วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน


อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน
เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน
1ทธ. 5:19 อย่ายอมรับคำกล่าวหาผู้ปกครองคนไหน เว้นแต่จะมีพยานสองสามคน
1ทธ. 5:20
ส่วนพวกที่ยังคงทำบาปอยู่นั้น จงตักเตือนเขาทั้งหลายต่อหน้าทุกคน เพื่อพวกที่เหลือจะได้เกรงกลัวด้วย


จากบริบทพระวจนะตอนนี้ พระคัมภีร์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้ต่อต้านผู้นำ หรือดื้อดึง หรือการไม่ยอมรับผิด แต่พระเจ้าพระองค์ทรงยุติธรรม ผู้นำหรือผู้ปกครองคริสตจักรจึงอาจใช้สิทธิอำนาจในการพิพากษากล่าวโทษผู้อื่นได้โดยคนคนนั้นไม่มีโอกาสแก้ตัวเลย

แต่พระวจนะกล่าวยืนยันชัดเจนและได้อ้างอิงถึงพระวจนะในพันธสัญญาเดิม ถึงเรื่องพยาน ว่าจะกล่าวหาใครต้องมีพยาน

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่าวินิจฉัยโทษเขา

 อย่าวินิจฉัยโทษเขา

ลก. 6:37 “อย่าวินิจฉัยโทษเขา และท่านทั้งหลายจะไม่ได้ถูกวินิจฉัยโทษ อย่ากล่าวโทษเขา และท่านทั้งหลายจะไม่ถูกกล่าวโทษ จงยกโทษให้เขา และเขาจะยกโทษให้ท่าน

คำว่า “วินิจฉัย” แปลว่า ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, สันนิษฐาน, ตกลงใจ, พิจารณา, สอบสวน, ตัดสิน, ชี้ขาด

เมื่อดูจากความหมายแล้ว คำว่า วินิจฉัยก็ดูไม่ได้รุนแรงอะไรมากมาย แต่ทำไมพระวจนะถึงกำชับว่า อย่า วินิจฉัย แท้จริงหากเราวินิจฉัยโดยพื้นฐานที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อตัวเอง ไม่ใช่โดยวิญญาณแบบฟาริสี ที่คิดว่าตัวเองดีและชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียว และวินิจฉัยแบบไม่มีความเป็นธรรมหรือลำเอียง

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระคุณของพระเจ้าในพันธสัญญาเดิม

พระคุณ ในทานัค
Grace In The TaNaKh

ครั้งหนึ่งในวัยเด็กผมเคยได้ยินคำสอนที่ว่า พระเยซูเปี่ยมไปด้วยพระคุณมากล้น ถ้าทำบาปและกลับใจเราได้รับพระคุณที่จะยกโทษบาปนั้น ถ้าเป็นในพันธสัญญาเดิมนั้นไม่มีพระคุณมีแต่พระเดช และการลงโทษอาจถึงซึ่งความตาย และทำให้ในวัยเด็กนั้นภาพของพระบิดานั้นน่ากลัวยิ่งนัก แต่แท้จริงแล้วความจริงในวันนี้ ไม่ว่าจะในพันธสัญญาใหม่หรือพันธสัญญาเดิม พระยาห์เวห์พระบิดา หรือพระเยซูก็ล้วนแต่ทรงเปี่ยมไปด้วย “พระคุณ” มากล้นเพราะพระองค์คือหนึ่งเดียวกัน พระเจ้าองค์เดียวกัน หาใช่พระคุณและความรัก พระเยซูคงไม่ได้มาบังเกิดในโลกนี้เพื่อรับบาปผิดของเราทั้งหลายไป

ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้วินิจฉัยทรงนำเรา

ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้วินิจฉัยทรงนำเรา

เราทั้งหลายผู้ที่เชื่อในพระเจ้า หลายครั้งพระวจนะเตือนเราเสมอ ความเชื่อคือความแน่ใจ เราอาจจะถูกสอนมาว่า ความสงสัยทำให้ขาดความเชื่อ แต่พระวจนะบันทึกชัดเจนว่า ไม่ใช่เชื่อในทุกสิ่งที่เข้ามา แต่ทุกสิ่งต้องวินิจฉัยถ้าสิ่งนั้นไม่ค้านกับพระวจนะ และเรายังไม่เชื่ออีก ยังลังเลอีก ยังสงสัยอีก โดยเอาบรรทัดฐานอื่นมาที่ไม่ใช่พระวจนะ เช่นความโลภ ความโกรธ ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ หรือแม้แต่ผลประโยชน์ หรืออะไรก็ตามที่ตอบสนองโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สิ่งนั้นต่างหากคือความสงสัย ที่พระวจนะกล่าวเตือน

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิม สำคัญอย่างไร ?

ความสำคัญของธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิม 
สำคัญอย่างไร ? 
พระเยซู คือโทราห์ (ธรรมบัญญัติ) ที่มีชีวิต และมารื้อฟื้นธรรมบัญญัติเดิมของพระบิดา เพื่อให้สำเร็จและไปถึงซึ่งเป้าหมาย พระเยซูมีเป้าหมายเดียวกับพระบิดา ในยอห์น 1:1 พระวาทะคือพระเยซู พระเยซูคือพระวจนะและธรรมบัญญัติที่มีชีวิต พระองค์ปลดปล่อยเราจากกฎแห่งความบาปและความตาย (ธรรมชาติบาป)

ตัวอักษร รูปแบบของธรรมบัญญัติที่เป็นกฎหมาย ไม่สามารถทำให้เราเป็นอิสระได้ (หลายคนชอบยกตัวอย่างฟาริสี ในยุคของพระเยซู) เพราะความอ่อนแอของเนื้อหนังมันได้เปื่อยและได้เน่าเสียไป และมันได้ถูกทำลายในกางเขน

ธรรมชาติใหม่ที่ไม่เน่าและไม่เปื่อย ได้ถือกำเนินขึ้น เพื่อเรา โทราห์ฉบับเดิมในรูปแบบใหม่ เปรียบดั่งเมล็ดพืชที่ได้เน่าไปแล้วใต้ดิน แต่บัดนี้เมล็ดเดิมที่ได้ไปแล้วนั้นได้กำเนิดขึ้นใหม่ (รื้อฟื้น) บัดนี้เราทั้งหลายสามารถรับเอาผ่านทางฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อที่จะตอบสนองความชอบธรรมของโทราห์ คือโทราห์หรือพระวจนะที่มีชีวิต

การตีความและตีการแปลในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของธรรมบัญญัติ จึงทำให้กรอบการคิดของผู้เขียนและภาษาที่แตกต่างกันในความเข้าใจ

เมื่อเรารับผ่านทางพระเยซู พระเยซูไม่ได้มาทำแทน เราเองยังควรดำเนินแต่ผ่านโดยทางพระองค์ ผิดก็คือผิด ล้มก็คือล้ม พลาดคือพลาด พระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เป็นผู้ช่วย ธรรมบัญญัติที่ถูกบรรจุภายในจะนำ จะสอนเรา

พระเยซูทรงเป็นต้นไม้แห่งชีวิต
ชาโลม
ktm.emunah

เชือกผูกขามหาปุโรหิต

เชือกผูกขามหาปุโรหิต

ในสมัยยังเด็กผมยังจำได้เสมอว่า ผมได้ยินคำสอนเรื่อง การที่มหาปุโรหิต ต้องเข้าไปในพระวิหาร โดยมีเชือกผูกที่ข้อเท้า หรือบ้างก็ว่ามีกระดิ่งห้อยไปด้วย เพื่อที่ว่าถ้า มหาปุโรหิตคนนั้น ไม่มีความพร้อม เขาอาจจะตายในระหว่างอยู่ในห้องอภิสุทธิสถาน เพราะการทรงสถิตของพระเจ้า และจะไม่มีใครสามารถเข้าไปนำร่างเขาออกมาได้ วิธีการที่จะนำร่างออกมาได้ก็คือ การสาวเชือกที่ผูกติดกับขาออกมา

