับเชื่ออยู่นั้น คือพระเยซูคริสต์

พรเยซู (Yeshua) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งความชอบธรรม พระองค์เป็นมหาปุโรหิตหลวง
Melchizedek
Melchi=Melech=King
and Zedek=Tsade=Righteousness (ความชอบธรรม)

ยรม. 23:6 ในสมัยของท่าน ยูดาห์จะได้รับความรอด และอิสราเอลจะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัย นี่จะเป็นนามซึ่งเราจะเรียกท่าน คือ ‘พระยาห์เวห์ทรงเป็นความชอบธรรมของเรา’ ”

ของถวายของพี่น้อง หรือคนในชุมชนที่นำมาถวาย แน่นอนว่าเป็นสิทธิ์ของผู้นำที่เรียกว่า ปุโรหิต ในการจัดสรรปันส่วน มีสิทธิอำนาจในการบริหาร แต่ไม่ใช่ การใช้คำว่า ระบบเลวี ที่เลวีต้องได้ก่อน ไม่ว่าจะอะไร เลวีก็ได้ก่อน เพราะคือผู้ปรนนิบัติในพระวิหาร และสิทธิ์ของการไม่ได้ทำงานอื่น

1ปต. 2:9 แต่พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ ทรงเลือกสรร เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นชนชาติบริสุทธิ์ เป็นประชากรอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า เพื่อให้พวกท่านประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกพวกท่านให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์

ทุกคนเป็นชุมชนคาโดช ชุมชนบริสุทธิ์ตามพระวจนะ ระบบเมลคีเซเดค ไม่มีระบบพระวิหาร แบบเดิมแล้ว พระเยซูคือองค์พระผู้เป็นเจ้า

กจ. 4:35 และนำเงินค่าของที่ขายได้นั้นมาวางไว้ที่เท้าของบรรดาอัครทูต พวกอัครทูตจึงแจกจ่ายให้ทุกคนตามความจำเป็น

เลวีต้องได้ก่อน แต่ปัจจุบัน  “ไม่มีเลวี” ที่เป็นเชื้อสายที่แท้จริง เราเป็นเพียงคนต่างชาติ เอฟราอิม ที่ต้องกลับบ้านมาหาพี่ชายคนโตคือ “ยูดาห์” กิ่งมากอกป่าที่จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

แม้ในยุคสาวก ก็ถูกสอนให้แจกจ่ายออกไป  ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเหมาะสม หรือสิทธิอำนาจก็อยู่ที่ผู้นำในการ จัดการแจกจ่ายของถวาย ถ้ายังยึดติดกับระบบ คำจำกัดความว่า เลวี จะได้ก่อน แต่ถ้ายึดระบบ ผู้รับใช้ ผู้นำ ผู้นำจะได้ก่อน ซึ่งก็น่าจะเป็นไปอย่างนั้นตามที่ปฏิบัติกันต่อๆมา

สุดท้าย เลวี มาจากไหน ? เราคือสาวกที่เดินตามพระเยซู คุณจะเชื่อคำพูดของใคร ? …. แน่นอนเราเชื่อคำพูดของพระเยซู เลวี อยู่แต่ในพระวิหาร ไม่มีการวางมือ การรักษาโรค ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องแบกอะไรที่หนักและเหนื่อย อาจจะไม่ต้องออกไปรักษาโรค ขับผี วางมือคนเจ็บป่วย ขนของ ตั้งเวที

สุดท้ายเราทุกคนล้วนรักพระเยซู สักวันท้องฟ้าจะโปร่งใส เพราะเราประกาศว่าเราได้ออกจากความเป็นทาสแล้ว พระเยซูยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์รักพระองค์ ไม่ว่าจะมีเลวี หรือไม่มี ไม่ว่าเราจะถูกเรียกเป็นอะไร ไม่ว่าเราจะอยู่ในระบบไหน ของเพียงเราเข้าใจ เป้าประสงค์ของพระเยซู แล้วเราจะไม่หลงไป การยึดติดระบบอาจจะทำให้เราหลงไปจากเส้นทางแห่งความจริง จนคลาดจากพระเยซูไป

ฮบ. 7:23 ปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นมีการสืบตำแหน่งกันหลายคน เพราะความตายขัดขวางไม่ให้เขาปฏิบัติงานได้ตลอดไป
ฮบ. 7:24 แต่พระเยซูนี้ ทรงดำรงตำแหน่งปุโรหิตตลอดกาล เพราะพระองค์ทรงดำรงชีวิตอยู่เป็นนิตย์
ฮบ. 7:25 ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงสามารถเป็นนิตย์ที่จะช่วยคนทั้งปวงที่ได้เข้ามาถึงพระเจ้าโดยทางพระองค์นั้นให้ได้รับความรอด เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิตย์ เพื่อช่วยทูลขอพระกรุณาให้คนเหล่านั้น

พระวจนะเสริม
ฮบ. 5:5 ในทำนองเดียวกัน พระคริสต์ก็ไม่ได้ทรงยกย่องพระองค์เองขึ้นเป็นมหาปุโรหิต แต่พระเจ้าตรัสกับพระองค์ว่า “เจ้าเองเป็นบุตรของเรา วันนี้เราให้กำเนิดเจ้า”

สดด. 110:4 พระยาห์เวห์ทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ “เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างเมลคีเซเดค”

ฮบ. 7:11 ดังนั้น ถ้าความบริบูรณ์บรรลุได้ทางระบบปุโรหิตเผ่าเลวี (เพราะว่าประชาชนได้รับธรรมบัญญัติโดยระบบนี้) ทำไมจะต้องมีปุโรหิตอีกตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ไม่ใช่ตามแบบอย่างของอาโรน?

Shalem = สันติสุข ความสงบสุข ซาเลมเกิดหลังจากภาษาความสับสนที่หอบาเบล  ปฐมกาล 11:1-9
เมลคีเซเดค เป็นปุโรหิตของพระยาห์เวห์ และเป็นผู้ครอบครองเมืองซาเล็มในดินแดนคานาอัน (เยรูซาเล็ม)
ปฐมกาล 14:18

ชาโลม
ขอบคุณพระยาห์เวห์

ktm.shachah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น