ยามใดที่เวลาเนิ่นนานไป คนข้างนอกจะกระตุกเชือก หากไม่มีการตอบสนองนั่นหมายความว่า ได้เสียชีวิตแล้ว

แม้จนบัดนี้เวลาผ่านมา 20 กว่าปี ผมก็ยังนั่งฟังคำสอนนี้อยู่
แท้จริงเรื่องเชือกที่ผูกที่ขามหาปุโนหิต ที่จะเข้าไปในพระวิหาร ปีละครั้งในเทศกาล ลบมลทินบาป เป็นเพียงตำนาน และมีจุดที่คลุมเครือในยุคกลาง และมันไม่สามารถค้นพบได้ในพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะฉบับเดดซี หรือ ทัลมุด ตำนานในยุคกลางนี้อาจจะปรากฏอยู่ใน Zohar ซึ่งยังไม่เป็นที่เชื่อถือมากนัก ประเพณีนี้ถูกอธิบายไว้ในฉบับ NIV ว่า “ทดสอบด้วยการดึงเชือกเบาๆ” แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้บันทึกว่า จะลากร่างของมหาปุโรหิตออกมา

เพราะในความเป็นจริงของสภาพห้องต่างๆ กว่าจะไปถึงอภิสุทธิสถาน รวมถึงม่านกั้นขวางเป็นชั้นๆต่างๆ ทางกายภาพก็เป็นการยากที่จะลากสิ่งใดออกมาได้ (เหมือนลากสายยางรดน้ำต้นไม้ แค่ติดอะไรเพียงนิดเดียวก็ต้องเดินไปแก้)

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น

จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น

1ธส. 5:19 อย่าขัดขวางพระวิญญาณ
1ธส. 5:20 อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
1ธส. 5:21 จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น
1ธส. 5:22 จงเว้นเสียจากสิ่งที่ชั่วทุกอย่าง


“ทดสอบทุกสิ่ง” การยอมรับคำเผยพระวจนะ ไม่ได้หมายความว่าใครก็ตามที่อ้างว่าพูดในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า แล้วจะต้องเป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขา เปาโลไม่ได้บอกว่าต้องทดสอบอย่างไร แต่เขาบอกชัดเจนว่าทุกคำสอนต้องถูกทดสอบ และแน่นอนว่าคำสอนนั้นต้องสอดคล้องกับข่าวประเสริฐ

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ที่อุดรไกล

ที่อุดรไกล
อสย. 14:13 เจ้ารำพึงในใจของเจ้าว่า ‘ข้าจะขึ้นไปยังฟ้าสวรรค์ เหนือดวงดาวทั้งหลายของพระเจ้า ข้าจะตั้งพระที่นั่งของข้า ณ ที่สูงนั้น ข้าจะนั่งบนขุนเขาชุมนุมสถาน ณ ที่อุดรไกล
คำว่า ณ ที่อุดรไกล อาจจะหมายถึง (ทางเหนือ) หรือหมายถึง สวรรค์ชั้นที่สาม (Third heaven) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้า เรื่องสวรรค์ทั้งสามชั้นพระคัมภีร์อาจจะไม่ได้แบ่งแยกให้เราเห็นอย่างชัดเจนแต่เราก็ สังเกตได้ในพระคัมภีร์
-    สวรรค์ชั้นที่หนึ่ง มักกล่าวถึงบ่อยๆในพันธสัญญาเดิมว่าเป็น “ท้องฟ้า” หรือ “นภากาศ” นี่คือสวรรค์ที่เต็มไปด้วยก้อนเมฆ ชั้นอากาศที่นกบินร่อนไปทั่ว
-    สวรรค์ชั้นที่สอง อยู่ระหว่างดวงดาว / อวกาศชั้นนอก ซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงดาว ดาวเคราะห์ต่างๆและวัตถุต่างๆในสวรรค์
-    สวรรค์ชั้นที่สาม สถานที่ซึ่งไม่เปิดเผย เป็นที่ประทับของพระเจ้า พรเยซูทรงสัญญาว่าทรงจัดเตรียมที่ในสวรรค์สำหรับคริสเตียนแท้
อสย. 14:14 ข้าจะขึ้นไปเหนือความสูงของเมฆ ข้าจะทำให้ตัวของข้าเองเหมือนองค์ผู้สูงสุด’
ในฉบับอธิบาย ผู้ที่ร่วงหล่นจากฟ้าสวรรค์ที่ถูกกล่าวถึงในพระธรรมตอนนี้ ถูกตีความไว้หลายอย่างนอกจากข้างต้นที่กล่าวไป
ประเด็นแรก คือซาตาน เพราะมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์อื่นๆ ที่เป็นเพียงมนุษย์ แม้บรินี้จะมีความหมายตรงกับซาตาน แต่ส่วนที่เหลือในข้อต่อๆไปในบทที่ 14 นี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับซาตานเลย
ประเด็นที่สอง บริบทนี้อาจจะเป็น เซนนาเคอริบ หรือเนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์ที่เรืองอำนาจ และได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้า และต้องการจะครองโลก
ประเด็นที่สาม อาจจะหมายถึง ทั้งสองอย่าง คือทั้งซาตานและกษัตริย์ หรือเนบูคัดเนสซาร์ เพราะบาบิโลนในยุคนั้นถูกเปรียบเทียบว่าเป็นที่นั่งของความชั่วร้ายในพระธรรมวิวรณ์ (17,18) ความเย่อหยิ่งเป็นความบาปของซาตานเช่นเดียวกับ บาบิโลนในช่วงเวลานั้น
แม้จะมีมุมมองที่แตกต่างกันถึงสามมุมมอง แต่ความเป็นจริงที่เหมือนกันเพียงอย่างเดียวก็คือ ความเย่อหยิ่งที่เป็นการจงใจต่อต้านพระเจ้าและทำให้เกิดการพิพากษา
อิสราเอลก็ก้าวผิดพลาดไปเพราะว่าความหยิ่งและทิ้งพระเจ้าไป

วิญญาณเยเซเบล หรือวิญญาณควบคุม

วิญญาณเยเซเบล หรือวิญญาณควบคุม

เยเซเบลนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหญิงที่ชั่วร้าย (ตามคำแปลก็แปลว่า หญิงชั่วร้าย) ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้บันทึกไว้ ว่า เธอเป็นภรรยาของอาหับ

(1 พกษ. 16:30–31) ซึ่งอาหับนั้นเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งของอิสราเอล ในสมัยเดียวกันกับเอลียาห์ผู้เผยพระวจนะ

1พกษ. 16:31 และต่อมา ดูเหมือนว่า การที่พระองค์ทรงดำเนินตามบาปของเยโรโบอัมบุตรเนบัทนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อย พระองค์จึงทรงรับเยเซเบลพระราชธิดาของเอ็ทบาอัลพระราชาของชาวไซดอนมาเป็นมเหสี และไปปรนนิบัติพระบาอัล และนมัสการพระนั้น

ทูตสวรรค์ไม่ใช่ทาส

ทูตสวรรค์ไม่ใช่ทาส

ในพระวจนะเราจะเห็นการปรากฏและเรื่องราวการบันทึกของทูตสวรรค์บ่อยครั้งมาก เรามีมุมมองต่อทูตสวรรค์อย่างไร บางมุมก็มีการยกย่องทูตสวรรค์จนเป็นพระเจ้า เป็นเทพเจ้า บางมุมทูตสวรรค์ก็เป็นผู้คอยช่วยเราที่พระเจ้าส่งมา แต่บางมุมมองก็มองทูตสวรรค์เป็นทาสใช้งานที่เป็นทาสรอการสั่งการด้วยคำอธิษฐาน

มุมมองเช่นนี้เป็นมุมมองที่เชื่อว่า ผู้เชื่อเป็นบุตรของพระเจ้า และทูตสวรรค์เป็นทาสของพระเจ้า ไร้จิตวิญญาณ เป็นหุ่นยนต์ และก็เป็นทาสผู้เชื่อในฐานะบุตรของพระเจ้าด้วย
การเรียกใช้ทูตสวรรค์เป็นข้ารับใช้ หรือเป็นทาส ที่มาปรนนิบัติ รับใช้ มุมมองเช่นนี้จึงขัดกับพระวจนะและเป็นมุมมองที่เย่อหยิ่ง

ที่อุดรไกล

ที่อุดรไกล
อสย. 14:13 เจ้ารำพึงในใจของเจ้าว่า ‘ข้าจะขึ้นไปยังฟ้าสวรรค์ เหนือดวงดาวทั้งหลายของพระเจ้า ข้าจะตั้งพระที่นั่งของข้า ณ ที่สูงนั้น ข้าจะนั่งบนขุนเขาชุมนุมสถาน ณ ที่อุดรไกล

คำว่า ณ ที่อุดรไกล อาจจะหมายถึง (ทางเหนือ) หรือหมายถึง สวรรค์ชั้นที่สาม (Third heaven) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้า เรื่องสวรรค์ทั้งสามชั้นพระคัมภีร์อาจจะไม่ได้แบ่งแยกให้เราเห็นอย่างชัดเจนแต่เราก็ สังเกตได้ในพระคัมภีร์

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้

อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้

สดด. 105:15 “อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้ อย่าทำอันตรายผู้เผยพระวจนะของเรา”
1พศด. 16:22 ว่า “อย่าแตะต้องผู้ที่เราเจิมไว้ อย่าทำอันตรายผู้เผยพระวจนะของเรา”


ในพันธสัญญาใหม่ บรรดาผู้ที่พระเจ้าเจิมไว้ คือ ประชาชาตินั่นก็คือประชาชนที่เป็นบบดาประชากรทุกๆคน

สมมุติมีสมาชิกพูดไม่ดีกับผู้นำ ผู้นำจะบอกว่าอย่าแตะต้องผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมตั้งไว้ (ไม่ใช่การพูดไม่ดีกับผู้นำเป็นสิ่งที่ดี) แต่เมื่อผู้นำพูดไม่ดีเรื่องสมาชิกนั่นก็เท่ากับว่าเป็นการแตะต้องผู้นำด้วย หรือการที่ผู้นำออกไปทำลายชื่อเสียงของผู้ที่ออกจากโบสถ์ไป ผู้นำคนนั้นกำลังแตะต้องผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมไว้

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง
รม. 13:1 ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น
รม. 13:2 เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ

ในตอนแรกของข้อ 1 พระวจนะกล่าวว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง” ผู้มีอำนาจปกครองในที่นี้ไม่ใช่ ศิษยาภิบาล หรือ คณะผู้ปกครองในคริสตจักร แต่หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง

“ผู้มีอำนาจปกครอง” หมายถึงผู้ปกครองบ้านเมือง อาจจะเป็นคนต่างชาติในสมัยของอาจารย์เปาโล ผู้เชื่อที่เป็นคริสเตียนอาจจะถูกชักจูงและล่อลวงให้กบฏต่อ ผู้ปกครองบ้านเมือง หรือรัฐบาล และอ้างว่าเพราะจงรักภักดีต่อพระเยซู
“แต่งตั้งโดยพระเจ้า” เพราะเหตุนี้เองแม้ผู้เชื่อคริสเตียนจะถูกข่มเหง อาจารย์เปาโลก็ยังตระหนักว่า ผู้ปกครองบ้านเมืองหรือรัฐบาล ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า

ของประทานสังเกตวิญญาณ

ของประทานสังเกตวิญญาณ

1คร. 12:8 พระเจ้าประทานโดยทางพระวิญญาณ ให้คนหนึ่งมีถ้อยคำของปัญญา และให้อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำของความรู้ โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน
1คร. 12:9 และให้อีกคนหนึ่งมีความเชื่อ โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน ให้อีกคนหนึ่งมีของประทานในการรักษาโรค โดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน
1คร. 12:10 ให้อีกคนหนึ่งทำการด้วยฤทธานุภาพ ให้อีกคนหนึ่งเผยพระวจนะ ให้อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ ให้อีกคนหนึ่งพูดภาษาแปลกๆ และให้อีกคนหนึ่งแปลภาษานั้นๆ ได้


ของประทานการสังเกตวิญญาณมักไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไรนัก เราอาจจะรู้จักแต่ของประทาน การพูดภาษาแปลกๆ และการเผยพระวจนะ โดยเฉพาะการเผยพระวจนะ จะเป็นจุดสนใจและจดจ่อรอคอยว่าคำเผยจะเป็นอย่างไร

อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ

อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
 

1ธส. 5:19 อย่าขัดขวาง (อย่าดับ) พระวิญญาณ
1ธส. 5:20 อย่าดูหมิ่นถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ
1ธส. 5:21 จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น


1ยน. 4:1 ท่านที่รักทั้งหลาย อย่าเชื่อทุกๆ วิญญาณ แต่จงพิสูจน์วิญญาณนั้นๆ ว่ามาจากพระเจ้าหรือไม่ เพราะว่ามีผู้เผยพระวจนะเท็จจำนวนมากได้ออกมาในโลก
1ยน. 4:2 พวกท่านก็จะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้าโดยข้อนี้ คือวิญญาณทุกดวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า
1ยน. 4:3 และวิญญาณทุกดวงที่ไม่ยอมรับพระเยซู วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า วิญญาณนั้นแหละเป็นศัตรูของพระคริสต์ ซึ่งพวกท่านได้ยินว่าจะมา และขณะนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง

รม. 13:1 ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น
รม. 13:2 เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ


ในตอนแรกของข้อ 1 พระวจนะกล่าวว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง” ผู้มีอำนาจปกครองในที่นี้ไม่ใช่ ศิษยาภิบาล หรือ คณะผู้ปกครองในคริสตจักร แต่หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง

หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์

หมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์

มธ. 12:31 เพราะเหตุนี้เราบอกพวกท่านว่า บาปและคำหมิ่นประมาททุกอย่างจะโปรดอภัยให้มนุษย์ได้ เว้นแต่คำหมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์จะโปรดอภัยให้มนุษย์ไม่ได้
มธ. 12:32 ถ้าใครกล่าวร้ายบุตรมนุษย์ จะโปรดอภัยให้คนนั้นได้ แต่ถ้าใครกล่าวร้ายพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะโปรดอภัยให้คนนั้นไม่ได้ ทั้งยุคนี้ยุคหน้า

มก. 3:28
“เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า บาปทุกอย่างและคำหมิ่นประมาทที่เขากล่าวนั้น จะทรงอภัยให้มนุษย์ได้
มก. 3:29 แต่ใครกล่าวคำหมิ่นประมาทต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะทรงอภัยให้คนนั้นไม่ได้ตลอดไป แต่คนนั้นจะมีโทษของบาปชั่วนิรันดร์”
มก. 3:30 การที่ตรัสอย่างนั้นก็เพราะพวกเขากล่าวว่า พระองค์มีผีโสโครกเข้าสิง

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

สดด. 149:1 สรรเสริญพระยาห์เวห์ จงร้องเพลงบทใหม่ถวายพระยาห์เวห์ ร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ในที่ชุมนุมของผู้จงรักภักดี

คำว่า จงรักภักดี ในพจนานุกรม หมายถึง ภักดี,จงรัก,สวามิภักดิ์
ในบางฉบับ แปลว่า ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง
(ซึ่งเป็นบริบทต่อพระยาห์เวห์)

ส่วนคำว่า จงสรรเสริญพระยาห์เวห์ ในฉบับฮีบรูใช้คำว่า HalleluYah, Hallel
Hallel  ใช้ในการเฉลิมฉลอง สรรเสริญพระเจ้า เหมือนดูกีฬา และรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ คานี้เป็นรากศัพท์ของคาว่า “ฮาเลลูยา” hallelujah ซึ่งแปลว่าสรรเสริญพระยาห์เวห์  1984 halal (haw-lal')